การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ สอนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิจิตรา ธงพานิช ผู้จัดทำ นางสาวสุทธิดา เชีียรรัมย์

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561

แนวทางการวางแผนการสอน



แนวทางการวางแผนการสอน
การวางแผนการสอนสามารถกระทำได้ 2 แนวทางคือ การวางแผนระยะยาว และการวางแผนระยะสั้น
1. การวางแผนระยะยาว หมายถึง การวางการสอนที่ยึดหน่วยการสอนซึ่งครอบคลุมเนื้อหาสาระค่อนข้างกว้าง ต้องใช้เวลาในการสอนเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เป็นภาคเรียนและเป็นปี โดยการทำเป็นโครงการสอน ซึ่งเรียกตามหลักสูตรเก่าหรือหลักสูตรใหม่ เรียกว่ากำหนดการสอนนั่นเอง
2. การวางแผนระยะสั้น หมายถึง การวางแผนการสอนของบทเรียนแต่ละเรื่องให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ผู้สอนที่ดีจำเป็นต้องมีแผนล่วงหน้าในการสอนทุกเรื่อง การวางแผนการสอนของผู้สอนอาจทำในรูปแบบต่างๆกัน และอาจเรียกว่า บันทึกการสอนตามหลักสูตรเก่า หรือแผนการสอน แต่ในปัจจุบันสถานศึกษาทุกแห่งยังคงใช้คำว่าแผนการสอน ให้ใช้คำว่าแผนการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรียนรู้แทน ซึ่งสถานศึกษาบางแห่งก็ยังคงใช้คำว่าแผนการสอนอยู่ เพราะสร้างความเข้าใจได้ง่ายเป็นแผนที่ครูเป็นผู้จัดทำออกแบบและใช้ในการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้



ความหมายของกำหนดการสอน
การกำหนดการสอนเป็นการเตรียมการสอนล่วงหน้าของผู้สอนในระยะยาว สำหรับวิชาใดวิชาหนึ่งโดยกำหนดเนื้อหาสาระที่จะต้องดำเนินการสอนในระยะเวลาต่างๆ เช่น การกำหนดการสอนตลอดทั้งปี ตลอดเทอม และตลอดสัปดาห์ ดังนั้น การกำหนดการสอนซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. กำหนดการสอนรายปี
2. กำหนดการสอนรายภาค
3. กำหนดการสอนรายสัปดาห์
การกำหนดการสอนต้องคำนึงถึงกำหนดวันปิดและเปิดภาคเรียน วันหยุดวันสำคัญต่างๆ การหยุดเรียนในวันที่มีกิจกรรมพิเศษ ตลอดจนการกำหนดวันสอบย่อย สอบปลายเทอม การกำหนดการสอนเปรียบเสมือนการกำหนดตารางเวลาการดำเนินการสอนของผู้สอน การกำหนดเวลาและเนื้อหาสาระที่สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม โดยกำหนดเรื่องใดตอนใดต้องสอนก่อนหลังใช้เวลาแต่ละเรื่องมากน้อยเท่าใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสอนทำตามกำหนดที่ต้องการ
การกำหนดการสอนนี้จะทำแบบรายปี รายภาค รายสัปดาห์ ก็สามารถทำร่วมกันได้โดยจะเป็นรูปแบบอย่างไรก็ได้ตามความเหมาะสมและผู้สอนเห็นสมควร

