การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ สอนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิจิตรา ธงพานิช ผู้จัดทำ นางสาวสุทธิดา เชีียรรัมย์

วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561

วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา





วิธีการสอนในปัจจุบันตามแนวปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) เรียกว่าวิธีการจัดการเรียนรู้ซึ่งในมาตรา 22 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  โดยมีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ. ศ. 2551 เป็นกรอบหรือทิศทางมุ่งให้แสวงหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้เกิดความสมดุลทั้งด้านปัญญาความคิดและด้านอารมณ์ ด้วยความสามารถทางปัญญาและความคิดให้แก่ ความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิจารณญาณ วนความสามารถทางอารมณ์

การสอนแบบโครงงาน Project Design
เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาความสามารถความถนัดและความสนใจของตนเองในด้านต่างๆมาจากแนวคิดพื้นฐานของการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) และการเรียนรู้ตามสภาพจริงโดยมีการศึกษาหลักการ และวิธีเกี่ยวกับโครงงานที่เลือกศึกษาวิเคราะห์วางแผนการทำงานลงมือทำงานและปรับปรุงเพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ในกระบวนการเรียนการสอนได้ใช้ทักษะกระบวนการ สอดแทรกคุณธรรม ทำงานเป็นกลุ่มฝึกปฏิบัติจริงเน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมมีครูเป็นผู้ชี้แนะ ให้คำปรึกษาตลอดเวลาเน้นฝึกคนให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ประโยชน์ของการจัดทำโครงงาน
1. ทำงานตามความถนัดความสนใจของตนเอง
2. ฝึกทักษะกระบวนการทำงานด้วยตนเองหรือร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม
3. สามารถวางแผนการทำงานเป็นระบบ
4. พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
5. ศึกษาค้นคว้าและแก้ไขปัญหาจากการทำงาน
6. เป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในโครงงานที่ทำจริง ในกรณีที่ต้องนำแสดงต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของโครงงาน
โครงงานหมายถึงการกำหนดรูปแบบในการทำงานอย่างเป็นระเบียบ มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงานผลงานที่สัมพันธ์กับหลักสูตร และนำไปใช้ประโยชน์กับชีวิตจริงประเภทของโครงงานแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. ประเภทการศึกษาทดลองเป็นการศึกษาเปรียบเทียบหรือพิสูจน์ความจริงตามหลักวิชาการอย่างเป็นเหตุเป็นผลหรือค้นคว้าหาข้อเท็จจริงในสิ่งที่ต้องการรู้เช่นแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชอาหารพื้นบ้านกับการเจริญเติบโตของไก่
2. ประเภทสำรวจข้อมูลเป็นการสำรวจรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลนั้นนำมาจำแนกเป็นหมวดหมู่และนำเสนอในรูปแบบต่างๆเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนหรือพัฒนางานหรือปรับปรุงงานเช่นการสำรวจการขาดสารไอโอดีนในชุมชนการสำรวจการเรียนต่อของเยาวชนอำเภอสำโรงทาบในปี 2542
3. ประเภทสิ่งประดิษฐ์เป็นการผลิตชิ้นงานใหม่และศึกษาคุณภาพประสิทธิภาพประโยชน์คุณค่าของชิ้นงานนั้นๆเช่นเครื่องฟักไข่ระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตรโดยใช้กระป๋องน้ำมันเครื่อง
4.ประเภทพัฒนาผลงานเป็นการค้นคว้าหลุดพัฒนาชิ้นงานทำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นหรือมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่นการประดิษฐ์อุปกรณ์นับจำนวนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
บทบาทของผู้เรียนการสอนแบบโครงงาน Project Design
1. โครงงาน
2. ศึกษาข้อมูล
3. วิเคราะห์ข้อมูล
4. ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
5.เขียนโครงงานวางแผนการทำงาน
6. ปฏิบัติตามโครงงาน
7. ประเมินผลโครงงาน

