การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ สอนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิจิตรา ธงพานิช ผู้จัดทำ นางสาวสุทธิดา เชีียรรัมย์

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้




การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการวางแผนการจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียนไว้ล่วงหน้า เสมือนแผนที่ในการเดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ผู้สอนจะต้องวางแผนการจัดกิจกรรมจะต้องมีความเข้าใจถึงหลักสูตรรายวิชา ธรรมชาติของรายวิชา ทักษะเฉพาะรายวิชาที่ผู้สอนจะต้องสอดแทรกเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระการเรียนรู้ที่ครูจะต้องสอนแล้วโดยทั่วไปส่วนใหญ่ผู้สอนมักจะเน้นเพียงแค่สาระการเรียนรู้พยายามเร่งสอนเพื่อให้สุกตามเป้าหมายของระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน โดยยังไม่คำนึงถึงผู้เรียนว่ากิจกรรมที่จัดให้กับผู้เรียนมีความเหมาะสมเพียงใด ผู้เรียนบรรลุและสามารถปฏิบัติสิ่งที่คุณตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่เราถ่ายทอดมากน้อยเพียงใด ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจในการจัดหน่วยการเรียนรู้จากนั้นจึงนำหน่วยการเรียนรู้มาวิเคราะห์เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ย่อยๆได้ตามขั้นตอนดังนี้
จากขั้นตอนดังกล่าวจะเห็นขั้นตอนการได้มาซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้ว่าจะต้องจัดทำหน่วยการเรียนรู้ให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจึงทำการวางแผนวิเคราะห์การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ซึ่งขั้นตอนในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้มีขั้นตอนดังนี้


จากขั้นตอนดังกล่าวจะเห็นขั้นตอนการได้มาซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้ว่ามีขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มีรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนดังนี้

    ขั้นที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบหรือรูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้
           ก่อนที่จะทำการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนควรเลือกใช้รูปแบบการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับองค์กร และหน่วยงานที่ปฏิบัติ กระทรวงศึกษาธิการได้แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้เสนอรูปแบบองค์ประกอบของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ไว้ดังนี้

รูปแบบการเขียนแผน
แบบที่ 1 การเรียนรู้เฉพาะสาระ
แบบที่ 2 บูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้
แบบที่ 3 บูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้
แบบที่ 4 การเรียนรู้แบบย้อนกลับ
1. ชื่อเรื่อง
/
/
/
/
2. ความเข้าใจที่คงทน
-
-
-
/
3. มาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด
/
/
/
/
4. ความคิดรวบยอด
/
/
/
/
5. สาระการเรียนรู้
/
/
/
/
6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
/
/
/
/
7. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
/
/
/
/
8 .ชิ้นงานภาระงาน
/
/
/
/
9. หลักฐานการเรียนรู้
-
-
-
/
10. การวัดการประเมินผล
/
/
/
-
11. กิจกรรมการเรียนรู้
การนำเข้าสู่บทเรียน
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
กิจกรรมความคิดรวบยอด

/

/

/

/
12. สื่อแหล่งเรียนรู้
/
/
/
/
13. เกณฑ์การประเมิน
/
/
/
/


จากแนวทางการนำเสนอของกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอแนะให้มีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมในการสถานที่ศึกษาจะเลือกใช้กับบริบทของสถานศึกษาดังตัวอย่างการเขียนแผนแบบย้อนกลับดังนี้


แบบการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ
โรงเรียน…………………………………………
รหัสวิชา.................................. รายวิชา....................... กลุ่มสาระการเรียนรู้………………………..
หน่วยที่........................... ชื่อหน่วยการเรียนรู้........................... จำนวน.............................. ชั่วโมง
เรื่อง........................................................................................ จำนวน.............................. ชั่วโมง
ชื่อผู้สอน.................................................................... วันที่...................... เดือน............ พ.ศ.........
1.ความรู้ที่คงทน............................................................................................................................
2. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชีวัด
    มาตรฐาน..................................................................................................................................
    ตัวชี้วัด......................................................................................................................................
3. สาระสำคัญ...............................................................................................................................
4. สมรรถนะที่สำคัญ......................................................................................................................
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์..........................................................................................................
6. วัตถุประสงค์...............................................................................................................................
7. สาระการเรียนรู้
    ความรู้.......................................................................................................................................
    ทักษะ........................................................................................................................................
     คุณลักษณะ...............................................................................................................................
8. ชิ้นงาน/ภาระงาน
9. กิจกรรมการเรียนรู้
    กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction Activities)
    กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ (Enabling Activities)
    กิจกรรมความคิดรวบยอด (Concept Activities)
10. สื่อ/แหล่งเรียนรู้
11. บันทึกหลังสอน

เมื่อผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้แล้วนั้นผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำนิยามหรือความหมายของแต่ละหัวข้อในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามความหมายดังนี้