หลักการทำกำหนดการสอน
ผู้สอนควรทำแผนการสอนของกรมวิชาการ หรือแผนแม่บทกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเขียนไว้เขียนย่อๆ หรือคร่าวๆ มาพิจารณาหัวข้อเป็นหัวข้อย่อย บางหน่วยต้องเพิ่มเติมต้องนำไปทำแผนการสอนอย่างละเอียดอีกครั้ง ดังนั้น การทำกำหนดการสอนก็เพื่อให้ผู้สอนกำหนดแนวทางในการสอนตลอดปีหรือสอนตลอดภาคการเรียนว่า จะสอนอย่างไรให้เนื้อหาต่อเวลาในการสอนสัมพันธ์กันการทำกำหนดการสอนสามารถทำได้โดย
1. ผู้สอนที่สอนในระดับเดียวกันมาร่วมกันพิจารณาด้วยกัน
2. ช่วยกันสำรวจจำนวนคาบที่จะสอนในแต่ละหน่วยว่าเหมาะสมหรือไม่
3. เริ่มหัวข้อแต่ละหัวข้อย่อยมากำหนดในการกำหนดการสอนโดยให้สัมพันธ์กับเวลาหรือจำนวนคาบที่จะใช้สอนโดยพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
4. พิจารณาจำนวนคาบเวลาในแต่ละสัปดาห์ของ แต่ละวิชาให้สัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างเวลาเรียนกับเนื้อหาแต่ละหัวข้อ



ตัวอย่างการกำหนดการสอน
กำหนดการสอนกลุ่มสาระภาไทย
ช่วงชั้นที่  1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2559

สัปดาห์ที่
วัน เดือน ปี
เรื่อง
จำนวนคาบ
1
19 พ.ค. 59
ปฐมนิเทศ
1
2-3
22-26 พ.ค. 59
พ่อแม่รังแกฉัน กลอนสุภาพ การอ่านออกเสียงร้อยกรอง การถอดคำประพันธ์
5
3
29-30 พ.ค. 59
การเขียนย่อความ
2
3-4
31 พ.ค. 59
เครื่องหมายวรรคตอน
2
4
1 มิ.ย. 59
คำอุทาน
1
4-6
2-7 มิ.ย. 59
พระอภัยมณี กลอนสุนทรภู่
6
6
12-14 มิ.ย. 59
การแต่งกลอนสุภาพ
3
7
17-20 มิ.ย. 59
คำราชาศัพท์
4
8
21-22 มิ.ย. 59
คำนาม
2
8-9
23-30 มิ.ย. 59
นิทานเทียบสุภาษิต โครงสี่สุภาพ การเล่านิทาน สำนวน คำพังเพย สุภาษิต
6
9
3-7 ก.ค. 59
สอบกลางภาคเรียนที่ 2/2559
-

10
12-13 ก.ค. 59

การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

2
11
14-17 ก.ค. 59
คำสรรพนาม
2
11-12
18-19 ก.ค. 59
คำกริยา
2
12-13
20-28 ก.ค. 59
ข้อคิดเรื่องการบวชการแสดงความคิดเห็น
4
13
1-3 ส.ค. 59
การเขียนจดหมายส่วนตัว
3
14
4-7 ส.ค. 59
คำวิเศษณ์
2
14-15
8-16 ส.ค. 59
คนดีที่ไม่รู้จักสิ้นสูญ การเล่าเรื่อง การเขียนย่อความ
6
16
17-18 ส.ค. 59
คำบุพบท
2
16-17
21-24 ส.ค. 59
ตาลโตนด การเขียนคำขวัญ
4
17
25-28 ส.ค. 59
คำสันธาน
2
18
29 ส.ค. 59
บทเสภาสามัคคีเสวก กลอนเสภา
4
19
4-5 ก.ย. 59
ทะเลบ้า อุปมาโวหาร การเล่าประสบการณ์
2
19-20
11-15 ก.ย. 59
สอบปลายภาคเรียนที่ 2/2559
-


ประโยชน์ของการกำหนดการสอน
            การทำการสอนมีประโยชน์ ดังนี้
1. ใช้เป็นแนวทางในการทำแผนการสอนเพื่อใช้สอนได้สะดวก ผู้สอนสามารถเข้าใจและมองเห็นงานของตนได้ล่วงหน้าชัดเจน สามารถพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่เสมอในการคิดวางแผนล่วงหน้า ทำให้การสอนของผู้สอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างได้ผล
2. ช่วยให้การสอนเป็นไปตามหลักสูตร เหมาะสมกับผู้เรียนและสอดคล้องกับภาพแวดล้อมและชุมชนเสมอ
3. ทำให้การเปลี่ยนแปลงผู้สอนใหม่ การรับงานของผู้สอนใหม่ การประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ช่วยสอนกับผู้สอน การจัดการผู้สอนแทน ฯลฯ เป็นไปด้วยดีไม่มีกระทบกระเทือนต่อผู้เรียนเกินไป
4. ช่วยให้ผู้บริหาร ผู้นิเทศ รู้ลู่ทางที่จะแนะนำ ตลอดจนให้ความร่วมมือสนับสนุนด้วยประการต่างๆ
5. ทำให้ประสิทธิผลสะดวก เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย หรือจุดปรสงค์ที่กำหนดไว้

