ประเภทของสื่อ
ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกชนิดของสื่อให้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ที่คาดหวังจะเกิดขึ้นได้
ถ้าผู้ออกแบบรับรู้ชนิดของสื่อที่มีอยู่ รวมทั้งข้อดีและข้อเสียด้วย ดังนั้น
ผู้ออกแบบก็จะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้ที่รู้จักเลือกชนิดของสื่อได้อย่างเหมาะสม
เราสามารถจำแนกสื่อได้ 4 ประเภท คือ สื่อทางหู (Audio) สื่อทางตา (Visual) สื่อทางหู และทางตารวมกัน(audio-visual) และสัมผัส (tactile)
ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อต่างๆ
สำหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4
ประเภทในตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้
1. สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก
ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสำหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง
2. สื่อทางตา ได้แก่ กระดานชอล์ค กระดานแม่เหล็ก
กราฟ คอมพิวเตอร์ วัสดุต่างๆที่เป็นของจริง รูปภาพ แผนภูมิ กราฟถ่ายภาพ ผมสำรอง
สิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือ ฟิล์ม สไลด์ แผ่นใส
3. สื่อทางหูและทางตา ได้แก่ เทปวีดีโอ ทีวีวงจรปิด
โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทป
ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป
เทคโนโลยีอื่นอื่นเช่น ดิจิตอล วีดิโอ อินเตอร์เน็ตแอคทิฟเทคโนโลยี (digital vedio interactive
technology)
4. สื่อทางสัมผัส ได้แก่ วัตถุของจริง
แบบจำลองในการทำงาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์จำลอง
ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับพนักงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจงผู้ออกแบบจำเป็นต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภท
ตารางที่ 6.1
จะแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของตัวอย่างสื่อจัดประเภทของสื่อสำคัญ 4 ประเภทและ
ตารางที่ 6.2 แสดงประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
ตารางที่ 6.1 ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางอย่าง
สื่อ
|
ข้อดี
|
ข้อเสีย
|
โสตวัสดุ
|
||
1. เทป
|
จูงใจ
ใช้กับกลุ่มใหญ่ได้
ใช้ได้ทั้งที่บ้านที่ทำงานและในชั้นเรียน
สามารถก๊อปปี้ได้
ง่ายในการเก็บรักษา
|
ก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย
ไม่มีการให้ผลป้อนกลับในการเรียนการสอน
ใช้เวลาในการกรอเทปกลับ
สามารถถูกทำลายฉีกขาดเสียหายได้
หน่วยที่จะกรอเทปกับอาจจะไม่ว่าง
|
2. คำแนะนำของผู้ฝึก
|
เผชิญหน้ากัน
ให้ผลป้อนกลับที่ดีกว่า
|
ไม่เห็นหน้ากัน
ต้องการทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น
|
3. โทรทัศน์
|
ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง
เป็นระบบไปรษณีย์ที่สั้นๆ
|
สิ้นเปลือง
เครื่องมือพัง
|
ทัศนวัสดุ
|
||
1. ภาพพลิก(Flip Charts)
|
ราคาถูกเก็บ
สารสนเทศได้
เคลื่อนย้ายได้
เปลี่ยนสารสนเทศได้ เช่น การพิมพ์
นำเสนอบทเรียนได้
ไม่จำกัดว่าใช้กับคนคนเดียว
|
ครูจำเป็นต้องนำเสนอด้วยการเขียนที่สวยงาม
จำกัดขนาด
สารสนเทศมากเกินไป
กินเวลานานมาก
ยากที่จะแสดงทรรศนะ
|
2. สิ่งที่ครูแจก