วิธีการสอนแบบ 4 Mat
เป็นนวัตกรรมการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญารวมทั้งมีความสุขแนวคิดนี้มาจาก เบอร์นิส  แมคคาร์ธี ซึ่งได้นำผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน และผลการศึกษาด้านพัฒนาสมอง 2 ซีกได้แก่ความสามารถของสมองซีกซ้าย คือการคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การใช้สามัญสำนึก การคิดแบบหลากหลายและ ความสามารถของสมองซีกซ้าย คือ การคิดวิเคราะห์ การคิดหาเหตุผล การคิดแบบปรนัย การคิดแบบมีทิศทาง การตอบสนองการพัฒนาศักยภาพทุกด้านของผู้เรียนที่มีรูปแบบและลักษณะการเรียนรู้แตกต่างกัน ดังนี้ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 232)
ขั้นที่ 1 การนำเสนอประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์ของผู้เรียน เป็น 2 ขั้นย่อย ดังนี้
1.1 การเสริมสร้างประสบการณ์
1.2 การวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้
ขั้นที่ 2 การเสนอเนื้อหาสาระข้อมูลแก่ผู้เรียนสามารถแบ่งเป็น 2 ขั้นย่อยดังนี้
2.1 การบูรณาการประสบการณ์สร้างความคิดรวบยอด
2.2 การพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด
ขั้นที่ 3 การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อยดังนี้
3.1 การปฏิบัติงานตามขั้นตอน
3.2 การนำเสนอผลการปฏิบัติ
ขั้นที่ 4 การนำความคิดรวบยอดไปสู่การประยุกต์ใช้แบ่งเป็น 2 ขั้นย่อยดังนี้
4.1 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือการพัฒนางาน
4.2 การนำเสนอผลงานหรือการเผยแพร่

วิธีการสอนแบบร่วมมือ cooperative Learning
สเปนเซอร์คาเกน นักศึกษาชาวสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (coorative Learning) อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1985 ได้เผยแพร่ผลงานอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศในแถบเอเชีย  โดยมีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และได้นำเสนอแนวคิดหลักที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างมีประสิทธิผลไว้ 6 ประการดังนี้
1. การจัดกลุ่ม( TEAMS) หมายถึงการจัดกลุ่มผู้เรียนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุดซึ่งควรจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มไว้ดังนี้
1. จำนวนผู้เรียนในกลุ่ม 4
2. ประกอบด้วยผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงปานกลางและต่ำคละกันไป
3. จัดให้มีผู้เรียนทั้งชายและหญิงในกลุ่มเดียวกัน
4. จัดให้มีผู้เรียนอยู่ในกลุ่มเดียวกันประมาณ 6 สัปดาห์
5. บางกรณีอาจจัดกลุ่มโดยวิธีอื่นเช่นจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีความสนใจเหมือนเหมือนกันในเรื่องเดียวกันในการศึกษาเฉพาะกรณีเช่นการทำโครงงานวิทยาศาสตร์หรือจัดกลุ่มและแบบสุ่มเมื่อต้องการทบทวนความรู้

2. ความมุ่งมั่น (will) หมายถึง ความมุ่งมั่นและอุดมการณ์ของผู้เรียนที่จะทำงานร่วมกันซึ่งจะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ และมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลร่วมกัน สามารถสร้างความมุ่งมั่นร่วมกันให้เกิดขึ้นได้โดยใช้กิจกรรมอื่นๆที่ไม่ใช่กิจกรรมทางวิชาการ เช่นการเล่นเกม การสัมภาษณ์โดยวิธีการต่อไปนี้  
2.1 การสร้างความมุ่งมั่นของกลุ่มที่จะทำงานร่วมกัน
2.2 การสร้างความมุ่งมั่นของฉันเรียน
2.3 การทำงานร่วมกันโดยเลือกกิจกรรมที่คนเดียวไม่สามารถทำได้สำเร็จ

