การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
คือ วิธีการสำคัญท่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะต่างๆที่ต้องการในโนยุคโลกาภิวัตน์
เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ความสำคัญกับผู้เรียน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง
เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเอง และได้พัฒนาศักยภาพตนเองอย่างเต็มที่
ซึ่งแนวคิดการจัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษา
และทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆที่ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามต้องการอย่างได้ผล
1.ความหมายการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา(กระบวนการคิด)
กระบวนการทางสังคม(กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่มในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้
โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียน
2.หลักการพื้นฐานของแนวคิดที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า
การจัดการศึกษามีเป้าหมายที่สำคัญที่สุด คือการจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุดตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านความต้องการ
ความสนใจ ความถนัดและยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้
อันได้แก่ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา
และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกันจึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกันตามปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคนและผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ
ผู้สอน
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือที่รู้จักในชื่อเดิมว่าการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(Student Centered หรือ
Child Centered)
เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่รู้จักกันมานานในวงการศึกษาไทยแต่ไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติรวมกับความเคยชินที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง(Teacher
Centered) มาตลอด เมื่อผู้สอนเคยชินกับการเรียนการสอนแบบเดิมๆที่เคยรู้จัก
จึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน แต่ในยุคของการปฏิรูปการศึกษานี้ได้มีการกำหนดกฎหมายแล้วว่า
ผู้สอนทุกคนจะต้องใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญได้
จึงเป็นความจำเป็นที่ผู้สอนทุกคนจะต้องให้ความสนใจกับรายละเอียดในส่วนนี้
โดยศึกษาทำความเข้าใจ และหาแนวทางในการปฏิบัติงานของตนให้ประสบความสำเร็จ
ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นการจัดบรรยากาศ
จัดกิจกรรม จัดสื่อจัดสถานการณ์ ฯลฯ
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพผู้สอนมีความจำเป็นที่จะต้องรู้จักผู้เรียนให้ครอบคลุมอย่างรอบด้าน
และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปเป็นพื้นฐานการออกแบบหรือการวางแผนการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับผู้เรียน
สำหรับในการจัดกิจกรรมหรือการออกแบบการเรียนรู้อาจทำได้หลายวิธีการหรือหลายเทคนิค
แต่มีข้อควรคำนึงว่าในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง แต่ละเรื่องได้ปิดโอกาสให้กับผู้เรียนในเรื่องต่อไปนี้หรือไม่
1.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้เลือกหรือตัดสินใจในเนื้อหาสาระที่สนใจเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนหรือไม่
2.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
โดยได้คิดรวบรวมความรู้และลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองหรือไม่ซึ่ง ทิศนา แขมณี (2547)
ได้นำเสนอแนวคิดในการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและสามารถนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติได้ดังนี้
2.1
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีที่ควรช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางร่างกาย (Physical Participation)
คือเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อช่วยให้ประสาทการเรียนรู้ของผู้เรียนตื่นตัว
พร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่างๆ
2.2
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีที่ควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางสติปัญญา (Intellectual Participation) คือ
เป็นกิจกรรมที่ช่วยผู้เรียนได้เคลื่อนไหวทางสติปัญญา ต้องเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความคิดของผู้เรียน