1. ความเข้าใจที่คงทน หมายถึง ความรู้ความเข้าใจที่ต้องการให้นักเรียนจำฝังใจ หรือมีความเข้าใจในเรื่องที่สอนไปอย่างยาวนาน เช่น สอนเรื่องสิ่งแวดล้อมในเขื่อนศรีนครินทร์ ความรู้ที่คงทน คือการรู้ประโยชน์ของป่าที่เขื่อนศรีนครินทร์

2. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หมายถึง มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ได้ทำการวิเคราะห์มาจากโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้นำเลือกมาใช้ในแผนการจัดการเรียนรู้ให้ตรงกับสาระการเรียนรู้ที่สอน

3. สาระสำคัญ หมายถึง ความคิดรวบยอดของเนื้อหาสาระที่จะทำการจัดการเรียนรู้ในเรื่องเรื่องหนึ่งโดยสรุปได้สอดคล้องกับชื่อเรื่องและตัวชี้วัดที่จะนำมาจัดการเรียนรู้นักเรียน

4. วัตถุประสงค์ หมายถึง เป้าหมายนำทางที่ตั้งไว้ในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้ไปถึงคุณภาพของมาตรฐานและตัวชี้วัดในการเรียนรู้เรื่องนั้นๆ โดยจะต้องสอดคล้องกับภาระงานและชิ้นงาน

5. สาระการเรียนรู้ หมายถึง สาระเนื้อหาวิชาที่ทำการสอนที่ได้จากการวิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัด ที่จะแตกออกเป็น ความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะ

6. สมรรถนะที่สำคัญ หมายถึง ที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ 5 สมรรถนะให้เลือกมาใช้ให้เหมาะสมกับตัวชี้วัดที่จะทำการพัฒนาผู้เรียนในเรื่องที่ทำการจัดการเรียนรู้

7. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง คุณลักษณะ 8 ประการที่กระทรวงกำหนดให้ครูจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสอดคล้องกับเรื่องที่จะทำการจัดการเรียนรู้

8. ชิ้นงาน/ภาระงาน หมายถึง ภาระ/ชิ้นงานที่มอบให้กับผู้เรียนที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวชี้วัด

9. กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนตามเนื้อหาสาระ และกระบวนการพัฒนาผู้เรียน โดยเลือกกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสมของเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และทักษะกระบวนการที่จะจัดส่งถึงให้ผู้เรียน
9.1 กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction Activities) หมายถึง ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนเป็นการกระตุ้นเร้าความสนใจของผู้เรียนที่อยากจะเรียนรู้อาจจะเริ่มด้วยเพลง เกม การเล่าเรื่องในท้องถิ่น การพาไปดูสถานที่จริง การดูวีดีทัศน์ การเล่านิทานฯลฯ
9.2 กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้(Enabling Activities) เป็นขั้นที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนตามเนื้อหาสาระอย่างเป็นกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการ เทคนิค วิธีการที่เหมาะสมในสาระการเรียนรู้ต่างๆ
9.3 กิจกรรมความคิดรวบยอด (Concept Activities) หมายถึง กิจกรรมที่ส่งท้ายให้กับผู้เรียนได้แสดงถึงความรู้ ความเข้าใจในการเรียนเนื้อหาที่ผ่านมา และเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อยากเห็นภาพรวมของเนื้อหาที่เรียนมา อาทิเช่น การเขียนแผนผังมโนทัศน์ การเล่นบทบาทสมมุติ การแสดงละคร การเขียนบรรยาย เกมสรุปความคิด เกมคําถาม ฯลฯ ซึ่งเป็นบทสรุปการเรียนรู้ในเรื่องที่สอนก่อนจบเรื่องในบทเรียนนั้น

10. สื่อ/แหล่งเรียนรู้ หมายถึง สื่ออุปกรณ์ วัสดุ แหล่งเรียนรู้ เป็นสื่อกลางที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจมากยิ่งขึ้นในเนื้อหาวิชาที่ทำการจัดการเรียนรู้ นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ ได้เรียนรู้จริง ได้เห็นจริง และเข้าใจในสิ่งที่ครูถ่ายทอดมากยิ่งขึ้น

11. บันทึกหลังสอน หมายถึง การบันทึกข้อมูลหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบรรยายที่เกิดขึ้นของผู้เรียนตามขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง แก้ไขอย่างไร และปรับกิจกรรมการสอนอย่างไร ถ้าพบเป็นการบันทึกหลังจากการใช้แผนการจัดกิจกรรมที่วางไว้และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะ และกระบวนการ

