การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ สอนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิจิตรา ธงพานิช ผู้จัดทำ นางสาวสุทธิดา เชีียรรัมย์

วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ




ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้ (Constructivism) เป็นทฤษฎีที่มุ่งความสนใจไปที่บทบาทของผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ นักจิตตวิทยาการเรียนรู้แนวคอนสตรัคติวิซึมที่มีชื่อเสียงกลุ่มมีได้แก่ Dewey,Piaget,Vigoskyและ Ausubel เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นการพยายามเชิงสังคมเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือกันซึ่งมีความสำคัญของการสร้างความรู้โดยกลุ่มคน ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่าทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานดังนี้
1.1 ผู้เรียนตั้งระบบความเข้าใจด้วยตนเองมากกว่าการส่งผ่านบริการถ่ายทอดจากผู้สอน
1.2 การเรียนรู้ไหมสร้างบนพื้นฐานของการเรียนรู้ที่ผ่านมา ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
1.3 การเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดต่างๆและทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสประเมินความเข้าใจตนเอง
1.4 การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริงการเสริมสร้างให้การเรียนรู้ที่มีความหมายการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมนั้น ยอมรับข้อมูลที่มีอยู่ในน้ำและข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น

2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavionsm) เป็นทฤษฎีที่ชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากพลังกระตุ้นจากภายนอกในรูปแบบของการให้รางวัลและการลงโทษ ผู้เรียนมีบทบาทคอยรับสิ่งเร้าและมีปฏิสัมพันธ์ ส่วนผู้สอนมีบทบาทในการควบคุมและกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหมาย ด้วยการให้รางวัลหรือการลงโทษ

3. ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitivism) เป็นทฤษฎีที่ชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการรับข่าวสารจัดเก็บข่าวสารและการนำข่าวสารออกมาใช้ ผู้เรียนต้องตื่นตัวในการพัฒนากลยุทธ์ที่จัดสร้างความเข้าใจอย่างมีความหมาย ส่วนผู้สอนถือเป็นผู้ร่วมขบวนการพัฒนากลยุทธ์และการใช้กลยุทธ์อย่างมีความหมาย

4. ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanism) มนุษย์ทุกคนเกิดความพร้อมกับความดีที่ติดตัวมาแต่กำเนิดมีอิสระที่จะนำตนเองและพึ่งตนเองได้มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำประโยชน์ต่อสังคม มีอิสระในการเลือกทำสิ่งต่างๆที่จะทำให้ผู้อื่นไม่เดือดร้อน ในการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีนี้ ควรให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพในด้านความรู้ อารมณ์ ความรู้สึก และทักษะไปพร้อมพร้อมกัน ซึ่งความว่ามีคนฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดรู้จักใช้เหตุผลมีความชื่นชมต่อสิ่งที่เรียนและค่อยๆรุนแรงโดยทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง



อ้างอิง 
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น