สามารถกระตุ้นสมองของผู้เรียนให้เกิดการเคลื่อนไหวต้องเป็นเรื่องที่ไม่ยากหรือง่ายเกินไปทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกที่จะคิด
2.3 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation) คือเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว
เนื่องจากมนุษย์มีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะมนุษย์ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและสภาพแวดล้อมต่างๆ
การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ทางสังคม
2.4
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางอารมณ์ (Emotional Participation)
คือเป็นกิจกรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกอารมณ์ของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้นั้นเกิดความหมายต่อตนเองโยกิจกรรมดังกล่าวควรเกี่ยวข้องกับผู้เรียนโดยตรง
โดยปกติการมีส่วนร่วมทางอารมณ์นี้มักเกิดขึ้นพร้อมกับการกะทำอื่นๆอยู่แล้ว เช่น
กิจกรรมทางกาย สติปัญญาและสังคม ทุกครั้งที่ผู้สอนให้ผู้รียนเคลื่อนที่
เปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนกิจกรรมผู้เรียนจะเกิดอารมณ์ความรู้สึกอาจเป็นความพอใจ
ไม่พอใจ หรือเฉยๆ
การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสามารถใช้ได้กับการจัดการเรียนการสอนทุกวิชาเพียงแต่ธรรมชาติของเนื้อหาวิชาที่ต่างกันจะมีลักษณะที่เอื้ออำนวยให้ผู้สอนออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในจุดเด่นต่างกันคือ
1.รายวิชาที่มีเนื้อหามุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้กฎเกณฑ์และการนำเอากฎเกณฑ์ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ
เช่น วิชาคณิตศาสตร์
2.รายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้จากการค้นคว้าทดลองและการอภิปรายโดยใช้หลักเหตุผล
เช่น วิชาวิทยาศาสตร์
3.รายวิชาที่เปิดให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลที่หลากหลายเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคม
เช่น วิชาสังคมศึกษา
4.รายวิชาที่อาศัยการเคลื่อนไหวร่างการเป็นหลัก เช่น
วิชาพลศึกษาและการงานอาชีพ ผู้สอนควรใช้โอกาสดังกล่าวให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทำงาน
5.รายวิชาที่สงเสริมความคิดจินตนาการ
และการสร้างสุนทรียภาพ เช่นวิชาศิลปะและดนตรีนอกจากผู้เรียนมีโอกาสได้เคลื่อนไหวร่างกายแล้ว
ผู้เรียนยังได้สร้างความรู้ ความรู้สึกที่ดีผ่านกระบวนการทำงานที่ผู้สอนออกแบบไว้ให้
สรุปได้ว่าการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้
เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ที่มีลลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบดั้งเดิมทั่วไป
คือ
1.ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้บทบาทของผู้สอนคือผู้สนับสนุน
(Supporter) และเป็นแหล่งความรู้ (Resource Person) ของผู้เรียน
2.เนื้อหาววิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียนรู้
3.
การเรียนรู้จะประสบความสำเร็จหากผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
ผู้รียนจะได้รับความสนุกสนานจากการเรียนหากได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
4.สัมพันธภาพระหว่างผู้เรียน
การมีสัมพันธภาพในกลุ่มจะช่วยส่งเสริมความเจริญงอกงามการพัฒนาเป็นผู้ใหญ่
5.ผู้สอนคือผู้อำนวยความสะดวกและเป็นแหล่งความรู้ในการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้สอนจะต้องมีความสามารถที่จะค้นพบความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน
เป็นแหล่งความรู้ที่ทรงคุณค่าของผู้เรียน
6.ผู้เรียนมีโอกาสเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เยนเป็นสำคัญ
มุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างออกไป ผู้เรียนจะมีความมั่นใจในตนเองและควบคุมตนเองได้มากขึ้น
7.การศึกษาคือการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆด้านพร้อมกันไป
การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาผู้เรียนหลายด้าน
เช่นคุณลักษณะด้านความรู้ ความคิด การปฏิบัติและด้านอารมณ์ความรู้สึกจะได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆกัน
3.องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545
มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข
ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ด้านบริหารจัดการ
ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน มีรายละเอียด ดังนี้
3.1ด้านการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการนับว่าเป็นองค์ประกิบที่สนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญโดยเฉพาะการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยที่เน้นการพัฒนาทั้งระบบ
การพัฒนาทั้งระบบของมหาวิทยาลัย
หมายถึงการดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
คือคุณภาพของผู้เรียนตามวิสัยทัศน์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ดังนั้นตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงการพัฒนาทั้งระบบของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย
1.การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่มีจุดเน้นการคุณภาพบัณฑิตอย่างชัดเจน
2.การกำหนดแผนยุทธศาสตร์สอดคล้องกับเป้าหมาย
3.การกำหนดแผนการดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับเป้าหมายและเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์
4.การจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน
5.การจัดทำรายงานประจำปีเพื่อรายงานผู้ที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับแนวทางการประกันคุณภาพจากภายนอก
3.2การจัดการเรียนรู้
องค์ประกอบหลักที่แสดงการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมประกอบด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการเรียนรู้
บทบาทของผู้สอนและบทบาทของผู้เรียนจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นสำคัญจะทำได้สำเร็จเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนได้แก่
ผู้สอนและผู้เรียน มีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับความหมายของการเรียนรู้ ดังสาระที่
ทิศนา แขมณี (2547)ได้กล่าวไว้ดังนี้
1.การเรียนรู้เป็นงานเฉพาะบุคคลทำแทนกันไม่ได้
ผู้สอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง
2.การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่ต้องมีการใช้กระบวนการคิดสร้างความเข้าใจความหมายของสิ่งต่างๆ
ดังนั้นผู้สอนจึงควรกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิด ทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ
3.การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม
เฉพาะในเรื่องเดียวอาจคิดได้หลายมุมทำให้เกิดการขยาย เติมเต็มข้อความรู้
4.การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน
เป็นความรู้สึกเบิกบานเพราะหลุดพ้นจากความไม่รู้นำไปสู่ความใฝ่รู้
5.การเรียนรู้เป็นงานต่อเนื่องตลอดชีวิต
ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด ผู้สอนจึงควรสร้างกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ไม่รู้จบ
6.การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงเพราะได้รู้มากขึ้นทำให้เกิดการนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ
เป็นการพัฒนาไปสู่การเปลี่ยยนแปลงที่ดีขึ้น
จากความหมายของการเรียนรู้ที่กล่าวมา
ผู้สอนจึงต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
1.ความแตกต่างระหว่างบุคคลจองผู้เรียน
2.การเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
3.การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
4.การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ
ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย
5.ความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน
6.การท้าทายให้ผู้เรียนอยากรู้
7.ความตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
8.การสร้างบรรยากาศหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
9.การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
10.การมีจุดมุ่งหมายของการสอน
11.ความเข้าใจของผู้เรียน
12.ภูมิหลังของผู้เรียน
13.การไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น
14.การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัต
(Dynamic) กล่าวคือมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในด้านการจัดกิจกรรม
การสร้างบรรยากาศ รูปแบบเนื้อหาสาระเทคนิคและวิธีการ
15.การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวนักเรียนเกินไป
16.การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
3.3การเรียนรู้ของผู้เรียน
องค์ประกอบสุดท้ายที่สำคัญ
และนับว่าเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
คือองค์ประกอบด้านการเรียนรู้ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากเดิมที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นสำคัญ
ตัวบ่งชี้ที่บอกถึงลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนประกอบบด้วย
1.การเรียนรู้อย่างมีความสุข
2.การเรียนรู้จากการได้คิดและปฏิบัติจริง
3.การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและร่วมเรียนรู้กับบุคคลอื่น
4.การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือบูรณาการเป็นการเรียนรู้ที่ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆได้สัดส่วนกัน
5.การเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง
4.เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4.1เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หมายถึงการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้
โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ
โดยใช้กระบวนการต่างๆเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
และให้ผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น
คำถามคือผู้สอนจะมีวิธีการหรือเทคนิคจะทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆได้อย่างไร การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการยากที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ผู้สอนจึงต้องมีหน้าที่เตรียมจัดกิจกรรมต่างๆนำทางไปสู่การเรียนรู้
โดยไม่ใช้วิธีบอกความรู้โดยตรง ในขณะที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ
ผู้สอนควรสังเกตการณ์อยู่ด้วยเพื่ออำนวยความสะดวกนำข้อมูลนั้นมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไป
4.2เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับคนอื่น
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้สอนอีกประการหนึ่ง
คือ ผู้สอนเข้าใจว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบนี้ต้องจัดโต๊ะเก้าอี้ให้ผู้เรียนได้นั่งร่วมกลุ่มกัน
โดยไม่เข้าใจว่าการนั่งรวมกลุ่มนั้นทำเพื่ออะไร
การจัดให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันผู้สอนจะต้องกำกับดูแลให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนมีบทบาทในการทำงาน
ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่ผู้สอนควรศึกษาเป็นแนวทางนำไปใช้เป็นเทคนิคในการจัดกิจกรรม
คือ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน (Cooperative Learning)
4.3เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้นี้ ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในลักษณะต่างๆ
และเปิดโอกาสให้มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความสามารถเฉพาะที่ผู้เรียนแต่ละคนมีแตกต่างกัน
นอกจากการใช้เทคนิคการออกคำสั่งให้ผู้เรียนแสดงการทำงานในลักษณะต่างๆแล้ว
ผู้สอนอาจใช้วิธีสอนบางวิธีที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความรู้ในสถานการณ์อื่นๆ
เช่น วิธีสอนโดยให้จัดนิทรรศการและการสอนโดยใช้โครงงาน
โดยผู้สอนเป็นผู้กำกับควบคุมให้ผู้เรียนทุกคนได้ร่วมกันวางแผน ดำเนินการตามแผน
และร่วมกันสรุปผลงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย จึงสามารถกล่าวขยายความได้ว่า
การเรียนรู้ผ่านการให้จัดนิทรรศการและการสอนโดยใช้โครงงานซึ่งสามารถทำอย่างต่อเนื่องกันได้
โดยมีประเด็น ดังนี้
1.ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตนเองสนใจ
2.ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือหาคำตอบด้วยตนเองโดยการคิดและปฏิบัติจริง
3.วิธีการหาคำตอบมีความหลากหลายจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
4.นำข้อมูลหรือข้อความรู้จากการศึกษามาสรุปเป็นคำตอบหรือข้อค้นพบของตนเอง
5.มีระยะเวลาในการศึกษาหรือแสวงหาคำตอบพอสมควร
6.คำตอบหรือข้อค้นพบเชื่อมโยต่อการพัฒนาความรู้ต่อไป
7.ผู้เรียนมีโอกาสเลือกวางแผน
และจัดการนำเสนอคำตอบของปัญหาหรือผลของการค้นพบด้วยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตนเอง
นอกจากแนวคิดการใช้วิธีการสอนโครงงานและการจัดนิทรรศการแล้วยังมีแนวคิดเรื่องการบูรณาการการที่ผู้สอนจะสามารถนำไปใช้เป็นเทคนิคในการจัดกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนนำข้อมูลหลากหลายที่เกิดจากการเรียนรู้ไปสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
5.ประเภทของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมี
2 ประเภทใหญ่ คือ การสอนแบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลัก
และการสอนแบบเน้นสื่อ
5.1การสอนแบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลัก การสอนแบบนี้ได้แก่
1.การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก
(Problem Base Learning)
เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการเรียนรู้
ผู้เรียนจะต้องคิดวิเคราะห์ปัญหา ตั้งสมมุติฐานอันเป็นที่มาของปัญหาและหาทางทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้
(เรียนจะต้องมีความรู้พื้นฐานที่จะเรียนรู้เนื้อหาต่างๆมาก่อน
เพื่อจะสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ โดยผู้เรียนจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ทำความเข้าใจกับศัพท์บางคำ หรือแนวคิดบางอย่างในสถานการณ์นั้นๆ
2. ระบุประเด็นปัญหาจากสถานการณ์
3. วิเคราะห์ประเด็นปัญหา
4. ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ
5. ทดสอบสมมุติฐานและจัดลำดับความสำคัญ
6.
กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
7. รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร
และความรู้จากแหล่งต่างๆ ด้วยตนเอง
8. สังเคราะห์ข้อมูลใหม่ที่ได้ พร้อมทั้งทดสอบ
9.
สรุปผลการเรียนรู้และหลักการที่ได้จากการศึกษาปัญหา
กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก มีลักษณะที่สำคัญ คือ ผู้เรียนจะ ได้เรียนด้วยกันเป็นกลุ่มๆ ประมาณ 6
– 8 คน มีการอภิปรายและค้นคว้าหาความรู้ด้วยกัน
มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เนื้อหาสาระที่กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้นั้น จะเป็นเนื้อหาที่เกิดจากการบูรณาการเนื้อหาต่าง
ๆเข้าด้วยกัน ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาที่กำหนดนั้นอย่างชัดเจน
2.การสอนแบบนิรมิตวิทยา(Constructivism)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ของตนเองโดยมีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นกับความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ของผู้เรียนอาจได้จากการดำเนินกิจกรรมการสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษา
ค้นคว้า ทดลองระดมสมอง ศึกษาในความรู้ ฯลฯ
การตรวจสอบองค์ความรู้ใหม่ทำให้ได้ทั้งการตรวจสอบกันเอง ในระหว่างกลุ่มผู้เรียน
ครูจะเป็นผู้ที่ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้ใหม่ให้ถูกต้อง
ลำดับขั้นตอนการสอนตามแนวความคิด Constructivism รายละเอียดของการดำเนินการสอนตามรูปแบบมีดังนี้
1. ครูบอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียน
2.
ครูให้ผู้เรียนระดมพลังสมองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
3.
ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
4. ครูให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นมาใช้ในสถานการณ์ที่ครูกำหนดให้
5.
ครูให้ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนครั้งนี้
3.การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด (Concept Attainment)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนทราบถึงคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
โดยสามารถระบุลักษณะเด่น ลักษณะรองของสิ่งนั้น ๆได้
สามารถนำความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้ ขั้นตอนการสอนมีดังนี้
1. ครูจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
โดยการนำเสนอเหตุการณ์รายละเอียดของสิ่งนั้น
2. ครูให้ผู้เรียนระบุลักษณะเด่น
ลักษณะรองของสิ่งที่ได้สังเกตและให้ผู้เรียนหาลักษณะที่เหมือนกัน
ลักษณะที่แตกต่างกัน
3.
ครูให้ผู้เรียนสรุปลักษณะสำคัญที่สังเกตได้พร้อมให้ชื่อของสิ่งนั้น
4.
ครูตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนและความเป็นไปได้
ความเหมาะสมของชื่อความคิดรวบยอดนั้น
5.
ครูกำหนดสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนได้นำความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้นไปใช้
4.การสอนแบบร่วมมือประสานใจ (Co-Operative Learning)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนร่วมมือกันทำงาน
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และประสานงานกัน
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียน
ลักษณะของการจัดการเรียนการสอน
1. จัดชั้นเรียนโดยการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก
ๆประมาณ ๒-๖ คน
โดยจัดคละกันตามความสามารถทางการเรียนมีทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อน
2.
ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและรับผิดชอบการเรียนรู้ของเพื่อน
ๆภายในกลุ่มของตนเองด้วย
3. สมาชิกทุกคนในกลุ่ม จะต้องร่วมมือในการทำงานอย่างเต็มความสามารถ
โดยสนับสนุนยอมรับ
และไว้วางใจซึ่งกันและกัน เพื่อให้สมาชิกทุกคนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด
5.การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
(Critical Thinking)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการใช้ความคิด
พิจารณาตัดสินเรื่องราวปัญหาข้อสงสัยต่าง ๆอย่างรอบคอบ และมีเหตุผล
ครูจะเป็นผู้นำเสนอปัญหาและดูแลให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมของผู้เรียน
กิจกรรมการสอนจะเริ่มจากปัญหาที่สอดคล้องกับวุฒิภาวะและประสบการณ์ของผู้เรียน ซึ่งยั่วยุผู้เรียนให้อยากศึกษา
ผู้เรียนจะรู้สึกว่าไม่มีคำตอบหรือคำตอบมีแต่ไม่เพียงพอ
ผู้เรียนต้องมีการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ
และใช้กระบวนการคิดอย่างหลากหลายรวมทั้งวิเคราะห์ไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล
และเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การตัดสินเพื่อเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดกับปัญหาที่นำมาใช้ในบทเรียนขั้นตอนการสอนมีดังนี้
1.
