การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนำเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ ในขณะที่สื่อเป็นคำที่ใช้อ้างถึงแบบของการเรียนการสอน ( mode of delivery)จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่จะส่งผ่านแบบการเรียนการสอนนั้น
ในป่าเป็นความจำเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์(Hardware)และส่วนที่เป็นวัสดุ(Software)สำหรับการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นฐานเช่นเดียวกันกับสื่อโทรทัศน์ที่ต้องอาศัยโปรแกรมเป็นฐาน
การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทำได้ก่อนทำตามหลังหรือทำไปพร้อมๆกันกับการการตกลงเกี่ยวกับวิธีการโดยทั่วๆไปแล้ว
จะทำตามหลังหรือทำไปพร้อมๆกัน
การบรรยายอาจจะต้องการองค์ประกอบของสื่อของโปรแกรมโทรทัศน์ในสมัยก่อนวัสดุประกอบส่วนใหญ่จะเป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์
ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงการแบ่งวิธีการ/สื่อ
ออกเป็น 3 ประเภทคือ วิธีการ(methods) สื่อดั้งเดิม (traditional media) และเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า (newer technology) ในด้านวิธีการดำเนินหลักสูตรโดยทั่วไปซึ่งอาจจะรวมรวมกัน
แต่จะใช้สื่อรวมรวมกันส่วนสื่อเดิมจะรวมถึงงานพิมพ์และสื่อโสตทัศน์
และสำหรับเทคโนโลยีใหม่คือการสื่อสารโทรคมนาคมและไมโครโปรเซสเซอร์ (microprpcessor)สื่อ (media) สามารถจัดกลุ่มเป็นวัสดุสิ่งพิมพ์(print
materials)ทัศนวัสดุไม่ฉาย (nonprojected visuals) ทัศนวัสดุฉาย (projected visuals) สื่อประเภทเสียง (audio
media) ระบบสื่อผสม (multimedia systems) ภาพยนตร์
(films) และโทรทัศน์ (television ) สื่อแต่ละประเภทเหล่านี้สามารถแสดงออกให้เลือกได้หลากหลายรูปแบบ
การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่
เทคโนโลยีใหม่ประกอบด้วย
การเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน (computer-based instrction) และการเรียนรู้ทางไกลที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นพื้นฐาน
(telecommunications-based distance learning technologies) การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนอยู่ในสถานที่หนึ่ง
เทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ
การพิจารณาเลือกสื่อ
มีหลักการทั่วไปจำนวนมากและข้อพิจารณาอื่นๆ
ในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนคือ
กฎในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ
กฎในการเลือกสื่อ
การเลือกสื่อมีกฏอยู่ 6 ข้อ
หรือเรียกว่าหลักการทั่วไปในการพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจอย่างไม่เป็นทางการในการเลือกสื่อ
กฎที่ 1 การเรียนการสอนโดยทั่วไป แล้วต้องการสื่อสองทาง
(Two way medium)นักเรียนจะเรียนได้ดีที่สุดเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสื่อการเรียนการสอน
ครู สมุดทำงาน หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
กฎที่ 2 สื่อทางเดียว (one- way media) ควรจะได้รับการสนับสนุน
โดยสื่อที่จะให้ข้อมูลป้อนกลับ คือ ภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ จะให้ประสิทธิผลมากกว่า
เมื่อมีคู่มือการใช้ควบคู่ไปด้วยหรือมีแบบฝึกปฏิบัติควบคู่ไปด้วย หรือมีครู
ซึ่งสามารถที่จะถามคำถามและตอบคำถามได้
กฎที่ 3 การเรียนรู้ของแต่ละบุคคลต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น
ตัวอย่างคือ ผู้เรียน ที่เรียนเช้า อาจจะต้องการสื่อการเรียนการสอนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษเช่นการฝึกเสริม
ตัวอย่างการฝึกเสริมเป็นพิเศษ สื่อภาพยนตร์
ควรจะส่งเสริมโดยการอยากแก้ไขหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล
โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะสนองตอบได้อย่างดีในความยืดหยุ่นที่มีต่อปัจจัยบุคคล
กฎที่ 4 การนำเสนอโลกแห่งความเป็นจริง
ต้องการสื่อทางทัศนะวัสดุ
ตัวอย่างนักเรียนพยาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหมจำเป็นต้องเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์
วีดีทัศน์ การสาธิตของจริง )มากกว่าที่จะเขียนออกมาเป็นรายการของวิธีการตัดไหม
กฎที่ 5 พฤติกรรมที่คาดหวังหลังจากการเรียนการสอน
ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่างที่มีการเรียนการสอน การได้ยิน
หรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมาไม่เป็นการเพียงพอ ตัวอย่าง
ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องทำการตัดไหมตามที่เห็นในวีดีทัศน์
ไม่ว่าจะเป็นการตัดไหมเทียมเทียมหรือตัดใหม่จริงๆ
กฎที่ 6 เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆอาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความแตกต่างกัน
ตัวอย่างทฤษฎีที่อยู่บนหลักของวิธีการทำหมัน
อาจจะต้องการวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นสิ่งพิมพ์ ในขณะที่วิธีการตัดไหม
อาจจะต้องการสาธิตที่มีความเป็นจริงมากกว่า
ปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการเลือกสื่อ
ไม่มีการเรียนรู้กฎซึ่งจำเป็นในการพิจารณา
เมื่อมีการเลือกสื่อการเรียนการสอนเป็นความจำที่มองหาปัจจัยอื่นๆซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกซื้อ
แบบจำลองการเลือกสื่อ
แบบจำลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายแบบ
สำหรับการพิจารณาแต่ละแบบจะมีวิธีการเลือกสื่อที่แตกต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ
แต่ละแบบมีความต่างกันอย่างไร และพิจารณาว่ามีอะไรเป็นนัยของความแตกต่าง
แต่ละแบบจำลองพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการเลือกและการใช้ประโยชน์จากวัสดุ
แบบจำลองของวิลเลี่ยม
ออเลน
ในแบบจำลองของวิลเลี่ยม ออเลน (William allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการจำแนกจุดประสงค์ในการจำแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนการสอนที่จะพลิกแพลงให้เข้ากับจุดประสงค์
ออเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผลสื่อสำหรับวัดชนิดของการเรียนรู้ด้วยเหตุนี้ ออเลน
ได้สร้างตารางแจกแจงสองทาง ซึ่งจำแนกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง
ต่ำ ตามชนิดของการเรียนรู้
เมื่อใช้แบบจำลองนี้ผู้ออกแบบความพยายามหลีกเลี่ยงสืบให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำกับชนิดของการเรียนรู้(allen,1967 : 27-31)
อย่างไรก็ตามถ้าผู้ออกแบบเลือกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำหรือปานกลาง
ผู้ใช้ควรรับรู้ข้อจำกัด
วิธีการที่แสดงด้วยภาพ
สามารถที่จะช่วยให้เห็นกระบวนการของการตรวจสอบจุดประสงค์
และตัดสินใจว่าสื่อชนิดใดมีความเหมาะสม
แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี
แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี (Gerlanch and Ely) ได้เป็นที่รู้จักกันในปีค.
ศ. 1971 ในตำราที่ชื่อว่าการสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลี ได้นำเสนอเกณฑ์ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนการสอน
หลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอน(behaviors)
แล้วเกมดังกล่าวประกอบด้วย ประการที่ 1 ความเหมาะสมทางปัญญา
(สื่อสามารถส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ของวัตถุประสงค์หรือไม่) ประการที่สองระดับความเข้าใจ
(สื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม ประการที่ 3 ราคา ประการที่ 4 ประโยชน์
(เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุมีประโยชน์หรือไม่) และประการที่ 5 คุณภาพทางเทคนิค
(คุณลักษณะทางการฟังและการดูของการผลิตมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่) (Gerlach
and Ely,1980)
สรุป
สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
สื่อการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ
ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน
และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น
และยังช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้น
ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ต่อการเรียนการสอนนั้น
ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุ่งหมายของการสอน
รูปแบบและระบบของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ
วัสดุอุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
อ้างอิง
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น