ขั้นที่ 2 วิเคราะห์สาระหน่วยการเรียนรู้และตัวชี้วัด
ก่อนที่จะทำการเขียนแผนการสอนนั้นผู้สอนจะต้องทําการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ในหน่วยนั้นเป็นแผนผังมโนทัศน์ หรือประเด็นตามความเหมาะสม แล้วนำการวิเคราะห์มาสรุปสาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด /จุดประสงค์/ ผลการเรียนรู้ลงตารางจำแนกการจัดกิจกรรมรายชั่วโมงเนื่องจากหน่วยการเรียนรู้เป็นหน่วยที่มีจำนวนรายชั่วโมงมาก และแต่ละหน่วยก็จะมีเนื้อหาสาระที่เป็นจำนวนมากจะทำให้ผู้สอนเกิดการผิดพลาดในเรื่องของสาระการเรียนรู้ที่จะสอนผู้เรียน การวัดผู้เรียนไม่ครอบคลุมตัวชี้วัด /จุดประสงค์ /ผลการเรียนรู้ที่ตั้งไว้ อีกทั้งกระบวนการจัดกิจกรรมไม่สัมพันธ์กับเวลาที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน จึงทำให้ผู้สอนไม่รู้จะสอนแล้วครบตามสาระการเรียนรู้หรือไม่ และหาทางออกโดยการสอนตามแบบเรียนทั่วไป ผู้สอนซึ่งความนำหน่วยมาวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ย่อยดังนี้


รหัสวิชา ว 11101 รายวิชาวิทยาศาสตร์ 1
รายวิชาพื้นฐาน                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1                                                                      จำนวน 80 ชั่วโมง

หน่วยที่
ชื่อหน่วย
มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด
จำนวนชั่วโมง
จำนวนคะแนน
1
สุขภาพดีไม่มีขาย หนูอยากได้ต้องดูแลเอง
-ลักษณะหน้าที่อวัยวะภายนอกของมนุษย์
- ความสำคัญของอวัยวะภายนอกของมนุษย์
-การดูแลรักษาอวัยวะภายนอกของมนุษย์
-การป้องกันและการดูแลรักษาอวัยวะภายนอก
-การสังเกตความสมบูรณ์ของอวัยวะภายนอกของมนุษย์
ว. 1.1 ปอ 1/3 สังเกตและอธิบายลักษณะหน้าที่ และความสำคัญของอวัยวะภายนอกของมนุษย์ตลอดจนการดูแลรักษา
ว. 8.1 ปอ 1/1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา ตามที่กำหนดหมายหรือตามความสนใจ
ว. 8.1 ป.1/6 บันทึกและอธิบายผลการสังเกต สำรวจ ตรวจสอบโดยเขียนภาพหรือข้อความสั้นๆ
5
20




























จากการเรียนรู้หน่วยที่ 1 สุขภาพดีไม่มีขาย หนูอยากได้ต้องดูแลเอง มีเวลาสอนในหน่วยนี้จำนวน 5 ชั่วโมง ซึ่งครูผู้สอนจะต้องนำมาวิเคราะห์ย่อยออกมาเป็นรายชั่วโมงโดยเป็น ผังมโนทัศน์ในสาระการเรียนรู้ทำการวิเคราะห์จากนั้นนำผลการวิเคราะห์ลงในตารางได้ดังนี้


                                  รหัสวิชา ว 11101 รายวิชาวิทยาศาสตร์ 1

รายวิชาพื้นฐาน                                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 

หน่วยที่ 1            ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สุขภาพดีไม่มีขาย หนูอยากได้ต้องดูแลเอง       จำนวน 5 ชั่วโมง
            ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1                                                                                          จำนวน 80 ชั่วโมง
            ชื่อผู้สอน……………………………….                            วันที่...................... เดือน............ พ.ศ.........


เรื่อง
สาระ
ตัวชี้วัด
จำนวนชั่วโมง
จำนวนคะแนน
1
-ลักษณะหน้าที่อวัยวะภายนอกของมนุษย์
ว. 1.1 ปอ 1/3 สังเกตและอธิบายลักษณะหน้าที่ และความสำคัญของอวัยวะภายนอกของมนุษย์ตลอดจนการดูแลรักษา
1
4
2
- ความสำคัญของอวัยวะภายนอกของมนุษย์
ว. 1.1 ปอ 1/3 สังเกตและอธิบายลักษณะหน้าที่ และความสำคัญของอวัยวะภายนอกของมนุษย์ตลอดจนการดูแลรักษา
1
4
3
-การดูแลรักษาอวัยวะภายนอกของมนุษย์
ว. 1.1 ปอ 1/3 สังเกตและอธิบายลักษณะหน้าที่ และความสำคัญของอวัยวะภายนอกของมนุษย์ตลอดจนการดูแลรักษา
1
4
4
-การป้องกันและการดูแลรักษาอวัยวะภายนอก
ว. 8.1 ปอ 1/1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา ตามที่กำหนดหมายหรือตามความสนใจ
1
4
5
-การสังเกตความสมบูรณ์ของอวัยวะภายนอกของมนุษย์
ว. 8.1 ป.1/6 บันทึกและอธิบายผลการสังเกต สำรวจ ตรวจสอบโดยเขียนภาพหรือข้อความสั้นๆ
1
4
รวม
5
20






