ครูนำเสนอปัญหาซึ่งเป็นคำถามที่เร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิด
ผู้เรียนตอบคำถามของครูโดยให้คำตอบที่หลากหลาย
2.
ครูให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดโดยการอภิปรายร่วมกัน หรือให้ค้นคว้าจากแหล่งความรู้เท่าที่มีอยู่
3.
ครูให้ผู้เรียนช่วยกันคัดเลือกคำตอบที่ตรงกับประเด็นปัญหา
4. ครูให้ผู้เรียนสรุปคำตอบที่เด่นชัดที่สุด
การเรียนการสอนแบบเน้นสื่อ
เป็นประเภทของการสอนในลักษณะใช้สื่อเป็นหลัก
เช่น การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป การสอนแบบศูนย์การเรียน การสอนโดยใช้โปรแกรม CAI เป็นต้น
6.การวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การประเมินผลเป็นกระบวนการสำคัญที่มีส่วนเสริมสร้างความสำเร็จให้กับผู้เรียน
และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน
การประเมินผลจำเป็นต้องมีลักษณะที่สอดคล้องกันแต่ในการจัดการศึกษาที่ผ่านมากลับมีเหตุการณ์ที่ทำให้ดูเหมือนการสอนกับการประเมินผลเป็นคนละส่วน
แยกจากกัน การประเมินผลน่าจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้สอนได้ข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน
แต่กลับกลายเป็นเครื่องมือตัดสินหรือตีตราความโง่ความฉลาด
สร้างความกดดันและเป็นทุกข์ให้กับผู้เรียน
ความสำเร็จหรือล้มเหลวของการเรียนรู้ถูกตัดสินในครั้งสุดท้ายของกระบวนการเรียนการสอน
โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับผลงานความสำเร็จหรือพัฒนาการที่มีขึ้นในระหว่างกระบวนการเรียนรู้
และนอกเหนือจากนั้น
กระบวนการที่ใช้วัดและประเมินผลการเรียนรู้ในบางครั้งก็ไม่ได้กระทำอย่างสอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการวัดจริงเพราะผู้สอนมักจะเคยชินกับการใช้เครื่องมือวัดเพียงอย่างเดียว
คือ การใช้แบบทดสอบ
ซึ่งมีข้อจำกัดในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทางด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัยดังนั้น
เมื่อมีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแล้วก็มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปกระบวนการวัดและประเมินผลใหม่ด้วยให้สอดคล้องกัน
ซึ่งผู้รู้ในวงการศึกษาได้ยอมรับกันว่า
แนวคิดในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เหมาะสม คือ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริง
6.1 การวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง
การวัดและประเมินผลเป็นส่วนสำคัญของการจัดการเรียนการสอน
ดังนั้นเมื่อการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2545 มุ่งให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ
การวัดและประเมินผลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
และประเมินผลตามสภาพจริงด้วยประเมินตามสภาพจริงของผู้เรียน มีลักษณะสำคัญดังนี้
1) เน้นการประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ซึ่งสามารถทำได้ตลอดเวลา ทุกสภาพการณ์
2)
เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริงๆ
3) เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
4) ใช้ข้อมูลที่หลากหลาย
ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการประเมินตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
5) เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ความสามารถหลาย
ๆ ด้าน
6) การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
7) เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียนผู้ปกครองและผู้สอน
6. 2 วิธีการและเครื่องมือการวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
เป็นการประเมินการแสดงออกของผู้เรียนรอบด้านตลอดเวลา ใช้ข้อมูลและวิธีการหลากหลาย
ด้วยวิธีการและเครื่องมือ ดังนี้
1) ศึกษาวัตถุประสงค์ของการประเมิน
เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนรอบด้าน
ดังนั้น จึงใช้วิธีการที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ เช่น การสังเกต
สัมภาษณ์ การตรวจผลงานการทดสอบบันทึกจากผู้เกี่ยวข้อง การรายงานตนเองของผู้เรียน
แฟ้มสะสมงานเป็นต้น
2) กำหนดเครื่องมือในการประเมิน
เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน
ให้เป็นการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงแล้ว
ในการกำหนดเครื่องมือจึงเป็นเครื่องมือที่หลากหลาย เป็นต้นว่า
(2.1) การบันทึกข้อมูล
จากการศึกษา ผลงาน โครงงาน หนังสือที่ผู้เรียนผลิต แบบบันทึกต่างๆ ได้แก่
แบบบันทึกความรู้สึก บันทึกความคิด บันทึกของผู้เกี่ยวข้อง (นักศึกษาเพื่อนอาจารย์
ผู้ปกครอง) หลักฐานร่องรอยหรือผลงานจากการร่วมกิจกรรม เป็นต้น
(2.2) แบบสังเกต
เป็นการสังเกตพฤติกรรม การร่วมกิจกรรมในสถานการณ์ต่างๆ
(2.3) แบบสัมภาษณ์
เป็นการสัมภาษณ์ความรู้สึก ความคิดเห็นทั้งตัวผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง
(2.4) แฟ้มสะสมงาน
เป็นสื่อที่รวบรวมผลงานหรือตัวอย่างหรือหลักฐานที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ ความสามารถ
ความพยายาม หรือความถนัดของบุคคลหรือประเด็นสำคัญที่ต้องเก็บไว้อย่างเป็นระบบ
(2.5) แบบทดสอบ
เป็นเครื่องมือวัดความรู้
ความเข้าใจที่ยังคงมีความสำคัญต่อการประเมินสำหรับผู้ประเมิน ประกอบด้วย
ผู้เรียนประเมินตนเองผู้สอน เพื่อนกลุ่มเพื่อน
ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องกับนักศึกษา
6.3
การนำแนวคิดการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การนำแนวคิดการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1) ก่อนนำไปใช้
ผู้สอนต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการประเมินตามสภาพจริง ที่สำคัญที่สุด คือ
การศึกษาด้วยตนเองและลงมือปฏิบัติจริง พัฒนาความรู้จากการลงมือปฏิบัติ
2) การแนะนำให้ผู้เรียนจัดทำแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงานของผู้เรียนนอกจากจะแสดงพัฒนาการของผู้เรียนแล้ว
ยังเป็นการสะท้อนการสอนของผู้สอน เพื่อจะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
2.1) หลักการเบื้องต้นของการจัดทำแฟ้มสะสมงาน
มีดังนี้
(1) รวบรวมผลงานที่แสดงถึงพัฒนาการด้านต่างๆ
(2) รวบรวมผลงานที่แสดงลักษณะเฉพาะของผู้เรียน
(3) ดำเนินการควบคู่กับการเรียนการสอน
(4) เก็บหลักฐานที่เป็นตัวอย่างที่แสดงความสามารถในด้านกระบวนการและผลผลิต
(5) มุ่งเน้นในสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้
2.2) ความสำคัญของแฟ้มสะสมงาน คือ
การรวบรวมข้อมูลของเรียน
ทำให้ผู้สอนได้ข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคล
และนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาใช้ปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนได้เต็มศักยภาพของตนเอง
อ้างอิง
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม
: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น