😉 การเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับการออกแบบการเรียนการสอน
ซึ่งได้มาจากผลการวิจัยเอกัตบุคคลเรียนรู้อย่างไร คำอธิบายว่าจะตีความให้ดีที่สุดได้อย่างไรกับความเห็นเหล่านี้
ก่อให้เกิดทฤษฎีการเรียนการสอนจำนวนมากซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 30
ปีที่แล้วหรือมากกว่านั้น จากทฤษฎีพฤติกรรมนิยมไปจนถึงทฤษฎีปัญญานิยม
เป็นความหวังว่าทฤษฎีเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจการเรียนรู้ และประยุกต์วิธีการหรือหลักการใหม่ๆ
ที่เป็นประโยชน์กับผู้ออกแบบการเรียนการสอน
มีทฤษฎีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากมาย
ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงสี่ทฤษฎีซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน คือ
4.1 ทฤษฎีการเรียนการสอนของกาเย่และบริกส์
กาเย่ (Gagne,1982) มีส่วนช่วยเหลืออย่างสำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ดังที่เขาได้ตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับการเรียนรู้
กาเย่และบริกส์ (Gagne and Briggs, 1979)
ได้ขยายเงื่อนไขนี้ออกไปโดยพัฒนาชุดของหลักการสำหรับการออกแบบการเรียนการสอน
ทฤษฎีดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะเพิกเฉยต่อปัจจัยการเรียนรู้ดั้งเดิม เช่น
การเสริมแรง (reinforcement) การต่อเนื่อง (contiguity)
และการปฏิบัติ (exercise) เพราะกาเย่และบริกส์คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาเกินไปที่จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนโดยยืนยันในเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนรู้สารสนเทศทางถ้อยคำ
(Verbalinformation) ทักษะเชาวน์ปัญญา (intellectual
skill) และความสามารถในการเรียนรู้ประเภทอื่นๆ
กาเย่ได้ระบุผลที่รับจากการเรียนรู้แต่ละประเภทที่ต้องการสภาวการณ์หรือเงื่อนไขที่แตกต่างกันสำหรับการเรียนรู้การคงความจำ
และการถ่ายโอนการเรียนรู้ในขีดสูงสุด
เราคงจะจำได้ว่าในบทที่ 3 ได้มีการนำเสนอการเรียนรู้ทางปัญญา
(Cognitive
learning) ของกาเย่ คือ สารสนเทศทางถ้อยคำ (Verbal
information) ทักษะทางเชาว์ปัญญา (Intellectualskill) กลยุทธ์ทางปัญญา (Cognitive strategy)
ทักษะทางการเคลื่อนไหว (Motor
skill) และเจตคติ (Attitude)
ทฟษีของกาเย่และบริกส์ได้จัดเตรียมข้อกำหนดสำหรับแบบของการเรียนรู้เหล่านี้บนพื้นฐานของแบบจำลองการประเมินผลสารสนเทศ
(Imformation processing model) ของการเรียนรู้ซึ่งการจำ
4.2 ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุท
ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุท (merril, 1984 : reigeluth,
1979 : 8-15) เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์มหภาพ (mecro-strategies) สำหรับการจัดการเรียนการสอน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างหัวข้อของรายวิชา
และลำดับขั้นตอนของการเรียนการสอนทฤษฎีนี้เน้นมโนทัศน์ หลักการ ระเบียบวิธีการ
และการระลึก (จำได้)สารสนเทศข้อความจริงต่างๆได้โดยทั่วไปแล้ว
ทฤษฎีนี้มีทัศนะเกี่ยวกับการเรียนการสอนว่า
เป็นกระบวนการของการนำเสนอรายละเอียดอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละเล็กทีละน้อย
หรืออย่างประณีตตามทฤษฎีของเมอร์ริลและไรเกลุท
