การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ สอนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิจิตรา ธงพานิช ผู้จัดทำ นางสาวสุทธิดา เชีียรรัมย์

วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561

แนวคิดการออกแบบการเรียนการสอน



แนวคิดการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบคืออะไร?
 การออกแบบเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ประสบการณ์ความรู้ และทักษะอย่างกว้างขวาง เพื่อที่จะแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดภายในข้อจำกัดที่มีอยู่ การออกแบบเกี่ยวข้องกับการระบุปัญหาและทำปัญหาให้กระจ่างประกอบไปด้วยการตอบสนองที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ตลอดจนการทดสอบแก้ไขปัญหานั้นและปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหาแล้วเริ่มต้นออกแบบใหม่อีก
ทำไมต้องเปลี่ยนแปลงการออกแบบ (why design change) มีเหตุผลหากหลายว่าทำจึงต้องเปลี่ยนแปลงการออกแบบ เหตุผลหนึ่งคือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของสังคม เช่น ความต้องการในเรื่องของรถยนต์ ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนเป็นชอบรถเก๋งที่มีขนาดเล็กลงสิ่งเหล่านี้ทำให้ต้องออกแบบเพื่อสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ
การออกแบบโดยทั่วไปที่ประสบความสำเร็จต้องพิจารณาปัจจัยหลากหลาย อย่างเช่นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ขนาด ราคา สิ่งที่ปรากฏมา และความปลอดภัย (Dunn,1991) เป็นต้น
การออกแบบจึงเป็นการถ่ายทอดจากรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ การออกแบบต้องใช้ศาสตร์แห่งความคิดและศิลป์ร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือปรับปรุงพัฒนาสิ่งเดิมให้ดีขึ้น
ส่วนการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design) เป็นกระบวนการของการป้องกันด้วยการวางแผนแก้ไขปัญหาก่อนการเรียนการสอน โดยการวิเคราะห์สถานการณ์หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
การออกแบบการเรียนการสอนตามวิธีการเชิงความรู้ ผู้เรียนจะได้รับการคาดหวังว่าจามารถบอกหลักการของการออกแบบการเรียนการสอนได้ ส่วนวิธีการออกแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภัณฑ์นั้นผู้เรียนจะได้รับความคาดหวังได้ว่าจะสามารถประยุกต์ใช้หลักการในการออกแบบวัสดุการเรียนการสอน (Instructional materials) ได้
การออกแบบการเรียนการสอน(Instructional design : ID) พัฒนาตามวิธีการเชิงระบบในการพัฒนาการฝึกอบรมของกองทหารระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีพื้นฐานแนวคิดว่าการเรียนรู้จะไม่เกิดตามบุญตามกรรมแต่จะพัฒนากลมกลืนไปกับการเรียงลำดับของกระบวนการและการวัดผลที่ได้รับด้วย
  ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอน จึงเป็นกระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ โดยมีการวิเคราะห์องค์ประกอบการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน สื่อกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมถึงการประเมินผล เพื่อให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  การออกแบบการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้สอนวางแผนการสอนอย่างมีระบบ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย และประสบความสำเร็จผู้สอนต้องพิจารณาหลักการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ
            1. การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนนี้เพื่อใคร ใครเป็นผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมาย ผู้ออกแบบควรมีความเข้าใจและรู้จักลักษณะของกลุ่มผู้เรียนที่เป็นเป้าหมายในการเรียนอีเลิร์นนิง
            2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนอะไร มีความรู้ความเข้าใจ และ/หรือ มีความสามารถอะไร ผู้สอนจึงต้องกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนให้ชัดเจน
            3. ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชานั้น ๆ ได้ดีที่สุดอย่างไร ควรใช้วิธีการและกิจกรรมการเรียนรู้อะไรที่จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ และมีสิ่งใดที่ต้องคำนึงถึงบ้าง
            4. เมื่อผู้เรียนเข้าสู่กระบวนการเรียน จะทราบได้อย่างไรว่าผู้เรียนมีการเรียนรู้เกิดขึ้น และประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ จะใช้วิธีใดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

            สรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน ควรมีการวางแผนเพื่อพิจารณาว่าผู้เรียนเป็นใคร มีคุณลักษณะพื้นฐานอย่างไร กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนครั้งนั้นอย่างไร จะใช้วิธีการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ และวิธีการประเมินผลการเรียนอะไรบ้าง จึงจะสามารถทำให้การสอนนั้นบรรลุเป้าหมาย คือ ภายหลังเรียนแล้วรู้ เข้าใจ จดจำ นำไปใช้ ทำได้ สร้างสรรค์ สิ่งใหม่ได้เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่ควรพิจารณาในการออกแบบการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เรียน วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ จุดมุ่งหมาย และการประเมิน
สิ่งที่ควรพิจารณาในการออกแบบการเรียนการสอน


ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน
ดิคและคาเรย์(Dick & Carey, 1985, p. 5)  กล่าวว่าความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ ความจำเป็นเร่งด่วนทันทีทันใด
งานของผู้ออกแบบการเรียนการสอน คือ นำจุดประสงค์และการเรียงลำดับของจุดประสงค์ไปสู่กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจที่คุณภาพของการเรียนการสอน วิธีการในลักษณะนี้จะแล้วเสร็จด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการเชิงระบบ และใช้การวิจัย และความรู้ทางทฤษฎีจากการออกแบบการเรียนการสอนและจากวิชาสาขาอื่นๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ จิตวิทยา และศิลปะ(Vandergift,1983) ดังนั้นข้อสันนิษฐานของกาเย่ บริกส์และเวเกอร์(Gange Briggs and Wager,1992 : 4-5) ที่มีผลต่อการเรียนการสอนว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่เชื่อว่ามีความเป็นไปได้และมีคุณค่าโดยมีการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องดังนี้คือ
1.      มีจุดหมายที่ช่วยการเรียนรู้ของปัจเจกบุคคล
2.      เป็นแผนระยะสั้นและระยะยาวที่จะให้ผลในการพัฒนามนุษย์
3.      ควรดำเนินการด้วยวิธีการเชิงระบบที่สามารถให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนามนุษย์
4.      ตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้ว่ามนุษย์มีการเรียนรู้ได้อย่างไร
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่าความต้องการจำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอนคือการแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลายเพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาปัจเจกบุคคล และมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร


อ้างอิง  ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น