|
ราคาถูก
เป็นการอ้างอิงที่ถาวร
ช่วยในการทบทวน จดจำ
ช่วยนักเรียนที่ไม่ได้เข้าเรียน
ให้การอ้างอิงที่ค้นคว้าได้ในห้องสมุด
นำไปสู่พัฒนาการก้าวต่อไปของนักเรียน
เป็นข้อแนะนำในการศึกษา
ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วม
ใช้ได้กับนักเรียนทุกคน เช่น ภาษา
ระยะทางและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
สามารถสรุปให้เห็นภาพทั้งหมดได้
|
ราคาอาจแพง
กราฟิก 2 มิติ
นักเรียนอาจไม่ได้รับการบังคับให้อ่าน
ก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบเฉื่อยชา
สารสนเทศล้าสมัย
|
3. กระดานคำพื้นฐานและกระดานขาวตายตัว
|
ให้เห็นสารสนเทศที่ลอกได้
เห็นได้
ราคาถูก
ให้สีหลักรายได้
ยอมให้กลุ่มมีส่วนร่วมได้
ขั้นตอนมีเหตุมีผล
สามารถเปลี่ยนแปลงได้
|
จำกัดขนาดของปากกา
ทำให้เลอะเทอะ
ใช้เวลามากในการเขียน
บางคนเขียนไม่สวย
สองมิติ
สารสนเทศไม่สัมพันธ์กัน
สารสนเทศขาดตอนได้โดยไม่ได้ตั้งใจ
|
4. กระดานขาวและกระดานดำที่ตายตัว
|
ให้ข้อมูลที่กว้างขวาง
ยอมให้เก็บข้อมูลเชิงตรรกะได้
ยอมให้มีการเก็บสารสนเทศที่มีเหตุผล
ยอมให้เขียนสารสนเทศไว้ก่อนได้
ซ่อนและโยงความสัมพันธ์ของสารสนเทศได้
ผู้สอน/นักเรียนช่วยกันให้ความคิดสารสนเทศได้
|
ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
|
5. กระดานคำที่ใช้แม่เหล็ก Megnetic or Felt Board
|
เครื่องย้ายแบบจำลองได้
สร้างสารสนเทศใหม่ได้
|
ไม่ใช่ของจริง
กำจัดกลุ่มผู้มีส่วนร่วม
|
6.
การผสมผสานระหว่างกระดานตายตัวต่างๆ (Fexed Board to the above)
|
เครื่องย้ายแบบจำลองได้
สร้างสารสนเทศใหม่ได้
|
ต้องการผู้สอนที่มีทักษะ
จัดการจัดห้องเรียน
นักเรียนสามารถมองได้เพียงด้านเดียว
|
7. การสาธิต (Demonstration)
|
ประหยัดเวลาและการพูด
ง่ายในการเฝ้าดูมากกว่าการฟัง
เห็นของจริง
มาตรฐานการสาธิต
|
ต้องการผู้สอนที่มีทักษะ
นักเรียนไม่มีส่วนร่วม
นักเรียนอาจไม่รู้ว่าต้องสังเกตอะไร
นักเรียนอาจมีความเข้าใจช้าหรือไม่เข้าใจเลย
|
8. สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
|
การเสริมแรงบ่อยครั้ง
ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบว่องไว
นักเรียนประสบความสำเร็จ
มีปฏิสัมพันธ์กับสื่ออื่นๆ
ผิดพลาดน้อย
|
ถ้าปราศจากการออกแบบที่ดีก็จะก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย
หนึ่งร้อยชั่วโมงที่ใช้ในการออกแบบผลิตงานได้เพียงหนึ่งชั่วโมง
เสียค่าใช้จ่ายสูง
ทักษะที่จะใช้คีย์บอร์ดนักเรียนต้องพัฒนาเอง
ไม่ได้เหมาะกับนักเรียนทุกคน
|
โสตทัศนะ
|
||
1. ฟิล์ม/วีดิโอ (Film/Video)
|
สามารถแสดงพัฒนาการของวิธีการหรือการปฏิบัติ
ผสมผสานทัศนะคำพูดและเสียงอื่นเข้าด้วยกัน
เปลี่ยนเวลาได้
สนุกสนาน
จูงใจ
|
นักเรียนไม่มีส่วนร่วม
แพง
โดยทั่วไปสร้างจากจุดประสงค์ของคนอื่น
|
สิ่งที่รับรู้ด้วยการสัมผัส (Tactile)
|
||
1. ตัวจำลองสถานการณ์ (Simulator)
|
อนุญาตสำหรับผู้มีทักษะของความเป็นจริง
ใช้สำหรับการสาธิต
ประโยชน์คุ้มค่า
แก้ไขวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง
ยอมให้มีการวิเคราะห์
ยอมให้นักเรียนมีส่วนร่วม
ปลอดภัย
|
จำกัดโปรแกรม
ต้องการคนที่มีทักษะความสามารถสูง
ต้องการการนิเทศอย่างใกล้ชิด
|
2. อินเตอร์แอคทิฟวีดิโอ/คอมพิวเตอร์
(Interactive