ขั้นตอนของการเรียนการสอนประกอบด้วย
1.การเลือกปฏิบัติทั้งหมดที่จะสอนโดยการวิเคราะห์ภาระงาน
2.ตัดสินใจว่าจะสอนการปฏิบัติใดเป็นลำดับแรก
3.เรียงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่ยังค้างอยู่
4.ระบุเนื้อหาที่สนับสนุน
5.กำหนดเนื้อหาทั้งหมดเป็นบทและจัดลำดับบท
6.เรียงลำดับการเรียนการสอนภายในบท
7.ออกแบบการเรียนการสอนสำหรับแต่ละบท
แบบจำลองดังกล่าวนี้ใช้การวิเคราะห์ภาระงาน
(Task analysis)
ในการระบุเนื้อหาที่จะสอนในขณะที่กาเย่และบริกส์เน้นลำดับก่อนหลังของการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กันเป็นพื้นฐานสำหรับการจัดขั้นตอนการเรียนการสอน
เมอร์ริลและไรเกลุทเน้นการเรียนการสอนเบื้องต้นด้วยความคิดกว้างๆโดยทั่วไป
และเป็นหนึ่งเดียวก่อนที่จะดำเนินไปสู่รายละเอียดให้มากขึ้น
หรือเป็นความคิดที่เป็นรูปธรรมมีมากขึ้น
4.3 ทฤษฎีการเรียนการสอนของเคส
เคส (Case, 1978 : 167-228) ได้แนะนำว่า
ขั้นตอนของพฤติกรรมระหว่างระยะสำคัญของการพัฒนาเชาวน์ปัญญา ขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์ให้เห็นถึงการเพิ่มความซับซ้อนของกลยุทธ์ทางปัญญาการใช้กลยุทธ์ที่ซับซ้อนมากขึ้นกับผู้เรียนทำให้เพิ่มประสบการณ์
(รวมถึงการเรียนการสอน)
และเพิ่มขนาดของการทำงานในหน่วยความจำอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วย
ขั้นตอนการออกแบบของเคส เกี่ยวกับการระบุเป้าประสงค์ของพนักงานที่ปฏิบัติ
(เรียนรู้)
จัดลำดับขั้นปฏิบัติเพื่อช่วยผู้เรียนให้ไปถึงเป้าประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติของผู้เรียน
(หรือความคิดที่รายงาน) กับเอกัสบุคคลที่มีทักษะประเมินระดับงานของนักเรียน
(โดยตั้งคำถามทางคลินิก) การออกแบบฝึกหัดเพื่อสาธิตให้ผู้เรียนได้ศึกษา
(ถ้าจำเป็น) และอธิบายว่าทำไมกลยุทธ์ที่ถูกต้องจึงได้ผลดีกว่า
และสุดท้ายนำเสนอตัวอย่างเพิ่มเติมโดยใช้กลยุทธ์ใหม่
ทฤษฎีการเรียนการสอนของเคสมีความคล้ายคลึงกับงานของเพียเจต์
(Piaget’s work) โดยเพียเจต์ได้แนะนำว่ากลยุทธ์ทางปัญญาของนักเรียนที่ยังไม่ได้รับการสอนสามารถที่จะเปิดเผยและใช้เป็นพื้นฐานสำหรับจัดลำดับขั้นตอนการเรียนการสอน
และวางแผนเหตุการณ์การเรียนการสอนได้ (Knirk and Gustafson,1986..104)
4.4 ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา
ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา
(Landa, 1974) เป็นการออกแบบจำลองการเรียนการสอนที่แยกออกมา
โดยใช้วิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง (algorithms) โปรแกรมการฝึกอบรมจะมีการพัฒนาวิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่างของภาระงาน
ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนติดตามระเบียบวิธีที่มีอยู่ในคู่มือการอบรม
ในการใช้วิธีการออกแบบของอันดา
เป็นความจำเป็นที่ต้องมีการระบุกิจกรรมและการปฏิบัติทั้งหมดที่มีอยู่ค่อนก่อนหน้านั้น
ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงออกมา เพื่อจะได้รวมไว้ในการแก้ปัญหาบางอย่าง
ในทางตรงกันข้าม
อาจจะเรียกว่าเป็นวิธีการทางจิตวิทยาในการวางแผนการเรียนการสอนผู้เชี่ยวชาญหลักสูตรมีแนวโน้มที่จะเน้นไปที่โครงสร้างของเนื้อหาบนพื้นฐานของการนำไปประยุกต์ใช้
บ่อยครั้งที่มีการจัดการเรียนรู้เป็น
1.