ความหมายของแผนการสอน
            แผนการสอนหรือในปัจจุบันใช้คำว่าแผนการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งหมายถึง แนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดหมายของการศึกษา ครูหรือผู้สอนอาจต้องปรับปรุงแผนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้โดยความคิดรวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นหลัก ดังนั้นในการทำแผนการสอน หรือในการปรับปรุงการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ดี ผู้สอนจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี ในหลายๆด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเทคนิควิธีการ ตลอดจนการนำสื่อมาใช้ เป็นต้น

ข้อควรคำนึงในการทำแผนการสอน
            การทำแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีนั้น ผู้สอนจะต้องเตรียมการล่วงหน้าโดยต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การศึกษาหลักสูตร คู่มือครู หรือเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผู้สอนจะต้องศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ตลอดจนศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนดก่อนที่จะลงมือทำแผนการสอน

2. ความมุ่งหมายของสาระที่สอน ต้องให้ครอบคลุมความมุ่งหมายของการศึกษาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเจตคติและด้านทักษะ ผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจกับความมุ่งหมายเหล่านี้ให้ชัดเจน สามารถกำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อมีการเรียนการสอนเกิดขึ้น
3. กำหนดขอบเขตของเนื้อหา บทเรียนในกลุ่มสาระต่างๆที่จะสอนว่าจะให้มีขอบข่ายกว้างขวางตลอดจนความสามารถของผู้เรียนเป็นส่วนประกอบ
4. ทำความเข้าใจเนื้อหาที่สอนอย่างแจ่มแจ้ง ถูกต้อง ชัดเจน รวมทั้งการหาความรู้เพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้อง
5. พิจารณาเลือกวิธีสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา วัยวุฒิภาวะของผู้เรียนและควรให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับที่จะสอนเรื่องนั้นๆด้วย
6. พิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอให้เหมาะสมกับวิธีที่การสอน
            7. กำหนดกิจกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงแก่ผู้เรียน
            8. ดำเนินการวัดและประเมินผลทุกครั้งที่ทำการสอน ด้วยวิธีต่างๆที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

ลักษณะของแผนการสอนที่ดี
1.มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาตลอดจนปรัชญาของโรงเรียนด้วย
2. พิจารณากำหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
3. มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับเวลา สภาพความต้องการและความเป็นจริงของท้องถิ่นเพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจและให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน
4. มีการจัดลำดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกัน พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่าให้สอดคล้องสัมพันธ์กันโดยตลอด
5. ควรมีการกำหนดกิจกรรม และประสบการณ์คำนึงถึงวัยผู้เรียน สภาพแวดล้อมกาลเวลาความสนใจของผู้เรียนรวมทั้งการใช้แหล่งวิทยาการในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์แก่การเรียนการสอนได้อย่างคุ้มค่า
องค์ประกอบของแผนการสอน
            แผนการสอนโดยทั่วไป มีองค์ประกอบดังนี้
1.      กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่จะสอน
2.      หัวเรื่อง
3.      ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ
4.      จุดประสงค์หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
5.      เนื้อหาสาระการเรียนรู้
6.      กิจกรรมการเรียนการสอน
7.      สื่อการเรียนการสอน
8.      ประเมินผล
9.      หมายเหตุ