Video/Computer)
|
เหมือนกับ CAI
แบบจำลองทัศนะ/การสาธิต
จูงใจ
|
ยากที่จะสร้างกิ่งก้านสาขา
กรอกลับช้า
|
3. อินเตอร์แอคทิฟดิซค (Interactive Vedio disc)
|
เหมือนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
แบบจำลองทางทัศนะ/การสาธิต
คุณภาพในการแก้ปัญหาสูง
มีจำนวนมาก
|
ราคาสูง
ค่าบำรุงรักษาสูง
|
4. ดิจิตอล วีดิโอ เมคโนโลยี (Digital
Vedio Technology: DVT)
|
การฝึกอบรม(สื่อผสม) (multimedia)
บันทึก/เล่น/ป้อนกลับ
/บรรณาธิการให้การเคลื่อนไหวที่เป็นซีลเป็นจินตนาการของนักคอมพิวเตอร์
ผู้พัฒนาการเรียนการสอนควบคุมส่วนประกอบของสื่อผสมที่เป็นของรายวิชาให้ทันสมัย
เก็บสะสมไว้ในคอมพิวเตอร์
วีดิโอ (Interactive Vedio)
ไม่จำกัดสาขา
วิดีโอ (V.D.O) ที่แสดงการเคลื่อนไหวยังคงเป็นตำราในการจินตนาการ
โสตกราฟิก ที่สะสมไว้ในดิจิตอล(Digital)
|
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการออกแบบมีความซับซ้อน
ต้องการบุคลากรที่พัฒนาทักษะในหลายสาขา
|
5. ดีวีที (DVT) เป็นเครื่องหมายการค้า วีดิโอ (Video disc)
|
ใช้ไฟล์จาก Harddisk หรือ CD
ROM
ซีดีรอมมีค่าใช้จ่ายในการผลิตถูกกว่า
|
|
ตารางที่ 6.1 ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
วัสดุอุปกรณ์
|
ข้อดี
|
ข้อเสีย
|
1. สิ่งพิมพ์ต่างๆ
เช่น หนังสือตำราเรียน คู่มือฯลฯ
|
เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง
สามารถอ่านได้ตามอัตราความสามารถของแต่ละบุคคล
เหมาะสำหรับอ้างอิงหรือทบทวน
เหมาะสำหรับการผลิตเป็นจำนวนมาก
สะดวกในการแก้ไขปรับปรุงเนื้อหา
|
ถ้าจะให้ได้สิ่งพิมพ์คุณภาพที่ดีจำเป็นต้องใช้ต้นทุนในการผลิตสูง
บางครั้งต้องพิมพ์ใหม่เพื่อปรับปรุงข้อมูลที่ล้าสมัย
ผู้ไม่รู้หนังสือไม่สามารถอ่านเข้าใจได้
|
2. ของจริง ของตัวอย่าง
|
แสดงภาพได้ตามความเป็นจริง
เป็นลักษณะ 3 มิติ
สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียดได้
ปกติ
เหมาะสำหรับการเสนอต่อกลุ่มย่อย
อาจเสียหายได้ง่าย
|
เก็บรักษาลำบาก
บางครั้งอาจจะลำบากในการจัดหา
ของบางสิ่งอาจมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะนำมาแสดง
บางครั้งของมันอาจมีราคาสูงเกินไป
|
3. ของจำลองหุ่นจำลองขนาดเท่า
หรือขยาย ของจริง มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า( เช่น ลักษณะของอวัยวะภายในร่างกาย)
|
อยู่ในลักษณะ 3 มิติ
สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียดได้
ชำรุดเสียหายได้ง่าย
สามารถแสดงหน้าที่และลักษณะส่วนประกอบ
ช่วยในการเรียนรู้และการปฏิบัติทักษะชนิดต่างๆ
หุ่นบางอย่างสามารถผลิตได้ด้วยวัสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่าย
|
ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิต
ส่วนมากราคาจะแพง
ปกติเหมาะสำหรับการแสดงออกกลุ่มย่อย
ถ้าทำได้ไม่เหมือนของจริงทุกประการบางครั้งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
|
4 วัสดุกราฟิก เช่น แผน
ภูมิแผนภาพ โปสเตอร์ ภาพถ่าย ภาพเขียน การ์ตูน
|
ช่วยแสดงลำดับขั้นตอนของเนื้อหา
สามารถจัดหาได้ง่ายจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ
ผลิตได้ง่ายและสามารถผลิตได้จำนวนมาก
เก็บรักษาได้ง่ายด้วยวิธีผลึกภาพ
|
เหมาะสำหรับการเรียนในกลุ่มเล็ก