เนื้อหาด้านปัญญา
2.
ทักษะทางด้านวิชาการ
3.
การเรียนรู้สังคม
4.
การเรียนรู้ตามความต้องการของเอกัตบุคคล
การพิจารณาคุณลักษณะของผู้เรียน
การวิเคราะห์ภารงานและการเรียนการสอน
แล้วนั้น
จะพบว่าการพิจารณาคุณลักษณะของผู้เรียนต้องอาศัยความรู้ที่มีอยู่ของผู้เรียนหรือความรู้เดิม
ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจวางแผนการเริ่มต้นของโปรแกรมการเรียนการสอนใหม่ๆ
ในที่นี้จะได้กล่าวถึงการประมวลสารสนเทศทางทักษะของผู้เรียน
ซึ่งจะสัมพันธ์กับการออกแบบสิ่งแวดล้อมของการเรียนต่อไป
สไตล์การสอน
สไตล์หรือลีลาการสอน
(Styes of
teaching) เป็นการแสดงคุณค่าของครูแต่ละคนเป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้ครูคนหนึ่งแตกต่างไปจากครูคนอื่นๆ
ประกอบด้วยการแต่งกาย ภาษา เสียงกริยาท่าทาง ระดับพลัง การแสดงออกทางสีหน้า
รงจูงใจ ความสนใจในบุคคลอื่นความสามารถในการแสดงเชาว์ปัญญาและความคงแก่เรียน
ฟิชเชอร์และฟิชเชอร์ได้บ่งชี้สไตล์การสอนประกอบด้วย
ดังนี้
การมุ่งงาน
ครูจะกำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้และบอกถึงความต้องการในการปฏิบัติงานของนักเรียน
การเรียนที่จะประสบความสำเร็จอาจจะเฉพาะเจาะจงไปที่พื้นฐานของนักเรียนแต่ละคน
และมีระบบที่จะให้นักเรียนแต่ละคนเป็นไปตามความคาดหวังอย่างชัดเจนมั่นคง
การวางแผนการร่วมมือ ครูร่วมกันวางแผนวิธีการและจุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนด้วยความร่วมมือของนักเรียน
ครูไม่เพียงแต่จะรับความคิดเห็นเท่านั้น
แต่ครูต้องกระตุ้นให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของนักเรียนทุกระดับชั้นด้วย
การให้นักเรียนเป็นจุดศูนย์กลาง
ครูจัดหาจัดเตรียมโครงสร้างต่างๆสำหรับนักเรียนเพื่อให้ติดตามแสวงหาความรู้ตามที่ต้องการหรือตามความสนใจ
สไตล์แบบนี้ไม่เพียงแต่จะพบว่ามีน้อยแต่เกือบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะจินตนาการให้เป็นไปตามที่คาดหวังเพราะว่าชั้นเรียนที่มีอัตราส่วนระหว่างนักเรียนกับครูและนักเรียนกับสิ่งแวดล้อมในความรับผิดชอบจะกระตุ้นส่งเสริมความสนใจของนักเรียนบางคนเกิดความท้อแท้ใจโดยอัตโนมัติ
การให้เนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลาง
วิธีการนี้ครูจะเน้นไปที่เนื้อหาวิชาที่จัดไว้ดีแล้ว โดยกับผู้เรียนออกไป
และคิดว่าเนื้อหาวิชาที่จัดนั้น
ครอบคลุมรายวิชาครูจะพึงพอใจแม้ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นน้อย
การให้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง วิธีการนี้ครูจะให้ความสำคัญเท่าๆกันระหว่างนักเรียนกับจุดประสงค์ของหลักสูตร
ตลอดจนส่งที่ใช้ในการเรียน
ครูจะปฏิเสธการเน้นอย่างมากเกินไปทั้งในด้านการให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
และการให้เนื้อหาเป็นศูนย์กลางแทนการช่วยเหลือนักเรียน โดยไม่คำนึงว่านักเรียนมีความสามารถหรือไม่มีความสามารถ