3. การจัดการ (Management) หมายถึง การจัดการกลุ่มให้สามารถทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวมถึงการจัดการของผู้เรียน เพื่อให้การทำกิจกรรมของกลุ่มประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
3.1 การจัดที่นั่งของนักเรียนในกลุ่ม
3.2 การแบ่งงานกันภายในกลุ่ม
3.3 การสร้างกฎของห้อง (Class rule)
3.4 การให้สัญญาณเงียบ (quiet signal)
3.5 การดูแลกลุ่มไม่ให้วุ่นวายกับกลุ่มเพื่อน

4. ทักษะทางสังคม (Social Skills) หมายถึง การพัฒนาให้เด็กมีทักษะในการทำงานทำกิจกรรมร่วมมือกันให้มีการร่วมมือช่วยเหลือกันอย่างถึงใจ

5. กฎพื้นฐาน 4 ข้อ (Basic principles: Ples) หมายถึง หลักการพื้นฐานของการเรียนรู้แบบร่วมใจกัน ซึ่งจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้
5.1 การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
5.2 การยอมรับความสามารถซึ่งกันและกัน
5.3 ความเสมอภาค
5.4การ มีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

6. รูปแบบของกิจกรรม (Structures) หมายถึง แบบของกิจกรรมในการทำงานกลุ่ม หลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาหรือสถานการณ์ที่จะศึกษา

วิธีสอนแบบซิปปา (Cippa model)
เป็นวิธีสอนหรือการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้น ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการคือ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 229)
1. C Construct หมายถึง การสร้างความรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivism)
2. I Interaction หมายถึง การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
3. P physical participation หมายถึง การมีส่วนร่วมทางกาย
4. P process Learning หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆที่เน้นทักษะต่อการดำรงชีวิต
5. A  Application หมายถึง การนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบซิปปามีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการดังกล่าวแล้วครูผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้หรือกิจกรรมใดก็ได้ที่สามารถจัดกิจกรรมใดก่อนหลังได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับ

วิธีสอนแบบบูรณาการ
วิธีสอนแบบบูรณาการเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่และเป็นประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในวิทยาการหลากหลายแขนงในลักษณะสหวิทยาการ  โดยใช้กระบวนการเรียนรู้  กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา และกระบวนการแสวงหาความรู้ ที่เชื่อมโยงทั้งหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนแนวคิดของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความรู้แบบองค์รวมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
วิธีการสอนแบบบูรณาการ มีขั้นตอนในการสอนดังต่อไปนี้ (ชาตรี เกิดธรรม, 2546, หน้า 99)
1. กำหนดหัวข้อสาระการเรียนรู้
2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
3. กำหนดเนื้อหาของเรื่อง
4.กำหนดขอบเขตการเรียนรู้
5. ดำเนินกิจกรรม
6. ประเมินผล