งานกราฟิกที่มีคุณภาพดีจำเป็นต้องใช้ช่างเทคนิคที่มีความชำนาญในการผลิต
การใช้ภาพบางประเภทเช่น
ภาพตัดส่วน หรือการ์ตูน อาจไม่ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความเข้าใจได้ดีขึ้น
เพราะไม่สามารถสัมพันธ์กับของจริงได้
|
5. กระดาน ดำกระดานขาว
|
ต้นทุนในการผลิตต่ำ
สามารถเขียนรายงานกราฟฟิกได้หลากหลายชนิด
ช่วยในการสร้างความเข้าใจตามลำดับเรื่องราวของเนื้อหา
|
ผู้สอนต้องหันหลังให้กลุ่มผู้เรียนเมื่อเขียนกระดาน
ทำให้ไม่สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดี
|
6. กระดานผ้าสำลีและกระดาษแผ่นแม่เหล็ก
|
สามารถนำมาใช้ได้อีก
วัสดุในการผลิตหาง่ายและสามารถผลิตได้เอง
ไม่เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
|
|
7. การศึกษานอกสถานที่
|
ผู้เรียนสามารถสังเกตการณ์และมีส่วนร่วมได้ด้วยตนเอง
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมทำงานเป็นกลุ่มและสร้างสรรค์ความรับผิดชอบร่วมกัน
|
เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
จัดเฉพาะผู้เรียนกลุ่มย่อย
|
สื่อการสอนประเภทเครื่องฉาย
1. ประเภทเสนอภาพนิ่ง
|
||
1.1 เครื่องฉายภาพทึบแสง
|
สามารถขยายภาพถ่ายภาพเขียน
วัสดุทึบแสง ให้เป็นภาพที่มองดูมีขนาดใหญ่ได้ เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
ช่วยลดภาระในการผลิตสไลด์และแผ่นโปร่งใส
|
ต้องใช้คลื่นในห้องที่มืดสนิทจึงจะเห็นภาพขยายได้ชัดเจน
เครื่องมือขนาดใหญ่ทำให้ขนย้ายลำบาก
|
1.2 แผ่นโปร่งใส
|
สามารถใช้ได้ในที่มีแสงสว่าง
เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
ผู้สอนหันหน้าเข้าหาผู้เรียนได้
ผู้สอนสามารถเตรียมแผงโปร่งใสไว้ใช้ล่วงหน้าหรือสามารถเขียนลงไปพร้อมทำการบรรยายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ
|
ถ้าจะผลิตแผ่นโปร่งใสที่มีลักษณะพิเศษต้องลงทุนสูง
ผู้เรียนไม่มีบทบาทร่วมในการใช้อุปกรณ์
|
1.3 สไลด์
|
เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก
ผลิตค่อนข้างง่ายในทำสำเนาได้ง่ายเช่นกัน
สามารถเปลี่ยนสลับรูปในการสอนได้ตามต้องการ
|
ต้องฉายในห้องที่มีที่มืดพอสมควร
|
1.4 ฟิล์มสคิป
|
เหมาะสำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มเล็กหรือรายบุคคลใช้ภาพกับเรื่องอื่นได้
ผลิตเองได้
สะดวกในการใช้และเก็บรักษา
|
ไม่สามารถตัดต่อสลับ
ชำรุดได้ง่าย
|
1.5 ไมโครฟิล์มไมโครฟิช
|
สะดวกในการเก็บรักษา
สามารถเก็บจำแนกประเภทได้ง่าย
เหมาะสำหรับการเก็บรักษาข้อมูลสิ่งพิมพ์เพราะมีขนาดเล็ก
|
ไม่สามารถอ่านข้อความได้ด้วยตาเปล่า
ต้องใช้เครื่องอ่านที่มีคุณภาพดี
เครื่องอ่านใช้อ่านคนเดียวมีราคาไม่สูงมากนัก
|
2. ประเภทเสนอภาพเคลื่อนไหว
|
||
2.1 ภาพยนตร์
|
เหมาะสำหรับการสอนกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย
ให้ภาพที่ดูแล้วเสมือนมีการเคลื่อนไหวของสิ่งของและให้เสียงประกอบซึ่งทั้งภาพและเสียงมีลักษณะใกล้เคียงความจริงมาก
ภาพยนตร์เหมาะสำหรับการเรียนรายบุคคล เหมาะสำหรับให้ความรู้
แต่ผู้สอนจะต้องอธิบายบางสิ่งในภาพยนตร์ก่อนทำการฉายและเมื่อฉายจบแล้วควรมีการซักถามปัญหาหรืออภิปรายร่วมกับเพื่อสะดวก
|
ต้นทุนในการผลิตสูงมากและกรรมวิธีในการผลิตยุ่งยาก
หากผลิตฟิล์มจำนวนน้อยม้วนจะทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงกว่าเดิม