เพื่อที่จะพัฒนาไปสู่เป้าประสงค์ที่มีความเป็นไปได้ให้ดีเท่าๆกันกับอิสรภาพของผู้เรียน
ให้มีการตื่นเต้นทางอารมณ์และเป็นแบบอย่าง
วิธีการนี้ครูจะแสดงอารมณ์ที่เกี่ยวกับการสอนอย่างเข้มข้น
ครูจะเข้าไปอยู่ในกระบวนการสอนอย่างใจจดใจจ่อ
และโดยปกติแล้วจะก่อให้เกิดบรรยากาศของชั้นเรียนที่ตื่นเต้นและมีอารมณ์ร่วมสูง
สไตล์การเรียนรู้
สไตล์การสอนของครูมีความสัมพันธ์บางอย่างกับสไตล์การเรียนรู้ของนักเรียน
นักเรียนบางคนมีลักษณะดังนี้ คือ สัตว์ชนิดหนึ่งที่มีความกระหาย คนโง่
กระตุ้นตนเอง อุตสาหะ/บุกบั่น ฉลาดหลักแหลมและผู้สงสัย
นักเรียนบางคนมีความสามารถในการแสดงออกทางการพูดดีกว่าการเขียน
บางคนสามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของนามธรรม ในขณะที่คนอื่นๆเพียงแต่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น
บางคนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้เทคนิคการฟังและการดูมากกว่าการอ่าน
บางคนสามารถทำงานภายใต้ความกดดันได้ ในบางคนทำไม่ได้บางต้องการชี้ทิศทางมาก
บางคนต้องการเพียงเล็กน้อย นักเรียนมีสไตล์การเรียนรู้ที่แตกต่างกันตามสไตล์การสอน
ในความจริงแล้วจำนวนนักเรียนยิ่งมากขึ้นเท่าไหร่ความแตกต่างของนักเรียนยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น
ครูต้องรับรู้ว่าสไตล์การสอนสามารถให้ความกระทบอย่างแรงกล้าต่อสัมฤทธิ์ผลของนักเรียน
สไตล์การสอนแต่ละครั้งสามารถที่จะผสมผสานให้เข้ากับจุดหมายของนักเรียนได้
แบบจำลองการสอน
แบบจำลองการสอน
ในขณะที่สไตล์การสอนเป็นชุดพฤติกรรมส่วนบุคคลของครู
แบบจำลองการสอนเป็นชุดพฤติกรรมทั่วไปซึ่งเน้นกลยุทธ์หรือชุดกลยุทธ์เฉพาะอย่าง
ตัวอย่างเช่น การบรรยายเป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนหรือเป็นวิธีการเป็นสิ่งที่เป็นลักษณะครอบงำกลยุทธ์ในการบรรยายคือการเติมเต็มแบบจำลองของการบรรยาย
ข้อแตกต่างระหว่างแบบจำลอง (model) กับสไตล์ (style)
สามารถสังเกตเห็นได้โดยบุคคลที่เข้าฟังการบรรยายที่มีความแตกต่างกันทั้งสอง
จอยส์และวีล
ได้นิยามแบบจำลองการสอนว่า แบบจำลองการสอนเป็นแผนสำหรับใช้ในการสอนจัดหลักสูตรเพื่ออกแบบวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน
และเพื่อแนะนำการเรียนการสอนในชั้นเรียนและข้อจำกัดอื่นๆ
แบบจำลองหรือบทบาทการเรียนการสอนที่ครูแสดงออกมาแสดงถึงแนวทางเลือกกลยุทธ์ของครู
ทักษะการสอน
โอลิวาได้อธิบายเกี่ยวกับสไตล์และแบบจำลองการสอนซึ่งทั้งสองอย่างเกี่ยวข้องกับการเลือกกลยุทธ์หรือวิธีการเฉพาะ
ในตอนนี้จะได้ผนวกมิติที่สามของการเลือกกลยุทธ์การเรียนการสอนคือ
ทักษะการสอนเข้าไปด้วยคำที่จำเป็นและมีความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างแบบจำลองและทักษะการสอน
คือวิธีการ
ถ้าไม่ได้แสดงความหมายของกลยุทธ์และโมเดลไว้เรียบร้อยเช่นกลยุทธ์การบรรยาย