วิธีการสอนแบบเล่าเรื่อง
คำว่าวิธีการสอนแบบเล่าเรื่อง ตรงกับภาษาอังกฤษว่า story line นำมาใช้กับภาษาไทยว่าเล่าเรื่องดำเนินเรื่องเรื่องราวโครงเรื่องวิธีสอนวิธีหนึ่งที่จะจัดเนื้อหาสาระของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้มาบูรณาการกัน โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่ง เป็นแกนเรื่องส่วนมากจะยึดเนื้อหาสาระสังคมศึกษา หรือ วิทยาศาสตร์ หรือสุขศึกษาเป็นแกรมเรื่องแล้วนำกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆในหลักสูตรมาบูรณาการทางภาษาไทยศิลปะคณิตศาสตร์การจัดการเรียนรู้แบบนี้จะเป็นการสมมติเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่จะเรียนรู้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการจัดการเรียนรู้โดยใช้เล่าเรื่องมีหลักการจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. การสร้างหน่วย การเรียนโดยใช้กลุ่มสาระการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็นแกนเรื่องและกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นนำบูรณาการด้วยการสร้างแผนผังสาระการเรียนรู้กิจกรรมก่อนเป็นผู้สอนจะต้องกำหนดชื่อเรื่องหัวเรื่องที่จะจัดการเรียนรู้ในกำหนดหัวข้อย่อยโดยบูรณาการเนื้อหาสาระกิจกรรมแล้วกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้ชัดเจน
2. สร้างสถานการณ์หรือเรื่องราวจากหน่วยการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องสมมุติสถานการณ์หรือเรื่องราวขึ้นซึ่งต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ ฉาก ตัวละคร วิถีชีวิต เหตุการณ์ และสถานการณ์ที่สนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
3. การจัดการเรียนรู้ตั้งจัดทำเส้นทางการดำเนินเรื่องคำถาม นำกิจกรรมสื่อการเรียนรู้และลักษณะการเรียงโดยทำเป็นแผนการเรียนรู้
4. การสอนตามแผนการเรียนรู้จะแบ่งเวลาการเรียนตามเส้นทางการดำเนินเรื่อง ในตารางแผนการเรียนรู้อาจกำหนดเวลาเรียนแต่ละเส้นทางการดำเนินเรื่องซึ่งอาจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง

วิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา
วิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนาเป็นการเรียนรู้แบบถามต่อเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดและรู้จักหาคำตอบด้วยตนเอง การตั้งคำถามผู้ตั้งคำถามจะต้องใช้ความคิดในการตั้งคำถาม ขณะเดียวกันผู้ตั้งคำถามจะต้องมีคำตอบอยู่ในใจ  การสอนแบบนี้ในการเรียนรู้จึงส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์และผู้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาในการสื่อสารวิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนาจะใช้ในการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 251)
ขั้นตอนการสอนแบบปุจฉาวิสัชนามี 6 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 แนะนำรูปแบบการเตรียมผู้สอนกับผู้เรียน จะกำหนดหัวข้อการเรียนและจุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและขั้นตอนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อของการตั้งคำถามให้ตรงจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อของการตั้งคำถามให้ตรงจุดประสงค์
ขั้นที่ 2 อ่านหรือเตรียมสื่อเพื่อหาความรู้และเตรียมคำถาม ผู้เรียนศึกษาความรู้จากแหล่งต่างๆหรือสื่อที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มกลุ่มละ 6-8 คนผู้เรียนศึกษาซึ่งและตั้งคำถามลักษณะของคำถามจะแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1. เป็นคำถามที่เป็นข้อเท็จจริง
2. คำถามที่ต้องการคำอธิบายชี้แจง
3. คำถามเกี่ยวกับการประเมินคุณค่าเนื้อหาหรือความคิด
ขั้นที่ 3 วางแผนและการจัดกลุ่มคำถาม ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะจับกุมคำถามของตนตามเนื้อหาสาระที่เป็นเรื่องเดียวกันเข้าด้วยกัน ถ้าเลือกประเด็นคำถามที่ไม่ตรงประเด็นออกแล้วนำคำถามของผู้อื่นมารวมกัน
ขั้นที่ 4 ดำเนินการถามตอบ ควรมีการจัดที่นั่งในการดำเนินการโดยผู้ตอบคำถามค่ะนั่งหน้าชั้น ส่วนผู้ถามเจ้าหน้าที่ด้านข้างของผู้ตอบคำถามมุมใดมุมหนึ่งของห้องเรียน
ขั้นที่ 5 ทบทวนและสรุปความรู้ ครูผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาสาระตามประเด็นคำถาม โดยจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาสาระความรู้เข้าด้วยกันและตั้งเป็นหัวข้อเรื่องที่จะเป็นคำตอบ คล้ายกันเข้าด้วยกัน
ขั้นที่ 6 กิจกรรมสร้างสรรค์ เมื่อตอบประเด็นคำถามหมดทุกประเด็นแล้วผู้เรียนแต่ละกลุ่มจัดประชุมเพื่อวางแผนกิจกรรม เช่น ทำสมุดถามตอบ เขียนบทความประกวด สมุดบันทึกความรู้ เขียนบทวิจารณ์ เขียนแผนภูมิด้วยแผนความคิด Mind Mapping จัดทําป้ายนิเทศ สรุปความคิดรวมกันทั้งชั้น