ในบางครั้งผู้สอนอาจจะวิเคราะห์ตัวชี้วัด เพิ่มช่องจุดประสงค์ผลการเรียนรู้เพิ่มเติม ได้ เพื่อใช้ในการประเมินผลผู้เรียน เสมือนเป็นจุดประสงค์นำทางให้ผู้เรียนได้บรรลุตัวชี้วัด ได้อีก ก็สามารถจะทำได้ตั้งแต่การตั้งจุดประสงค์ ควรพึงระวังการหลงประเด็น เป้าหมายของตัวชี้วัดบางตัวชี้วัด บางตัวสามารถนำไปใช้ได้เลย แต่บางตัวชี้วัดอาจจะต้องมี การแยกออกเป็นรายข้อย่อยเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ในลักษณะของจุดประสงค์ หรือผลการเรียนรู้แล้วแต่สถาบัน ในการนำไปใช้เมื่อจำแนกได้ครอบคลุมเป็นที่เรียบร้อยแล้วในหน่วยที่จะทำการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม
ในขั้นตอนนี้ผู้สอนจะต้องทำการศึกษาด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้และตัวชี้วัด/จุดประสงค์/ผลการเรียนรู้ในแต่ละเรื่องที่จะทำการวางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนรู้ โดยจะต้องมีพื้นฐานปัจจัยวิเคราะห์การเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ เทคนิคการจัดการเรียนรู้ได้ดังนี้
           1. เนื้อหาสาระที่จัดให้กับผู้เรียน
           2. มาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด
           3. ลักษณะผู้เรียนที่จะจัดการเรียนรู้
           4. บริบทของโรงเรียน
           5. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม
           6. ความพร้อมของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้

ซึ่งพื้นฐานดังกล่าวผู้สอนจะต้องทราบก่อนจะทำการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุตามเป้าหมายนั้น จะต้องวิเคราะห์เลือกให้เหมาะสม รายวิชาเดียวกัน สาระการเรียนรู้เดียวกับชั้นเดียวกัน แต่การจัดการเรียนรู้สามารถแตกต่างกันได้ไม่จำเป็นที่ผู้สอนต้องสอนแบบเดียวกันด้วยปัจจัยข้างต้น และรูปแบบ วิธีการจัดการเรียนรู้สามารถศึกษาได้จากเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ทางอินเตอร์เน็ต ฯลฯและผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียน

ขั้นที่ 4 ลงมือวางแผนการจัดการเรียนรู้
เมื่อได้ทำการศึกษาขั้นตอนข้างต้นจนได้ข้อมูลเพียงพอต่อการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว ผู้ส่งจะต้องลำดับการเขียนจากการวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ สาระสำคัญของการจัดกิจกรรม ภาระงาน ชิ้นงาน กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล และเอกสาร สื่อต่างๆ ที่ใช้ประกอบการสอนโดยในขณะเขียนแผนหรือวางแผนการจัดการเรียนรู้นั้นครูผู้สอนสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการได้ตลอดเวลาเพื่อความเหมาะสมก่อนนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้และเป็นการทบทวนการวางแผนการเขียนการสอนว่าจัดกิจกรรมได้ตรงตามเป้าหมายหรือไม่อย่างไร จะต้องปรับเปลี่ยนตรงไหนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ขั้นที่ 5 จัดเตรียมเครื่องมือ สื่อการสอน แหล่งเรียนรู้
เมื่อเขียนแผนการจัดการเรียนรู้หรือวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผู้สอนจะต้องคำนึงอีกประการคือ สื่อกลางที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่ผู้สอนจะทำการถ่ายทอดสู่ผู้เรียน ซึ่งผู้สอนจะต้องทำการศึกษาขั้นตอนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้วางแผนไว้ นำมาศึกษาและจัดสร้างเอกสารตามกระบวนการ และตามเป้าหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งการจัดเตรียมเครื่องมือมีมากมายหลายอย่างดังนี้

ด้านสื่อ
1. เอกสารประกอบการสอน
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.ตัวอย่างของจริง
4. บัตรคำ
5. แผ่นโปสเตอร์
6. ชุดการสอน
7.แบบฝึกทักษะ
8.กระเป๋าหนัง
9.ฯลฯ

ด้านแหล่งเรียนรู้
1. บุคคลสำคัญในท้องถิ่น
2. บาทท้องถิ่น
3. ห้องสมุด
4. สถานที่ในท้องถิ่น
5.ฯลฯ


            จากการเตรียมการใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องเลือกใช้ให้ตรงกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ได้เขียนวางแผนไว้แล้วนั้น แล้วนำมาจัดหา จัดสร้างขึ้น เพื่อจัดเตรียมนำไปใช้กับนักเรียนต่อไป ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้สื่อนั้นจะต้องศึกษารายละเอียดในลำดับต่อไป

การประเมินผลภาระ/ชิ้นงาน
           เมื่อทำการสร้างสื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้นสิ่งที่ครูจะต้องสร้างขึ้นเพื่อตรวจสอบผู้เรียนว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ ตามตัวชี้วัด จุดประสงค์และผลการเรียนรู้หรือไม่นั้นก็คือ เอกสารการประเมินผลภาระงานและชิ้นงานซึ่งมีขั้นตอนในการสร้างสรุปได้ดังนี้




