การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษายึดหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ. ศ. 2542
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ. ศ. 2545
ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนซึ่งเป็นความหมายเดียวกันกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
คือ การยึดผู้เรียนเป็นหลักวิธีนี้ได้พัฒนาเป็นเวลานานมากกว่า 80
ปีแล้วปัจจุบันได้มีผู้นำเสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการจัดการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนไปสู่จุดหมายปลายทางที่พึงประสงค์ได้มี
2 วิธีคือ
1. การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โดยผู้เรียนจะเป็นผู้ทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกความรู้เป็นผลพลอยได้จากการทำกิจกรรม
ระหว่างทำกิจกรรมเด็กผู้เรียนก็จะได้พัฒนาตนเองทางการคิด การปฏิบัติ การแก้ปัญหา
การทำงานร่วมกัน การวางแผนการจัดการ และเทคนิควิธีการต่างๆ ที่เรียกว่า
เรียนรู้วิธีการหาความรู้
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นกระบวนการ
หมายถึง
การมีขั้นตอนต่างๆให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือปฏิบัติโดยใช้ร่างกายความคิดการพูดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์
คือ ความรู้หลังจากทำกิจกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคุณสมบัติทางความรู้ความคิดทักษะความสามารถทางการปฏิบัติตลอดทางเกิดเจตนาคติ
ค่านิยมที่ดีงาม
นอกจากนี้สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543
ได้สรุปประเด็นสาระสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
หมายถึง การเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการสร้างประสบการณ์และสิ่งต่างๆ
ที่ให้ความหมายต่อตนเองจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการคิด
และแสวงหาความรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริง ให้ผู้ที่ค้นพบองค์ความรู้
และประสบการณ์ด้วยตนเองครูเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมและแหล่งวิทยาการให้เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
ประเด็นที่ 2 การเรียนรู้เรื่องของตนเองธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมายถึง การเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจของตนเอง
การรับรู้และตระหนักในตนเองสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมที่ดีงาม
ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความเพียรพยายามในการทำความดีอย่างไม่ย่อท้อ
เสริมสร้างลักษณะนิสัยและสุนทรียภาพความดีงามในตนเอง
การเรียนรู้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าและพัฒนาคุณภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ประเด็นที่ 3 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพมีลักษณะดังนี้
3.1
การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต หมายถึง
การเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตที่สำคัญและจำเป็นดังต่อไปนี้การรู้จักคิด
วิเคราะห์ วิจารณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความตระหนักรู้ในตนเอง มีความเห็นใจผู้อื่น
มีความภูมิใจในตนเอง
มีความรับผิดชอบต่อสังคมรู้จักการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร
รู้จักตัดสินใจและแก้ปัญหา รู้จักการจัดการกับอารมณ์และความเครียด
3.2
การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ หมายถึง
การเรียนรู้เพื่อค้นพบและใช้ศักยภาพของตนเพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับตนเองรู้จักวิธีเลือกประกอบอาชีพที่สุจริตเหมาะสมสามารถพึ่งตนเองและเลี้ยงตนเองได้อย่างพอเพียงแก่อัตภาพ
ประเด็นที่ 4 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดการแก้ปัญหาโดยเน้นประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติ
หมายถึง การใช้ทักษะการคิดเพื่อค้นหาคำตอบในสถานการณ์ต่างๆ
โดยอาศัยประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้สามารถเผชิญและผจญกับปัญหา
และการจัดการกับภาวะต่างๆได้อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
ประเด็นที่ 5 การเรียนรู้โดยผสมผสานความรู้
คุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง
การเรียนรู้ที่มุ่งให้มีความรู้ในศาสตร์ต่างๆ
ควบคู่กับการพัฒนาตนเองทางจิตใจบุคลิกภาพและลักษณะนิสัย
ประเด็นที่ 6 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาประชาธิปไตย
หมายถึง การเรียนรู้ในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค
และการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน การเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
โดยคำนึงถึงความคิดเห็นและผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก
ประเด็นที่ 7 การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม
หมายถึง
การเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจความตระหนักในคุณค่าของความรู้ต่างๆที่ได้คิดค้นและสั่งสมประสบการณ์โดยภูมิปัญญาไทยตลอดจนมีความรักชื่นชมและห่วงแขนในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตและสืบสานให้ยั่งยืนตลอดจนเชื่อมโยงสู่สากล
ประเด็นที่ 8 การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้
หมายถึง
การศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์สรุปผลเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษา
ประเด็นที่ 9 การเรียนรู้โดยความร่วมมือของครอบครัวชุมชน
หมายถึง
การที่ครอบครัวชุมชนสถานศึกษามีบทบาทร่วมกันในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างเต็มตามศักยภาพ
ประเด็นที่ 10 การประเมินผลผู้เรียน หมายถึง
กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้เรียนว่าเป็นไปตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้หรือไม่อย่างไร
ดังนั้นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีควรจะต้องเป็นการเรียนการสอนที่ดีซึ่งการเรียนการสอนที่ดี
ควรมีลักษณะดังนี้
1.
ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ต้องยึดความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
3. ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
4. ต้องเป็นที่น่าสนใจไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย
5. ต้องดำเนินไปด้วยความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน
6. ต้องท้าทายให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้
7. ต้องตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
8. ต้องสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
9. ต้องสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
10. ต้องมีจุดมุ่งหมายของการสอน
11. ต้องสามารถเข้าใช้ผู้เรียน
12. ต้องคำนึงถึงภูมิหลังของผู้เรียน
13. ต้องมีวิธีการใดวิธีหนึ่งเท่านั้น
14. การเรียนการสอนที่ดีควรเป็นพลวัต
(Dynamic)
15. ต้องสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
16. ต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
อ้างอิง
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น