มีความหมายเท่ากับวิธีการบรรยาย
สำหรับผู้ที่ต้องการคำที่ดีกว่าอาจจะใช้คำที่คลุมเรือว่า
วิธีเริ่มเรื่องซึ่งให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างของคำสามคำ คือ สไตล์ โมเดลและทักษะ ภาพที่ 6.2 แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของทั้งสามคำโดยที่เงาดำตรงกลางจะแทน
วิธีเริ่มเรื่องของครุ (Teaching’s approach)
ภาพที่ 6.2 วิธีเริ่มเรื่องของครุ (Teaching’s approach) |
วิธีเริ่มเรื่องของครู
ลองพิจารณาอธิบายคำง่ายๆของความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้และดูลักษณะทั้งสามสัมพันธ์กันอย่างไร
ตัวอย่างเช่นในการเรียนการสอนแบบโปรแกรมครูซึ่งแสดงบทบาทเป็นผู้จัดทำโปรแกรม
(โมเดล) เป็นศูนย์กลาง
มีใจชอบในรายละเอียดเชื่อว่านักเรียนเรียนได้ดีที่สุดด้วยสไตล์การสอนและมีทักษะในการเลือกเนื้อหา
ขั้นตอน การเขียนโปรแกรมและทักษะในการทดสอบ
อาจกล่าวได้ว่าโปรแกรมเป็นวิธีการของครู (หรือเป็นโมเดล)
และการใช้โปรแกรมร่วมกับผู้เรียนเป็นกลยุทธ์การสอนของครู (หรือเป็นวิธีการ)
สมรรถภาพโดยทั่วไป
เมื่อเร็วๆนี้นักเรียนนักศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสนใจกับการระบุทักษะการสอนโดยทั่วไปหรือสมรรถภาพ
อัลเลนและไรแอน ได้รวบรวมรายการทักษะการสอนทั่วไปที่เป็นที่รู้จักกันดี 14 รายการส่วนฮันเตอร์และรัสเตอร์ได้ให้รายการเจ็ดขั้นที่ให้ผลกับทักษะการสอนในการวางแผนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
มลรัฐฟลอริดาได้ระบุสมรรถภาพการสอนซึ่งครูทุกคนควรจะมีไว้
27
ประการสมรรถภาพเหล่านี้เป็นการจัดเตรียมพื้นฐานสำหรับวิชาชีพทางการศึกษา
ซึ่งเป็นส่วนของการสอบประกาศนียบัตรวิชาชีพครูของมลรัฐฟลอริดา
ประเทศสหรัฐอเมริกาทุกคนต้องประกาศนียบัตรวิชาชีพครูของมรัฐฟลอริดา ไม่เพียงแต่ต้องผ่านการสอบวิชาชีพครูการศึกษาเท่านั้นแต่ต้องทดสอบทักษะในสาขาที่สอนและทักษะในการศึกษาในระดับวิทยาลัยด้วยตั้งแต่ปี
1975 มลรัฐฟลอริดาได้เปลี่ยนแปลงรายการของสมรรถภาพทั่วไปจาก 23
รายการ เป็น 35 รายการในปี ค.ศ. 1984 และเป็น 27 รายการในปีค.ศ.1989
การจัดการเรียนการสอน
ในการวางแผนสำหรับการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกองค์ประกอบต่อไปนี้คือเป้าหมายวัตถุประสงค์
กลยุทธ์ ทรัพยากร การเรียนรู้ และเทคนิคการประเมินผล
ครูต้องนำองค์ประกอบความรู้ทั้งหมดที่มีความแตกต่างนี้มารวมกันเพื่อที่จะนำมาวางแผนการเรียนการสอน
ซึ่งมีทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะแผนระยะสั้นทั้งสอง
คือแผนระดับหน่วยและแผนระดับบทเรียน
แผนระดับหน่วยหรือบางครั้งเรียกว่าหน่วยการเรียนรู้หรือเรียกอีกสั้นๆว่าหน่วย
หมายถึง การจัดรูปองค์ประกอบของการเรียนการสอนเพื่อการสอนทั้งหัวเรื่อง
ซึ่งเบอร์ตันได้ให้รายละเอียดของหัวข้อสำหรับการวางแผนระดับหน่วยไว้ดังนี้
1.