แนวทางการให้คะแนนเกณฑ์การประเมิน(Rubric)
เกณฑ์ (Criteria)
ระดับน้ำหนักของคะแนน(Scales)
คำอธิบายคุณภาพงาน(Performance Description)
แนวการให้คะแนน(Scoring Guides)




ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน


รายวิชาภาษาไทย            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ท 2.1 ม.1/4 เขียนเรียงความ
ภาระงาน/ชิ้นงาน            เลือกเขียนเรียงความเรื่องที่สนใจ
เกณฑ์การประเมินชิ้นงาน


ประเด็นการประเมิน
3 (ดี)
2 (พอใช้)
1 (ปรับปรุง)
1. รูปแบบ
-รูปแบบถูกต้องตามแบบฟอร์ม
-คำขึ้นต้นเหมาะสม
-คำลงท้ายเหมาะสม
ขาดคุณสมบัติจากเกณฑ์การประเมินข้อใดข้อหนึ่งจาก3ข้อ
ขาดคุณสมบัติจากเกณฑ์การประเมิน2 ข้อจาก 3 ข้อ
2. ไวยากรณ์
-การสะกดคำถูกต้อง
-การเขียนประโยคถูกต้อง
-การเว้นวรรคตอน
-การเลือกใช้คำได้เหมาะสม
ขาดคุณสมบัติจากเกณฑ์การประเมินข้อใดข้อหนึ่งจาก 4 ข้อ
ขาดคุณสมบัติจากเกณฑ์การประเมิน 2 ข้อจาก 4 ข้อ
3. ใจความสําคัญ
- สื่อความหมายตรงประเด็น
-การลำดับเหตุการณ์
-มีความคิดสร้างสรรค์ตามจุดประสงค์

ขาดคุณสมบัติจากเกณฑ์การประเมินข้อใดข้อหนึ่งจาก 3 ข้อ
ขาดคุณสมบัติจากเกณฑ์การประเมิน 2 ข้อจาก 3 ข้อ
4. การส่งงาน
- ส่งงานตรงเวลา
ไม่ส่งหรือไม่ตรงเวลา
ไม่ส่งหรือไม่ตรงเวลา



เกณฑ์ระดับการประเมิน
9-12     หมายถึง            ดี
5 -8      หมายถึง            ปานกลาง
0-4       หมายถึง           ปรับปรุง

ขั้นที่ 6 ตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ/ฝ่ายวิชาการ/ผู้อำนวยการโรงเรียนก่อนนำไปใช้ในชั้นเรียน
เบื้องหลังแผนการจัดการเรียนรู้เป็นที่เรียบร้อยแล้วผู้สอนจะต้องนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นเพื่อไปให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้าหมวด หรือผู้บริหารโรงเรียนได้ทำการตรวจสอบอีกครั้งก่อนนำไปใช้ประโยชน์ดังนี้
            1. ทบทวนกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ผู้สอนจะนำไปใช้กับผู้เรียนว่ามีความเหมาะสมอย่างไร ที่จะนำไปใช้จริงมีประเด็นใดอีกที่ครูผู้สอน จะต้องเพิ่มเติมอีก เพื่อนที่ผู้สอนจะได้ไปเพิ่มเติมก่อนนำไปจัดการเรียนรู้กับนักเรียนในชั้นเรียน
            2. สร้างความมั่นใจให้กับครูผู้สอน ในการจัดการเรียนรู้ในบางครั้งครูมีความรู้ในเนื้อหาแต่ไม่เชี่ยวชาญด้านการสอนทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่าที่ตนเองจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้มานั้นจะนำไปใช้จริงได้หรือไม่ นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ตามเป้าประสงค์ด้วยวิธีการสอนและการประเมินโดยสิ่งที่ผู้สอนสร้างขึ้นหรือไม่ การตรวจสอบจะช่วยให้ผู้สอนได้เกิดความมั่นใจก่อนนำไปใช้กับผู้เรียนและสามารถสร้างประสบการณ์ในด้านวิธีสอน
           3. สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการพัฒนาวิชาชีพ มีการตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้สอน เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างผู้สอนกับผู้สอน ผู้สอนกับผู้บริหาร เป็นต้น นับเป็นการวิธีการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนของผู้บริหาร ฝ่ายวิชาการ ฯลฯ ก่อนนำไปจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้ และผู้สอนสามารถนำความรู้จากการแลกเปลี่ยนนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งต่อไป


ขั้นที่ 7 นำแผนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
             ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเพราะจะต้องนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้วางแผนไว้นำมาจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในชั้นเรียน ซึ่งผู้สอนเป็นผู้วางแผนในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนดำเนินการตามขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ตามที่ได้วางแผนการจัดการเรียนรู้ไว้แต่ต้น และลำดับขั้นตอนจนจบกระบวนการของการจัดกิจกรรม จากนั้นทำการบันทึกผลการจัดการเรียนรู้จากแผนที่สร้างขึ้นว่ามีเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่อย่างไร ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้กี่คนมีกี่คนที่จะต้องพัฒนาเพิ่มด้านใดบ้าง และแผนการจัดกิจกรรมขั้นตอนใดบ้างที่เราข้ามหรือไม่ได้สอนเพราะอะไรครั้งหน้าเราจะปรับอะไรบ้างเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งต่อไป