ต้องใช้ไฟฟ้ามากในการฉาย
ลำบากในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์
ต้องฉายในที่มืด
|
2.2 โทรทัศน์วงจรปิด
|
สามารถใช้ได้กับผู้เรียนหรือผู้ชมไม่จำกัดจำนวนและสามารถถ่ายทอดไปได้ในระยะไกลไกล
ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
เหมาะสำหรับใช้ในการจูงใจสร้างทัศนคติและเสนอปัญหาให้ผู้เรียนคิดหรือเสริมสร้างการอภิปรายร่วมกัน
ช่วยลดภาวะของผู้สอนคือแทนที่จะต้องบรรยายหลายครั้ง
หรือหลายแห่งในหัวข้อเดียวกันต่อผู้เรียนหลายกลุ่มก็ใช้การถ่ายทอดไปยังที่ต่างๆได้ในเวลาเดียวกัน
|
การจัดรายการที่ดีต้องใช้ต้นทุนสูงมากและต้องใช้ช่างเทคนิคในการผลิตรายการ
ต้องใช้ไฟฟ้า
เป็นการสื่อสารทางเดียวที่ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถถักข้อสงสัยได้ทันทีและผู้สอนไม่สามารถทราบการตอบสนองของผู้เรียนได้
รายการที่เสนอไม่ตรงตามตารางสอนหรือบทเรียน
|
2.3 โทรทัศน์วงจรปิด
|
สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
ใช้ถ่ายทอดเหตุการณ์หรือการสอนที่ผู้เรียนไม่สามารถรวมกันอยู่ในบริเวณที่เรียนที่ชมพร้อมกันได้
สามารถใช้ร่วมกับวีดีทัศน์ในการส่งภาพได้
|
รับภาพได้เฉพาะในบริเวณที่กำหนดไว้เท่านั้น
|
2.4 วีดีทัศน์
|
สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
สามารถฉายซ้ำเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจหรือผู้เรียนทบทวน
แสดงการเคลื่อนไหวของภาพประกอบเสียงที่ให้ความรู้สึกที่ใกล้เคียงของจริงมากมีขนาดเล็กมาก
|
ต้นทุนอุปกรณ์และการผลิตสูงต้องใช้ช่างเทคนิคในการผลิต
ตัวอักษรที่ปรากฏจอโทรทัศน์
ม้วนเทปเสื่อมสภาพได้ง่าย
|
สื่อการสอนประเภทเครื่องเสียง
|
||
1. วิทยุหรือรายบุคคล
|
สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
ระยะกระจายเสียงกว้างและถ่ายทอดได้ในระยะไกลไกล
ลดภาระของผู้สอนหรือผู้บรรยายในการเดินทางไปสอนในที่ต่างๆ
ดึงดูดความสนใจได้ดี
คลื่นวิทยุราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้
สามารถใช้สิทธิ์กับสื่ออื่นเช่น สิ่งพิมพ์เพื่อประกอบการเรียนการสอน
|
ต้องใช้ห้องที่ทำขึ้นเฉพาะเพื่อทำการกระจายเสียง
ผู้ฟังหรือผู้เรียนต้องปรับตัวเข้าหารายการเนื่องจากผู้บรรยายไม่สามารถปรับตัวเข้าหาผู้ฟังได้
เป็นการสื่อสารทางเดียวที่ทำให้ผู้ฟังบรรยายไม่สามารถทราบปฏิกิริยาสนองกลับของผู้ฟัง
|
2 เทปบันทึกเสียง
|
สามารถใช้ได้โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน
เหมาะสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือกับกลุ่มย่อย
การเปิด/ปิด/เดินหน้า/ย้อนกลับสามารถทำได้โดยสะดวก
อุปกรณ์ราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้
ใช้ได้หลายกรณีเช่น ใช้บันทึก
|
เสียงที่ไม่สามารถฟังได้ทั่วถึง
เช่นการเต้นของหัวใจเป็นต้น
การบันทึกเสียงที่คุณภาพดีจำเป็นต้องใช้ห้องในอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพสูง
ต้องระมัดระวังในการเก็บรักษา
|
3 แผ่นซีดี
บันทึกเสียงในประเภทต่างๆ
|
ไม่มีการเผลอลบเสียงที่บันทึกไว้
เรียกค้นข้อมูลเสียงได้รวดเร็ว
มีอายุการใช้งานนาน
ขนาดเล็ก
|
ไม่สามารถบันทึกทับได้
เครื่องเล่นมีราคาสูงกว่าเครื่องเล่นเทปเสียง
ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการบันทึกลงเทปเสียง
|
4. สื่อเชิงโต้ตอบ
(Interactive Media)
4.1 ด้านวัสดุอุปกรณ์
|
||
4.1.1 คอมพิวเตอร์
|
ใช้งานได้หลายประเภท เช่นการคำนวณ
จัดเก็บพื้นฐานข้อมูล การจัดหน้า สิ่งพิมพ์ ฯลฯ
ใช้แก้ปัญหาต่างๆที่ซับซ้อนได้
ข้อมูลตัวอักษรภาพนิ่งการเคลื่อนไหวและเสียง
มีการโต้ตอบกับผู้เรียนเพื่อให้ผลป้อนกลับด้วยความรวดเร็ว
สามารถบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในหน่วยความจำของเครื่องหรือในวัสดุบันทึกอื่น
เช่น การบันทึกและเทปแม่เหล็กได้
ใช้ร่วมกับโมเด็มเพื่อใช้ในอินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารข้อมูลกับฐานข้อมูลอื่นๆทั่วโลก
เครื่องกระเป๋าหิ้วขนาดเล็กเหมาะแก่การพกพาไปใช้ในที่ต่างๆได้
|
มีราคาสูงพอสมควร
ต้องมีการบำรุงรักษาตามระยะเวลา
ต้องใช้กับโปรแกรมซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆจึงจะใช้งานได้
มีการเปลี่ยนแปลงด้านอุปกรณ์เช่นความเร็วในการทำงานของการ์ดประเภทต่างๆจนทำให้เครื่องที่มีอยู่ล้าสมัยได้รวดเร็ว
|
4.1.2 บทเรียนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
CAI
|
ผู้เรียนสามารถมีการโต้ตอบกับบทเรียนได้
สามารถป้อนกลับแก่ผู้เรียนได้ในทันที
มีรูปแบบบทเรียนให้เลือกใช้มากมาย
เช่นการสอนทบทวน เกมการจำลองเป็นต้น
เสนอบทเรียนได้ทั้งลักษณะตัวอักษรภาพและเสียง
ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหาบทเรียนและทำกิจกรรมได้ตามความสามารถของตนในลักษณะการศึกษารายบุคคล
|
ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการเรียนโปรแกรมบทเรียน
โปรแกรม Software บางประเภทมีราคาสูงพอสมควร
|
4.1.3 ซีดีรอม
|
สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง 680 เมกะไบต์
บันทึกข้อมูลได้ทั้งตัวอักษรภาพนิ่งภาพกราฟิกเคลื่อนไหวภาพวีดีทัศน์และเสียง
เรียกค้นข้อมูลได้รวดเร็วและถูกต้อง
มีอายุการใช้งานนานและยากแก่การบุกสลาย
ขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา
|
ไม่สามารถบันทึกทับข้อมูลเดิมได้
ปกติแล้วผู้ใช้ไม่สามารถบันทึกข้อมูลเองได้ต้องมีการบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิต
ต้นทุนการผลิตสูงแต่ถ้าผลิตเป็นจำนวนมากจะลดต้นทุนได้มาก
ต้องใช้เล่นร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์
|
4.1.4 แผ่นวีดีทัศน์
(Vediodisc/Laserdisc)
|
บันทึกข้อมูลในลักษณะตัวอักษรภาพนิ่งภาพกราฟิกเคลื่อนไหว
แบ่งเป็นสองชนิดบันทึกข้อมูลได้ทั้งแบบหน้าละ
30 นาทีและ 1 ชั่วโมง
ดูภาพนิ่งได้ทีละภาคด้วยความคมชัดหรือจะดูภาพช้าหรือภาพเร็วก็ได้เช่นกัน
เล่นเดินหน้าหรือย้อนกลับได้ด้วยความรวดเร็ว
ค้นหาเนื้อเรื่องเป็นตอนหรือตามเวลาของการเล่นได้
|
มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 12
นิ้วจึงมีขนาดใหญ่ไม่เหมาะในการพกพา
ผู้ใช้ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้เองต้องบันทึกมาจากโรงเรียนเท่านั้น
|
4.2 ด้านเทคนิควิธีการ
|
||
4.2.1 สื่อหลายมิติ(Hypermedia)
|
เสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรงทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลในที่ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
เนื้อหาบทเรียนที่มีทั้งภาพนิ่งภาพกราฟิกเคลื่อนไหว