วิธีสอนแบบโครงสร้างความรู้
วิธีสอนแบบโครงสร้างความรู้หรือแผนผังความคิด Graphic organizer เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูล หรือความรู้จากการศึกษาค้นคว้า การอ่าน การฟังคำบรรยาย แล้วนำข้อมูลมาจากกลุ่มเขียนเป็นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความคิดกระบวนการคิดและความสำคัญของกระบวนการโดยใช้รูปภาพซึ่งสามารถแสดงโครงสร้างความคิดได้หลายรูปแบบ (ชาตรี เกิดธรรม, 2546, หน้า 86) ดังนี้
1. แผนผังความคิด (Mind Mapping หรือ Mind Map)
แผนผังความคิด ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ระหว่างการคิดกระบวนการคิดและความสัมพันธ์ของกระบวนการคิดตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งจะช่วยทำให้มองเห็นภาพรวมของความคิด และโครงสร้างของความคิดในเรื่องที่กำลังคิดมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความคิดหลักความคิดรองและความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหักศึกษาจากภาพที่ 5.1จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น


ภาพที่ 5.1 ลักษณะการเขียนแผนผังความคิด


จากภาพที่ 5.1 ลักษณะการเขียนแผนผังความคิดเห็นว่าจากความคิดหลักจะเชื่อมโยงไปสู่ความคิดลองในหลายๆประเด็นก็จะประกอบด้วยความคิดย่อยและจากความคิดด้วยก็อาจจะประกอบด้วยความคิดย่อยลงไปอีกก็ได้

2. ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ (Tree Structure )
ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้จะใช้ในการแสดงความสำคัญของเรื่องที่มีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันไปตามลำดับจากใหญ่ไปหาจุดเล็กๆ รูปร่างของการเขียนแบบมีโครงสร้างลักษณะ คล้ายต้นไม้ที่มีกิ่งก้านหรืออาจจะมีลักษณะคล้ายแผนภูมิการบริหารองค์กรวิธีการเขียนให้เริ่มต้นหัวข้อเรื่องไว้ข้างบนหรือตรงกลางแล้วลากเส้นให้เชื่อมโยงกับความคิดรวบยอดที่มีความสำคัญรองๆลงไปตามลำดับดังในภาพที่ 5.2


ภาพที่ 5.2 ลักษณะการเขียน ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้

จากภาพที่ 5.2 ลักษณะการเขียนแผนผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้เมื่อเห็นว่าเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการนำไปใช้ในการนำเสนอโครงสร้างของเรื่องที่ต้องเรียงลำดับความสัมพันธ์ของข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีการสรุปเป็นประเด็นของแต่ละเรื่อง


3. แผนผังความคิดแบบเวนน์ (Venn diagram)
แผนผังความคิดแบบ เวนน์นี้เป็นแผนที่ไว้แสดงข้อมูลเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดที่หมายถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆของบุคคลสถานที่หรือสิ่งของในลักษณะต่างๆเป็นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของแนวคิดตั้งแต่ 2 แนวคิด ขึ้นไปโดยสามารถเขียนแผนผังแสดงความคิดดังต่อไปนี้

ภาพที่ 5.3 แผนผังความคิดแบบเวนน์

จากภาพที่ 5.3 แผนผังความคิดของเวนน์จะเห็นว่าผู้หญิงและผู้ชายมีลักษณะที่เหมือนกันคือเป็นสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่าคนเหมือนกันส่วนลักษณะมีจุดแตกต่างกันไป