ประโยชน์ของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
              ประโยชน์ของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีประโยชน์โดยตรงกับตัวผู้เรียนเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนรู้ สามารถสรุปประโยชน์ของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้ดังนี้
              1. เพิ่มความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการคาดเดาสิ่งต่างๆไว้ล่วงหน้า ดังนั้นครูผู้สอนจะทราบเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ และเดินตามแนวจนบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ครั้งหนึ่งๆ อาทิเช่น การถามคำถามในเรื่องที่สอน การจัดกิจกรรม การสร้างแรงจูงใจ การประเมินผล ซึ่งครูก็จะสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมได้อย่างราบรื่น
            2. ช่วยให้การจัดการเรียนรู้ได้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ว่าผู้เรียนบรรลุมาตรฐาน ตัวชี้วัด จุดประสงค์ ผลการเรียนรู้ได้ในระดับใดเป็นไปตามการวางแผนที่เขียนในแผนการจัดการเรียนรู้หรือไม่ อีกทั้งสามารถเลือกกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยคำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียนจะช่วยให้ครูผู้สอนมีความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนวิธีการ วัดผลประเมินผลที่ส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องกันอย่างเป็นลำดับการพัฒนา
           3. ช่วยให้ผู้สอนได้แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เกิดประโยชน์ที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือจะช่วยให้ผู้สอนได้แนวทางในการพัฒนาผู้เรียน ซึ่งร่องรอยจากการบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้จะเป็นส่วนช่วยที่จะให้ครูได้สามารถนำประเด็นจากการบันทึกที่เป็นไปหามาเป็นแนวทางในการที่ผู้สอนจะพัฒนาผู้เรียนที่ออกได้หรือผลการจัดกิจกรรมที่ยังไม่สัมฤทธิ์มาพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น และเกิดระบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นระบบมากขึ้น




ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้แบบเฉพาะสาระจากกระทรวงศึกษาธิการ

โรงเรียน…………………………………………..
รหัสวิชา ส141101  รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
หน่วยที่ 1           ชื่อหน่วยการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์รอบตัวเสมอ                                จำนวน 9 ชั่วโมง
เรื่องผู้บริโภคที่รอบรู้                                                                                             จำนวน 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชื่อ
ผู้สอน..........................................................                    วันที่               เดือน                 พ.ศ

1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
              มาตรฐาน ส3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ารวมทางเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
              ตัวชี้วัดที่
                     1. ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
                     2.บอกสิทธิพื้นฐานและรักษาผลประโยชน์ของตนเองในฐานะผู้บริโภค

2. ความคิดรวบยอด
               การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการควรคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของตนเองในฐานะผู้บริโภค
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
              1.เขียนรายงานเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าและบริการในตลาดท้องถิ่นของนักเรียน
              2. ผู้นำเสนอสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคในตลาดท้องถิ่นของนักเรียน

4 สาระการเรียนรู้
             สินค้าและบริการที่มีอยู่อย่างหลากหลายในตลาดมีความแตกต่างด้านราคาและคุณภาพ
             ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีมากมายซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ซื้อผู้ขายและตัวสินค้า
             สิทธิพื้นฐานของผู้บริโภค
             สินค้าและบริการที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ
             หลักการและวิธีการเลือกบริโภค

5. สมรรถนะสำคัญ
        ทักษะการคิด(การสำรวจค้นหา)
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
        มีวินัย
7. ชิ้นงาน/ภาระงาน
        เขียนรายงานเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าและบริการสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคในตลาดท้องถิ่นของนักเรียน
8.การวัดและการประเมินผล
          8.1 การประเมินระหว่างการเรียนรู้
                 การสำรวจความคิดเห็น
                 การอภิปรายเกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภค
         8.2 การประเมินเมื่อสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้
                 ชิ้นงาน(เกณฑ์ประเมินอยู่ท้ายหน่วย)
                 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
9. กิจกรรมการเรียนรู้
        กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน
                 ครูนำอาหารสำเร็จรูปในอาหารแห้งมามากมายหลายชนิดในสอบถามนักเรียนว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารที่ควรนำมามีคุณภาพหรือไม่มีคุณภาพให้นักเรียนลองออกมาหยิบคนละชิ้นแล้วไปวิเคราะห์ ครูเรียกถามตอบ ครูพร้อมสรุปกิจกรรม
        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
                  แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มกลุ่มละเท่าเท่ากันประมาณ 4-5 คนตั้งชื่อกลุ่มหัวหน้ากลุ่ม
                  พานักเรียนไปที่ตลาดในชุมชนสำรวจความคิดเห็นในการเลือกสินค้าและการบริการในชุมชน
                  สรุปข้อค้นพบในเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
                  ร่วมกันอภิปรายสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
                  ร่วมเขียนงานจากที่ไปศึกษาและนำเสนอเป็นที่พบหน้าชั้นเรียน
         กิจกรรมความคิดรวบยอด
                   แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มเดิมเป็นกลุ่มกลุ่มให้นำอาหารแห้งที่ครูนำออกมาขายและบางกลุ่มเป็น
     ผู้ซื้อมีการต่อรองแสดงบทบาทสมมุติพร้อมร่วมสนุกกับนักเรียนอีกครั้ง

