การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ สอนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิจิตรา ธงพานิช ผู้จัดทำ นางสาวสุทธิดา เชีียรรัมย์

วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561

บทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา




👊การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายฝ่ายร่วมมือการพัฒนาและปรับปรุงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้สอน ศึกษานิเทศก์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรสถาบันวิชาการ หน่วยงานและสื่อมวลชน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ. ศ. 2545 มาตรา๒๔กำหนดบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างชัดเจน โดยการประสานเชื่อมโยงบทบาทของทุกคนให้เกิดการปฏิรูปทางการศึกษาโดยมีลักษณะสำคัญดังนี้

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้
2. กำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียนไว้ในธรรมนูญโรงเรียนมี แผนยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ. ศ. 2545 หมวด 4 ที่ว่าด้วยแนวทางการจัดการศึกษา
3. ปรับปรุงการบริหารจัดการให้เพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูผู้สอนได้มีเสรีภาพในการคิดพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ทำการวิจัยในชั้นเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้การในระหว่างเพื่อนครู การทำงานโดยการผนึกกำลังของกลุ่มวิชาการต่างๆเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ให้ได้มาตรฐานหลักสูตร
4. พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้มีบรรยากาศเลือกต่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด
5. จัดให้มีระบบนิเทศภายในช่วยเหลือครูในด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง


บทบาทของครูผู้สอน
1.ปรับเปลี่ยนแนวคิดให้เอื้อต่อการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นตัวอย่างในการพัฒนาวินัยในตนเอง
2. พัฒนาตนเองอยู่เสมอให้มีความรู้และความสามารถในการปฏิบัติการปลูกฝังค่านิยมที่ดี และจริยธรรมให้ผู้เรียนให้ความรักความเมตตาต่อผู้เรียน
3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง
4. ทำการวิจัยในชั้นเรียนควบคู่กับการเรียนการสอนนำผลมาพัฒนาปรับปรุง
5. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทของผู้เรียน
6. ช่วยให้ผู้เรียนยอมรับและพัฒนาตนเอง มีความเข้าใจตนเอง ยอมรับความรู้สึกของตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเองว่าเป็นคนมีคุณค่า
7. ให้คำปรึกษาในด้านการเรียนการสอนการวางแผนชีวิตและแนวทางการพัฒนาตนเองสู่อาชีพช่วยให้ผู้เรียนตั้งจุดมุ่งหมายในชีวิตตามสภาพความเป็นจริงที่เป็นไปได้
8. ช่วยให้ผู้เรียนมีวุฒิภาวะรู้จักข้อดีข้อเสียของตนเอง
9. กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าเผชิญปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ
10. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจลีลาการเรียนรู้ของตนเองเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ และรู้จักวิธีการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้อยู่เสมอ
11. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประเมินตนเองและทบทวนการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นเสมอ
12. เป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียน เพื่อนครู และบุคลากรในโรงเรียน

บทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครอง
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
2. ให้ความรักและความอบอุ่น
3. ให้การอบรมเลี้ยงดูเอาใจใส่ในการสร้างสุขนิสัยที่ดี พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันปัญหาต่างๆ
4. เป็นตัวอย่างแก่บุตรธิดา และปลูกจิตสำนึกในเรื่องวินัยในตนเองความรับผิดชอบความปลอดภัย
5. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในบ้าน
6. ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำและการเสริมแรง
7. ร่วมมือกับโรงเรียนในการให้ข้อมูลและประเมินผู้เรียน
8. เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต

บทบาทของชุมชน
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดความเชื่อในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
2. ให้ความร่วมมือในการระดมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้
3. ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนาสถานศึกษาในทุกๆด้าน
4. ประสานสัมพันธ์กับสถานศึกษาเพื่อสร้างบรรยากาศให้ชุมชนเป็นแหล่งการเรียนรู้ และพัฒนาชุมชนเป็นสังคมแห่งปัญญา
5. ดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในชุมชน

บทบาทของผู้เรียน
ความมุ่งหมายของการปฏิรูปการเรียนรู้ คือ ต้องการให้ผู้เรียนมีลักษณะ เก่ง ดี มีความสุข ผู้เรียนจึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้จากผู้รับความรู้มาเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัดความสนใจ และความสามารถของตนเอง ดังนั้น บทบาทหน้าที่ของผู้เรียนควรมีดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายการศึกษาให้สอดคล้องกับความสามารถความถนัดและความสนใจของตนเอง
2. มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้วางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้ปกครองและครู
3. รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์บริหารจัดการเรียนรู้ของตนเอง
4. ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
5. ปฏิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้รู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
6. รู้จักประเมินตนเองและผู้อื่น
7.ศรัทธาต่อผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อน




อ้างอิง 
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น