4. แผนผังความคิดแบบวงจรหรือแบบวัฏจักร (Cycle graph)
แผนผังความคิดแบบวงจรหรือแบบวัฏจักรเป็นการคิดแบบวงจรที่ใช้แสดงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์ต่างๆกับระยะเวลาที่มีการเรียงลำดับการเคลื่อนไหวของข้อมูลที่เป็นวัฏจักรที่ไม่มีจุดเริ่มต้น ณที่ ใดที่หนึ่งดังในภาพที่ 5.4 ต่อไปนี้


ภาพที่ 5.4 รูปแบบของกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์


5. แผนผังก้างปลา (fish boone)
แผนผังก้างปลาเป็นแผนผังความคิดที่นิยมเพื่อแสดงสาเหตุและผลต่างๆของปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจะเห็นว่าการเขียนแผนผังก้างปลาเพื่อแสดงสาเหตุของปัญหาจะทำให้มองเห็นสาเหตุของปัญหาได้ละเอียดรอบคอบครบถ้วนเหมาะสม ในการนำไปใช้ในการระดมความคิดเพื่อหาสาเหตุของปัญหาทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม

6.แผนผังแบบลำดับขั้นตอน (sequence chart)
แผนผังแบบลำดับขั้นตอนเป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพเหตุการณ์หรือเนื้อหาสาระที่เป็นกระบวนการเรียงลำดับขั้นตอน เป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพเหตุการณ์หรือเนื้อหาสาระที่เป็นกระบวนการเรียงตามลำดับต่อเนื่อง ภาพที่ 5.5 ดังต่อไปนี้


ภาพที่ 5.5 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

จากภาพที่ 5.5 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่แสดงด้วยแผนผังแบบลำดับเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นโดยมีเครื่องหมายลูกศรแสดงเส้นทางของลำดับขั้นตอนให้เห็นอย่างชัดเจน

แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการสอน
การสอนเน้นกระบวนการกระทำหรือการจัดประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างคุ้มค่าและให้ได้รับประสบการณ์ตามความคาดหวังหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของการสอนผู้สอนควรพิจารณาเลือกวิธีสอนต่างๆไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนนั้นๆโดยอาศัยปัจจัยต่างๆอาทิ เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอนในความสามารถประสบการณ์และความสำคัญ


การประเมินประสิทธิภาพการสอน  นอกจากจะใช้วิธีเทียบเคียงกับหลักและลักษณะการสอนที่ดี ทางในขั้นต้นแล้ว อาจจะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาจากความหมายของประสิทธิภาพการสอนที่ หมายถึง ผลการสอน ที่ทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยอาศัยความสามารถในการปฏิบัติการสอนของผู้สอนหรือการดำเนินการสอนในการวางแผนการเรียนรู้ออกแบบ และเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดบุคลิกลักษณะหรือพฤติกรรมต่างๆของผู้สอนที่จะทำให้การเรียนการสอนนั้นๆบรรลุสำเร็จอย่างราบรื่นตามความมุ่งหมาย  ส่วนวิธีการที่จะได้นำมาซึ่งข้อมูลนั้นอาจได้มาจากการพูดคุยสัมภาษณ์สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในที่นี้ขอนำเสนอการได้มาซึ่งข้อมูลในการประเมินประสิทธิภาพการสอนจาก 4 แหล่งคือ
1. ประเมินตนเอง (Teacher self- Report)
2.การสังเกตการสอนในชั้นเรียน (Observation Report)
3. การประเมินโดยผู้เรียน (student Report)
4ใ การประเมินจากกลุ่มเพื่อน (Teacher peers)
การประเมินประสิทธิภาพการสอนไม่ว่าจะใช้วิธีใดหรือจากแหล่งข้อมูลใดการประเมินประสิทธิภาพการสอนควรมุ่งพิจารณาในประเด็นต่างๆดังนี้
1. จุดมุ่งหมายของการสอน
2. วิธีสอนเป็นเทคนิคหรือกลวิธีที่ผู้สอนจะต้องเลือกใช้
3. สื่อการสอนเป็นส่วนประกอบที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ที่สมบูรณ์แก่ผู้เรียน
4. การวัดผลเป็นกระบวนการติดตาม ผลการปฏิบัติการสอนว่าผู้เรียนเกิดคุณลักษณะต่างๆ
5. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้สอนการจัดการเรียนการสอน

กิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนหมายถึงการจัดกิจกรรมโดยวิธีต่างๆอย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสร้างเสริมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไปเริ่มจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนจึงต้องใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธี


กิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอนของการใช้ในการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือในการสอนแต่ละครั้งมักถูกออกแบบเป็น 3 ขั้นตอน คือกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน กิจกรรมขั้นการสอน และกิจกรรมขั้นสรุป โดยแต่ละกิจกรรมมีรายละเอียดดังนี้
1.กิจกรรมขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและดึงดูดชักนำให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียนเนื้อหาที่ผู้สอนจำเป็นจะต้องให้เสริมประสบการณ์ใดก่อนหรือไม่ และในการนำกิจกรรมต่างๆไปใช้นี้ก็ควรได้มีการพิจารณาเรื่องของการแบ่งเวลาให้เหมาะสมไม่ใช้เวลามากจนเกินไปกิจกรรมที่นำเข้าสู่บทเรียนมีได้หลากหลายตัวอย่างเช่นกิจกรรมเล่าเรื่องต่างๆ

2. กิจกรรมขั้นการสอน ผู้สอนสามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบตามวิธีการสอนต่างๆโดยผู้ส่งจะต้องพิจารณาตามความ สมควรเหมาะสมในการนำมาใช้โดยพิจารณาตามหลักทฤษฎีต่างๆและข้อจำกัดของการสอนนั้นแม้นกิจกรรมสอนมีหลายวิธีการ ด้วยการใช้การสอนแบบรายงาน การสอนแบบการแก้ปัญหาหรือการสอนแบบวิทยาศาสตร์ การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมุติ การสอนโดยกระบวนการเป็นกลุ่มการสอนและเป็นศูนย์กลางการเรียน การสอนแบบหน่วย เป็นต้น

3. กิจกรรมขั้นสรุป เป็นการประมวลสาระสำคัญของบทเรียนแต่ละบทเรียนที่ได้เรียนจบลงเพื่อให้ผู้เรียนได้แนวคิดที่ถูกต้องในบทเรียนนั้นๆ และเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้ในเนื้อหาต่อไปโดยทั่วไปแล้วการสรุปบทเรียนส่วนใหญ่จะเป็น เพื่อสรุปใจความสำคัญแต่ละตอน ในระหว่างบทเรียน หรือสรุปเมื่อจบบทเรียนหรือเมื่อผู้เรียนฝึกปฏิบัติจบลงก็เป็นไปได้กิจกรรมเข้าสู่บทเรียนหรือเนื้อหาที่สอนนี้สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
 3.1 การสรุปทบทวน
3.2 การสรุปจากการปฏิบัติ
3.3 สรุปการใช้อุปกรณ์
3.4 สรุปจากการสร้างสถานการณ์

ลักษณะของกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี
1.กิจกรรมที่จัดขึ้นต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
2. ต้องเป็นกิจกรรมที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด
3. ควรมีการจัดลำดับชั้นของกิจกรรมจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก
4. ต้องเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
5. ต้องมีลักษณะของกิจกรรมที่ท้าทาย
6. เพิ่มเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ เปิดกว้าง
7. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการใช้ความคิด
8. ควรเป็นกิจกรรมที่ผู้สอนมีบทบาทเพียงผู้ชี้แนะ



อ้างอิง 
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น