10. สื่อ/แหล่งเรียนรู้
           ตลาดชุมชนในท้องถิ่น
11. เกณฑ์การประเมิน

                            

                          การเขียนรายงานเกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภค
                                                              

ประเด็นการประเมิน
ระดับคะแนน
4
3
2
1
การระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการหลัก
อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคได้ถูกต้องครบถ้วนทั้งหมด
อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่
อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคได้ถูกต้องเป็นบางส่วน
อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคได้ส่วนน้อย
การเลือกซื้อสินค้าและบริการ

บอกหลักและวิธีการเลือกซื้อสินค้าและบริการได้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
บอกหลักในวิธีการเลือกซื้อสินค้าและบริการได้ถูกต้องแต่มีบกพร่องเล็กน้อย
บอกหลักและวิธีการเลือกซื้อสินค้าและบริการได้แต่มีข้อบกพร่องเป็นบางส่วน
บอกหลักและวิธีการเลือกซื้อสินค้าและบริการได้แต่มีข้อบกพร่องเป็นส่วนใหญ่
การตัดสินใจเลือกสินค้าและบริการ
เขียนอธิบายแนวคิดและให้เหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของตนเองได้ถูกต้องครบถ้วน
เขียนอธิบายแนวคิดและให้เหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของตนเองได้และตั้งแต่บกพร่องเล็กน้อย
เขียนอธิบายแนวคิดและให้เหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของตนเองได้ในบกพร่องเป็นบางส่วน
เขียนอธิบายแนวคิดและให้เหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของตนเองได้บกพร่องเป็นส่วนใหญ่

การพูดนำเสนอเกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานในฐานะผู้บริโภค
บอกสิทธิพื้นฐานของตนเองในฐานะผู้บริโภคได้ถูกต้องครบถ้วนชัดเจน
บอกสิทธิพื้นฐานของตนเองในฐานะผู้บริโภคได้ถูกต้องเป็นส่วนมาก

บอกสิทธิพื้นฐานของตนเองในฐานะผู้บริโภคได้ถูกต้องเป็นบางส่วน

บอกสิทธิพื้นฐานของตนเองในฐานะผู้บริโภคได้ถูกต้อง














































เกณฑ์การตัดสินคุณภาพระดับคุณภาพ
คะแนน 14-16 หมายถึง  ดีมาก
คะแนน 11-13 หมายถึง  ดี
คะแนน 8-10 หมายถึง    พอใช้
คะแนน 4-7 หมายถึง      ปรับปรุง

12. บันทึกหลังสอน
ผลการสอน…………………………………………………………………………………………………
ปัญหาอุปสรรค……………………………………………………………………………………………….
แนวทางแก้ไข....................................................................................................................................


วิสัยทัศน์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
         หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

หลักการของหลักสูตร
1. เพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมาย มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายการพัฒนาเด็กและเยาวชน
2. การศึกษาเพื่อปวงชน เสมอภาค และมีคุณภาพ
3. สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วม
4. มีความยืดหยุ่น
5. เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
6. สำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย เทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์

จุดหมายของหลักสูตร
1. มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและ ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนเองนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
3. มีสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคมและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย
8. มีจิตสาธารณะ