ภาพวีดีทัศน์และเสียงพูดเสียงดนตรี
ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนและได้รับผลป้อนกลับทันที
สะดวกการใช้
|
ต้องใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูงในการผลิตบทเรียน
อาศัยผู้เชี่ยวชาญในการสร้างบทเรียน
ต้องใช้รวมกับคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพสูงพอควรจึงจะใช้ได้ดี
การผลิตบทเรียนลักษณะนี้ต้องอาศัยอุปกรณ์ร่วมหลายอย่างเช่น
เครื่องเสียง กล้อง วีดิทัศน์ เครื่องเล่น แผ่นวีดีทัศน์ฯลฯ
|
4.2.2 แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Vedio, Interactive Vediodisc)
|
ใช้ได้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่กลุ่มย่อยและการศึกษารายบุคคล
เสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง
การนำเสนอเนื้อหามีทั้งภาพนิ่งภาพวีดีทัศน์และเสียง
ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนและได้รับผลป้อนกลับทันที
บันทึกผลการเรียนและการตอบสนองของผู้เรียนได้
|
ต้องใช้อุปกรณ์ร่วมในการทำงานหลายงาน
ต้องเลือกเนื้อหาในแผ่นวีดีทัศน์มาประกอบบทเรียนให้เหมาะสมซึ่งบางครั้งอาจไม่ได้เนื้อหาที่ตรงนัก
อุปกรณ์ต่างๆมีราคาสูงจึงทำให้การเรียนแบบนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้กันมากนัก
|
4.2.3 อินเตอร์เน็ต
|
ค้นคว้าข้อมูลได้ทุกมุมโลกอย่างรวดเร็ว
ติดตามข่าวสารความรู้และความเคลื่อนไหวต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
สนทนากับผู้ที่ห่างไกลได้ทั้งลักษณะข้อความและเสียง
ร่วมกลุ่มอภิปรายกับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันเพื่อขยายวิสัยทัศน์
|
ข้อมูลที่ได้อ่านไม่ถูกต้องเนื่องจากไม่มีผู้ใดรับรอง
ต้องมีการศึกษาการใช้งานเพื่อการสืบค้นข้อมูล
นักเรียนและเยาวชนอาจนำไปสู่ในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
|
4.2.4 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
|
ช่วยจัดปัญหาในเรื่องของเวลาและระยะทางในการเรียน
ผู้เรียนไม่กล้าแสดงออกในชั้นเรียนจะได้รู้สึกอิสระในการแสดงความคิดเห็น
เสริมบรรยากาศในการเรียนรู้เพื่อเปิดโอกาสให้การถามข้อข้องใจเป็นการส่วนตัว
ผู้เรียนสามารถติดต่อกันในการแบ่งปันข้อมูลและศึกษาร่วมกันได้การพิมพ์และเรียบเรียงเนื้อหาจึงจะทำให้การอภิปรายราบรื่น
|
เป็นการสื่อสารที่ผู้สื่อสารไม่สามารถแสดงกับความรู้สึกต่อกันได้ทำให้ขาดความเป็นธรรมชาติ
อาจเกิดความสับสนในการอภิปรายเนื่องจากการอภิปรายในเวลาที่ไม่ต่อเนื่องกัน
|
4.2.5
การสอนในเว็บเป็นฐานการสอนบทเว็บ
|
ขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้เรียนรอบโลกทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง
การเรียนด้วยการสื่อสารหลายรูปแบบทำให้ผู้เรียนรู้จากการสื่อสารทางสังคมทำให้มีการเรียนมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น
การเรียนด้วยสื่อหลายมิติทำให้เลือกเรียนเนื้อหาได้ตามสะดวกโดยไม่ต้องเรียงลำดับกัน
มีหลักสูตรให้เลือกเรียนมาก
มีการเรียนทั้งแบบประสานเวลาและแบบไม่ประสานเวลาของตนเองจึงจะประสบความสำเร็จในการเรียน
|
ผู้สอนและผู้เรียนอาจไม่พบหน้ากันเลยอาจทำให้ผู้เรียนบางคนอึดอัดไม่สะดวกในการเรียน