การปรับแผนหรือแผนการเรียนรู้โดยทั่วไปที่ทางกระทรวงศึกษาธิการ หรือกรมวิชาการหรือกรมสำนักพิมพ์ต่างๆจัดทำขึ้นนั้น เป็นแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้กลางๆที่เป็นแนวทางให้ผู้สอนได้นำไปใช้เหมือนกันทั้งประเทศ ดังนั้นเมื่อจะนำมาใช้จริงๆในห้องเรียนผู้สอนจะต้องปรับแผนนั้นๆเสียก่อน โดยอาจเพิ่มหรือลด ให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของท้องถิ่น โดยผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันทำขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับวัยความต้องการและสภาพแวดล้อมของผู้เรียนแผนการสอนที่ปรับแล้วดังกล่าว จึงเป็นแผนการสอนที่เหมาะสม ที่ผู้สอนสามารถนำไปใช้สอนได้จริงๆ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการปรับแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้ในที่นี้หมายถึง การที่ผูสอนนำแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้แกนกลางที่มีการจัดทำไว้แล้วมาตีความ ขยาย ลด เพิ่ม หรือดัดแลงปรับปรุงให้เหมาะสม
การปรับแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้ตามองค์ประกอบต่างๆในข้างต้น สามารถปรับได้ตามขอบเขตของการปรับแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้ดังนี้
1. จุดประสงค์หรือแผนการเรียนรู้ ผู้ปรับแผนการสอนจะต้องปรับจุดประสงค์บางเรื่องให้เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถประเมินผลหรือวัดได้ โดยคำนึงถึงจุดประสงค์ทั่วไปที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

2. เนื้อหา เนื้อหาสาระในแผนการสอนของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดเนื้อหาไว้เป็นเพียงหัวข้อหยาบๆ หรือเป็นเพียงเค้าโครงเท่านั้น ในบางหน่วยอาจจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมไว้ในหลักสูตร เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ต้อเนื่องกัน ดังนั้นในการปรับเนื้อหาจึงสามารถทำได้ดังนี้
2.1 ปรับส่วนของเนื้อหาให้เหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของผู้เรียน โดยนำเนื้อหาที่เป็นหัวข้อ หรือที่เป็นเค้าโครงนั้นทำให้ละเอียดชัดเจนขึ้น
2.2 ปรับส่วนของเนื้อหาต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น โดยการนำเนื้อหามาพิจารณาและปรับให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น
2.3 จัดเรียงลำดับหมวดหมู่ของเนื้อหาเสียใหม่โดยการนำเนื้อหาที่กำหนดได้มาจัดเป็นหมวดเป็นหมู่ เป็นพวกเป็นกลุ่มหรือบูรราการเข้าด้วยกันเพื่อสะดวกแก่การสอน

3. กิจกรรมการเรียนการสอน ในแผนการสอนได้กำหนดกิจกรรมเสนอแนะไว้มากมายเพื่อเป็นแนวทางในการสอน และช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์หรือมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดในแผนการสอนบางหน่วย ผู้สอนอาจจะดัดแปลงหรือปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบทเรียนได้ โดยต้องคำนึงว่ากิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ ต้องเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ มุ่งฝึกปฏิบัติและฝึกทักษะในการแก้ปัญหาและสามารถช่วยให้ผู้เรียนผ่านจุดประสงค์ของการเรียนได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

4. สื่อการเรียนการสอน ที่กำหนดไว้ในแผนการสอนประกอบไปด้วยของจริง ของจำลอง วัสดุ อุปกรณ์ แผนภูมิ แผ่นภาพ และอื่นๆซึ่งผู้สอนจะปรับเปลี่ยนเป็นสื่อการเรียนการสอนประเภทอื่นๆที่หาได้ในท้องถิ่นมาแทนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสนุกสนานในบทเรียนและอยากจะเข้าร่วมในกิจกรรมมากขึ้น

5. การประเมินผล ในแผนการสอนกลางของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดวิธีการประเมินผลไว้ให้ผู้สอนได้เลือกใช้หลายวิธี ซึ่งผู้สอนสามารถเลือกและแนะนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหา บทเรียน วัย วุฒิภาวะและความสามารถของผู้เรียน ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