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ใน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน ๖๗ มาตรฐาน ดังนี้
ภาษาไทย
สาระที่ ๑    การอ่าน
มาตรฐาน  ท ๑.๑  ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน   
สาระที่ ๒    การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง   มีประสิทธิภาพ                
สาระที่ ๓    การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ    ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
สาระที่ ๔    หลักการใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน  ท ๔.๑         เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ                            
สาระที่ ๕    วรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน  ท ๕.๑        เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
คณิตศาสตร์
สาระที่ ๑  จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน  ค ๑.๑     เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน  ค ๑.๒    เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง
    การดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา                    
มาตรฐาน  ค ๑.๓    ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค ๑.๔    เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ ๒  การวัด
มาตรฐาน  ค ๒.๑    เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน  ค ๒.๒    แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ ๓  เรขาคณิต
มาตรฐาน ค ๓.๑    อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค ๓.๒   ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)   
และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา
สาระที่ ๔  พีชคณิต
มาตรฐาน  ค ๔.๑     เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค ๔.๒   ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical  model)  อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ  ตลอดจนแปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ ๕  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค ๕.๑    เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค ๕.๒   ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้           
อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค ๕.๓   ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ ๖  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค ๖.๑  มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล   การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ  และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
วิทยาศาสตร์
สาระที่ ๑ : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน  ว ๑.๑     เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต   ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของ
ระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน  ว ๑.๒     เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ ๒ :  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน  ว ๒.๑ เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับ
ท้องถิ่น ประเทศและโลก นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ ๓ :  สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน  ว ๓.๑ เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๓.๒ เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลายการเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่  ๔ :  แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน  ว ๔.๑   เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว ๔.๒   เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการ
สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์                                       
สาระที่  ๕ :  พลังงาน
มาตรฐาน  ว ๕.๑       เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่  ๖ :  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน  ว ๖.๑ เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์
ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่  ๗ :  ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน  ว ๗.๑ เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแล็กซี ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ
และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน  ว ๗.๒ เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและ
ทรัพยากรธรรมชาติ   ด้านการเกษตรและการสื่อสาร    สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ ๘ :  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน   ว ๘.๑     ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาระที่ 1     ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
มาตรฐาน  ส 1.1  รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มาตรฐาน  ส 1.2  เข้าใจ  ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี  และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ
สาระที่ 2     หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน  ส 2.1  เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
มาตรฐาน  ส 2.2  เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน  ยึดมั่น  ศรัทธาและธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สาระที่ 3   เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส.3.1  เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
มาตรฐาน ส.3.2   เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
สาระที่ 4    ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1  เข้าใจความหมาย  ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาตร์ วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ  อย่างเป็นระบบ
มาตรฐาน ส 4.2  เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน  ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถ  วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
มาตรฐาน ส 4.3   เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม  ภูมิปัญญาไทย   มีความรักความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
สาระที่ 5  ภูมิศาสตร์
มาตรฐาน ส 5.1  เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ  และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ส 5.2  เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ ก่อให้เกิด  การสร้างสรรค์วัฒนธรรม  มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์   ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
มาตรฐาน  พ 1.1   เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน  พ 2.1  เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย กีฬาสากล
มาตรฐาน  พ 3.1   เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน  พ 3.2   รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจำและสม่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา  มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณ ใน การแข่งขัน และชื่นชมในสุนทรียภาพของ การกีฬา
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค
มาตรฐาน  พ 4.1   เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
มาตรฐาน  พ 5.1  ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ  การใช้ยา  สารเสพติด และความรุนแรง
ศิลปะ
สาระที่ ๑  ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ ๑.๑     สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์
วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ ๑.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างาน
ทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
สาระที่ ๒  ดนตรี
มาตรฐาน ศ ๒.๑    เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ ๒.๒              เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
สาระที่ ๓  นาฏศิลป์
มาตรฐาน ศ ๓.๑    เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่า
นาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ ๓.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ ๑   การดำรงชีวิตและครอบครัว 
มาตรฐาน ง๑.๑ เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะ                     การจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน   และทักษะการแสวงหาความรู้    มีคุณธรรม    และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึก  ในการใช้พลังงาน  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
สาระที่ ๒   การออกแบบและเทคโนโลยี  
มาตรฐาน ง ๒.๑           เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี  ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์  เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต  สังคม  สิ่งแวดล้อม  และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน        
สาระที่ ๓    เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐาน ง ๓.๑    เข้าใจ   เห็นคุณค่า    และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้    การสื่อสาร  การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล   และมีคุณธรรม สาระที่ ๔    การอาชีพ 
มาตรฐาน ง ๔.๑           เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ภาษาต่างประเทศ
สาระที่ ๑  ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต ๑.๑     เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ  และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต ๑.๒     มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ต ๑.๓     นำเสนอข้อมูลข่าวสาร  ความคิดรวบยอด  และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน
สาระที่ ๒  ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต ๒.๑    เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน ต ๒.๒   เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
กับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
สาระที่ ๓  ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต ๓.๑     ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา  แสวงหาความรู้  และเปิดโลกทัศน์ของตน
สาระที่ ๔  ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต ๔.๑     ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม

มาตรฐาน ต ๔.๒    ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และ   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 3  ลักษณะดังนี้
1. กิจกรรมแนะแนว
2. กิจกรรมนักเรียน
3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

         👉 กิจกรรมแนะแนว  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ  คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย  วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียนและอาชีพ  สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียนทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน
          👉กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัยความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดีความรับผิดชอบ  การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจสอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่  การศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน  ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น กิจกรรมนักเรียนประกอบด้วย
กิจกรรมลูกเสือ  เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร
กิจกรรมชุมนุม ชมรม
          👉กิจรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตน ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม  ชุมชน  และท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม  ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1. ประชุมชี้แจงคณะครู  นักเรียน  ผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจ
2. สำรวจข้อมูลความพร้อมของสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น ปัญหาและความต้องการของนักเรียน
3. วางแผนร่วมกัน จัดทำแผนงาน/โครงการ
4. ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการที่กำหนด
5. นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม
6. สรุป รายงานผลการปฏิบัติกิจกรรม



อ้างอิง 
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.