ผู้สอนจะต้องใช้เวลาในการเตรียมการสอนมาก
การตอบปัญหาในบางครั้งอาจจะไม่เกิดขึ้นในทันทีทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ได้
ผู้เรียนต้องรู้จักควบคุมการเรียนของตนเองจึงจะประสบความสําเร็จในการเรียนได้
|
การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการ
การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อบางครั้งเกิดขึ้นพร้อมพร้อมกัน
ในบางเวลาจะเลือกวิธีการก่อน และเลือกสื่อที่จำเป็นในการใช้ทีหลัง ดูแกน เลียด (Dugan laird:180) เปรียบเทียบวิธีการเป็นเหมือนทางหลวง
(Highway) ที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทาง (จุดประสงค์) และสื่อ
(วัสดุฝึก) เป็นสิ่งที่เพิ่มเติม (accessories)บนทางหลวง
เช่น สัญญาณ แผนที่ ซึ่งจะทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น
วิธีการ
เป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความชี้เฉพาะมาก
เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ตัดสินธรรมชาติของบทเรียน จอยส์และวีล (Joyce and Weil,1980)
เรียกสิ่งเหล่านี้ว่าแบบจำลองการสอน (Model of teaching) แบบจำลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับบทเรียนเมื่อป่วยที่เป็นระดับหน่วยในหลักสูตร
ออซูเบล(Ausubel,1968)
กล่าวว่า มีความแตกต่างระหว่างวิธีการสำคัญ 2 วิธี คือ การเรียนรู้เพื่อค้นพบ ( Diacovery
leaning) รายการเรียนรู้เพื่อรับความคิด (Reception leaning)
1. การเรียนรู้เพื่อรับความคิดคือ
การเรียนรู้จากการบรรยาย หรือการเรียนรู้จักโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งเสนอสารสนเทศ
2. การเรียนรู้เพื่อค้นพบคือ
การสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนมีอิสระที่จะสำรวจ
และไม่ได้กำหนดจุดหมายปลายทางของการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า การเรียนรู้เพื่อค้นพบมีองค์ประกอบทั้งการค้นพบและการรับรู้ที่มากไปกว่าการที่จะบอกแต่เพียงนักเรียนจะต้องเรียนอะไร
นักเรียนจะได้รับคำแนะนำซึ่งจะนำไปสู่การค้นพบ
ออซูเบลเชื่อว่าวิธีการจะกลายเป็นสิ่งที่มีความหมาย
ผู้แบบสามารถเลือกวิธีการ เช่น
การบรรยาย การใช้ห้องปฏิบัติการ การอภิปราย การอ่าน
การทัศนศึกษา การจดบันทึก การสาธิต
บทเรียนสําเร็จรูป กรณีศึกษาบทบาทสมมุติ การศึกษาด้วยตนเองและสถานการณ์จำลอง
วิธีเหล่านี้มีรูปแบบให้เลือกมากมายการบรรยายอาจจะเป็นบทละคร
เป็นการนำเสนอด้วยโสตทัศนูปกรณ์ การอภิปรายมีหลายรูปแบบ การสนทนาถกเถียงปัญหา
การประชุมโต้ตอบกัน รายการระดมสมอง
กรณีศึกษามีหลากหลายจากกรณีประวัติศาสตร์จนกระทั่งถึงการแก้ปัญหาและเช่นเดียวกับบทบาทสมมุติเป็นแบบหนึ่งของสถานการณ์จำลอง
บทเรียนสำเร็จรูปต้องอาศัย คำตอบหรือการตอบสนองบ่อยๆ
และให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างทันทีทันใดและสามารถเสนอผ่านทางหนังสือ แบบฝึกหัด
หรือคอมพิวเตอร์ แบบของโปรแกรมอาจจะเป็นเส้นตรง เส้นสาขา
หรือบางกรณีเป็นคอมพิวเตอร์ แบบฝึกหัด ปฏิบัติแบบติว และแบบสถานการณ์จำลอง
การสาธิตสามารถนำเสนอด้วยปฏิกิริยาสัมพันธ์และการอภิปรายการศึกษาด้วยตัวเอง
ทำให้ด้วยการใช้ module
ใช้ชุดของสื่อ
ใช้วิธีการติวด้วยอุปกรณ์โสต
อ้างอิง
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น