รูปแบบของแผนการสอน
            รูปแบบของแผนการสอนสามารถจัดกลุ่มตามลักษณะต่างๆ ได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1.รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะการเขียน แบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ
            1.1 แบบเรียงหัวข้อ เป็นแผนการสอนที่เสนอแผนโดยเขียนเรียงลำดับตามหัวข้อที่กำหนดไว้ก่อนหลัง โดยไม่ต้องตีตาราง เขียนได้ง่าย กระชับ แต่มีข้อจำกัด คือยากต่อความต้องการดูความสอดคล้องสัมพันธ์แต่ละหัวข้อเพราะเขียนอยู่คนละหน้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแผนการสอนรูปแบบเรียงหัวข้อนี้จะมีความยาวประมาณ 2 หน้ากระดาษ โดยเขียนเรียงตามหัวข้อต่อไปนี้
            1.1.1 ชื่อวิชาและระดับชั้น
            1.1.2 ชื่อหน่วย เรื่องที่จะสอน และเวลาที่สอนเป็นคาบหรือชั่วโมง
            1.1.3 ชื่อหัวข้อเรื่อง
            1.1.4 ความคิดรวบยอด
            1.1.5 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
            1.1.6 กิจกรรมการเรียนการสอน
            1.1.7 สื่อการเรียนการสอน
            1.1.8 การประเมิน

            1.1.9 หมายเหตุ


ตัวอย่างแผนการสอนแบบเรียงหัวข้อ

แผนการสอน
วิชา............................                                                                           ชั้น...............................
หน่วยที่...........................เรื่อง.................................................เวลา.............................คาบ/ชั่วโมง
หัวเรื่อง..................................................................................................................................
ความคิดรวบยอด......................................................................................................................................................................................................................................................................
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
.............................................................................................................................................................................................................................................................................
เนื้อหา
..............................................................................................................................................................................................................................................................................
กิจกรรมการเรียนการสอน
.................................................................................................................................................................................................................................................................................
สื่อการเรียนการสอน
......................................................................................................................................................... 
 ..........................................................................................................................................................
ประเมินผล
.......................................................................................................................................................... 
 ..........................................................................................................................................................
หมายเหตุ
.......................................................................................................................................................... 
 ..........................................................................................................................................................








































1.2 แบบกึ่งหัวข้อกึ่งตาราง แผนการสอนรูปแบบนี้บางครั้งนิยมเรียกสั้นๆว่า แผนการสอนแบบกึ่งตาราง เป็นแผนการสอนที่เสนอข้อความตามหัวข้อส่วนหนึ่ง และรายละเอียดลงในตารางอีกส่วนหนึ่ง และรายละเอียดลงในตารางอีกส่วนหนึ่ง โดยเขียนเรียงความหัวข้อมีดังนี้
            1.2.1 ชื่อวิชาและระดับชั้น
            1.2.2 ชื่อหน่วย เรื่องที่จะสอนและเวลาสอนที่เป็นคาบ
            1.2.3 ชื่อหัวเรื่อง
            1.2.4 ความคิดรวบยอด
            1.2.5 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
            ส่วนที่เข้าตารางมีดังนี้
            1.2.6 เนื้อหา
            1.2.7 กิจกรรมการเรียนการสอน
            1.2.8 สื่อการเรียนการสอน
            1.2.9 ประเมินผล
            1.2.10 หมายเหตุ

            การเขียนแผนการสอนแบบกึ่งตารางมีข้อดีที่กำหนดขั้นตอนการสอนตามเนื้อหากำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนประเมินผลอย่างละเอียด ทำให้ผู้สอนที่นำแผนการสอนไปใช้สามารถทำแผนการสอนได้โดยสะดวก ส่วนข้อจำกัด คือแผนการสอนแบบกึ่งหัวข้อกึ่งตารางนี้ จะยากกว่าแบบเรียงหัวข้อ เพราะจะต้องตีตารางมีการกรอกข้อความลงในตารางที่จะต้องมีความชัดเจน และสัมพันธ์กันโดยตลอด