ชื่อเรื่องมีความตรึงตราตรึงใจสั้นๆ และไม่กำกวม
2.
ความนำ การกล่าวถึงธรรมชาติและขอบเขตของหน่วย
3.
จุดประสงค์ของครู ความเข้าใจ เจตคติ ความเข้าใจ
ความซาบซึ้ง ความสามารถพิเศษ ทักษะแบบพฤติกรรม ข้อความจริง
4.
วิธีการคำอธิบายสั้นๆ
ของความนำที่จะน่าเป็นไปได้มากที่สุด
5.
ความมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ของผู้เรียน
จุดประสงค์สำคัญซึ่งคาดหวังว่าผู้เรียนจะพัฒนาหรือยอมรับ
6.
ระยะเวลาของการวางแผนหรือทำงาน กิจกรรมการเรียนรู้หรือผลที่ได้รับตามความต้องการสำหรับแต่ละกิจกรรม
7.
เทคนิคการประเมินมีหลักฐาน
8.
บรรณานุกรม
9.
โสตทัศน์วัสดุและเครื่องช่วยการเรียนการสอนอื่นๆ
พร้อมทั้งแหล่งที่มา
แผนระดับบทเรียน
หรือแผนการสอนตามความคิดเห็นแล้วแผนการสอนควรจะเขียนขึ้นโดยปราศจากแหล่งอ้างงอิงจากแผนระดับหน่วยใดๆ
อย่างไรก็ตามโดยเหตุผลแล้วแผนการสอนที่มีคุณภาพสูงกว่า
การจัดรูปแบบดีกว่ามีความสมบูรณ์และประสบความสำเร็จบ่อยครั้งมากกว่า
เช่นเดียวกับการวางแผนระดับหน่วย
แผนระดับเรียนหรือแผนการสอนเป็นแบบฝึกหัดสำหรับครูแต่ละคนซึ่ง ปีเตอร์
ได้อธิบายว่า
แผนระดับบทเรียนเป็นโครงร่างหัวข้อง่ายๆซึ่งเตรียมล่วงหน้าสำหรับการสอน โอลิวา
กล่าวว่า บทเรียนประเภทต่างๆต้องการแผนการสอนที่แตกต่างกัน
การนำเสนอการสอน
การนำเสนอการเรียนการสอน
หลังที่ได้วางแผนและจัดรูปแบบสำหรับการเรียนการสอนแล้วครูจะดำเนินการชี้นำประสบการณ์ในการเรียนรู้ให้กับนักเรียนภายในชั้นเรียน
การแนะนำเป็นการนำเสนอเป็นการแนะนำสารสนเทศ
ข้อความจริงมโนทัศน์และหลักการใช้กับนักเรียน
ความต้องการในการนำเสนอของครูต่อผู้เรียนจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของการเรียนรู้ที่ต้องการ
ความสำเจของระดับความพร้อมที่จะรับการสอนของผู้เรียน
ผลการวิจัยเกี่ยวข้องกับการสอนที่มีประสิทธิภาพมีหลักการที่เป็นสามัญสำนึกว่านักเรียนจะเรียนรู้ได้มากขึ้น
ถ้าครูหว้งว่านักเรียนจะเรียนโดยพุ่งความสนใจในเนื้อหาวิชาทำให้ผู้เรียนอยู่กับภาระงาน
อ้างอิง
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น