สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
2543 หน้า 4-5
ที่ได้สรุปถึงความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้หรือปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาซึ่งสามารถสังเคราะห์ได้ดังนี้
1. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทยการปฏิรูปวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่จะช่วยพัฒนาคนไทยให้เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรมตระหนักในคุณค่าของตนเองผู้อื่นและสรรพสิ่งทั้งหลายรู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในครรลองแห่งความดีงาม
รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเป็นคนมีเหตุผลยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเคารพกติกาของสังคมมีความขยันซื่อสัตย์และเสียสละเพื่อส่วนรวมมีความสามารถในการใช้ศักยภาพของสมองได้ทั้งซีกซ้ายและซีกขวาอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
คือ ความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์
คิดเป็นระบบสามารถใช้สติปัญญาอย่างเฉลียวฉลาดลึกซึ้งเพื่อเรียนรู้ให้บรรลุความจริงความดี
ความงามของสรรพสิ่ง เป็นคนที่มีสุขภาพที่ดีมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ บุคลิกภาพร่าเริง
แจ่มใส จิตใจอ่อนโยน และเกื้อกูลมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเผชิญและแก้ปัญหาได้ดำรงชีวิตอย่างอิสระ
และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทยให้สมาชิกของสังคมมีจิตสำนึกร่วมกันในการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหาของส่วนรวม
มีการบริหารอย่างถูกต้องแยบยลลดความขัดแย้งทุกคนมีความรับผิดชอบที่จะนำพาสังคมให้ก้าวหน้า
และเข้มแข็ง
3. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม
และบริบทการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่วิทยาศาสตร์เจริญรุดหน้าความรู้และสรรพวิทยาการเดินทางไปในที่ต่างๆ
ด้วยความรวดเร็วข้อมูลและข่าวสารต่างๆเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาผู้เรียนต้องมีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
เช่น คอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต
และรู้จักสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตของตนครอบครัวสังคมและประเทศชาติ
4. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
การปฏิรูปการเรียนรู้จะเปิดโอกาสให้ครู ผู้สอน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และสังคมไทย
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ.
2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ. ศ. 2545 เป็นการเปิดแนวทางให้ครู พ่อแม่
ผู้ปกครอง และชุมชนมีอิสระในการอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาจัดหลักสูตร
เป็นการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
5. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ. ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ. ศ. 2545
จึงเป็นภารกิจที่มีกฎหมายรองรับครูอาจารย์
และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องถือปฏิบัติให้บรรลุสำเร็จตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
อ้างอิง
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น