👉โฉมหน้าการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน
มุ่งไปสู่การให้ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้ซึ่งการเรียนรู้มิใช่เป็นเพียงการเรียนรู้เพื่อรู้เท่านั้น
แต่เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ เรียนเพื่อรู้จักตนเอง เรียนเพื่อให้รู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น
เรียนเพื่อความเจริญงอกงามทั้งร่างกายและจิตใจ
เรียนรู้เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่างๆได้
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ซึ่งถือว่าเป็นแกนหลักหอการปฏิรูป และเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาดังที่ประเวศ
วะสี (2541, หน้า 68)
กล่าวว่า
การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาเพราะเป็นการปฏิรูปแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา
จากเดิมที่การมองคนเป็นวัตถุที่ต้องหล่อหลอมตกแต่ง
โดยการสั่งสอนอบรมไม่เป็นการมงคลในฐานะคนเป็นผู้มีศักยภาพในการเรียนรู้และงอกงามอย่างหลากหลาย
👉สำหรับประเทศไทยได้จัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษามาระยะหนึ่ง
โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ. ศ. 2545 เป็นแม่บทหรือหรือเทศทาง
และนำลงสู่การปฏิบัติด้วยการกำหนดเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้อง
และสำคัญหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
และพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับสถานศึกษาแต่ละแห่งตามความเหมาะสมจากผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษานี้
พบว่า บางพื้นที่ยังมีปัญหาอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่นผลการวิจัยของสำราญ ตติชรา (2547,
หน้า1) การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองตรา
พบว่า การจัดการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา
ขอครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองตราดยังมีปัญหาอยู่หลายประเด็นตามลำดับ
คือ การประชาสัมพันธ์การสอน
การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์
การจัดสภาพแวดล้อมทางการสอน
การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนด้านประเมินผลตามสภาพจริงการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญการทำวิจัยในชั้นเรียน
การให้ผู้เรียนค้นคว้าด้วยตนเองและเมื่อ
เปรียบเทียบปัญหาต่างๆในการจัดการเรียนรู้ปรากฏว่าผลของปัญหาไม่แตกต่างกัน
ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษาจำเป็นจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานเรื่องนี้อย่างถ่องแท้จนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น