ตัวอย่างแผนการสอนแบบกึ่งหัวข้อกึ่งตาราง
แผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระ.............................
ชั้น.......................................
หน่วยที่.........................................เรื่อง...............................................เวลา................................ คาบ/ชั่วโมง
หัวเรื่อง..........................................................................................................................................................
ความคิดรวบยอด........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
เนื้อหา/สาระการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอน
ประเมินผล
หมายเหตุ























1.3 แบบกรมวิชาการ นำเสนอไว้เป็นตัวอย่างในการเขียนแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งสถานศึกษาแต่ละแห่งนำไปดำเนินการปรับใช้ได้ตมความเหมาะสม

แผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่ม................................................ ชั้น........................................ ภาคเรียนที่.......................
ชื่อแผน......................................................................................... เวลา.........................ชั่วโมง
1.จุดประสงค์
            1.1………………………………………………………………………………………...............
            1.2…………………………………………………………………………………………...........
            1.3………………………………………………………………………………………...............
2. สาระการเรียนรู้
            2.1…………………………………………………………………………………………...........
            2.2…………………………………………………………………………………….........……..
            2.3…………………………………………………………………………………….........……..
3. กระบวนการการเรียนรู้
            3.1……………………………………………………………………………………….........…..
            3.2……………………………………………………………………………………….........…..
            3.3………………………………………………………………………………………........…..
4. กระบวนการวัดและประเมินผล
             4.1…………………………………………………………………………………………..........
            4.2…………………………………………………………………………………………...........
            4.3……………………………………………………………………………………….........…..
5. แหล่งการเรียนรู้
            5.1…………………………………………………………………………………………...........
            5.2…………………………………………………………………………………………...........
            5.3…………………………………………………………………………………………...........
6. บันทึกหลังการสอน
…………………………………………………………………………………………………….........…..
………………………………………………………………………………………………………...........
………………………………………………………………………………………………………...........


2. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะของการใช้ การสอนในระดับต่างๆ ได้แก่ อนุบาลช่วงชั้นที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 3-4 ชั้นมัธยมศึกษาและอุดมศึกษานั้นย่อมมีรูปแบบของแผนการสอนที่แตกต่างกันเพื่อความเหมาะสมและสะดวกในการใช้ในแต่ละระดับชั้นซึ่งพอสรุปรูปแบบของแผนการสอนที่เหมาะสมกับระดับชั้นได้ดังนี้
2.1 ระดับอนุบาลและช่วงชั้นที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษา นิยมใช้แผนการสอนแบบกึงตารางเพราะทำให้ผู้สอนสามารถกำหนดกิจกรรมการเรียนของผู้เรียนที่สัมพันธ์กับจุดประสงค์ สื่อการสอนและการประเมินผลได้ชัดเจน
2.2 ระดับช่วงชั้นที่ 3-4 ชั้นมัธยมศึกษานิยมใช้แบบกึ่งตารางในระดับมัธยมตอนต้น (ม. 1- ม.3 )ส่วนช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4-ม.6 )นิยมใช้แผนการสอนแบบเรียงหัวข้อ
2.3 ระดับอุดมศึกษา นิยมใช้แผนการสอนแบบเรียงหัวข้อสอบกะทัดรัดและผู้สอนสามารถเขียนแผนการสอนได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก

ขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน
ก่อนจะลงมือเขียนแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนควรได้ศึกษารายละเอียดตามขั้นตอนในการเขียนแผนการสอนตามหัวข้อต่างๆ โดยศึกษาจากกำหนดการสอนและตารางสอนว่าเรื่องที่จะสอนนั้นเป็นเรื่องอะไร ใช้เวลากี่คาบ แล้วศึกษาแผนการสอนแม่บทของกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ และคู่มือครูโดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาแผนการสอนแม่บท และปรับแผนการสอนเนื้อหาโดยแบ่งหัวข้อของเนื้อหาโดยย่อยลงไปในการแบ่งหัวข้อของเนื้อหาจะแบ่งย่อยพอที่จะสอนในแต่ละครั้ง ซึ่งเวลาที่จะสอนในแต่ละครั้งจะไม่เท่ากันแล้วแต่เนื้อหาในการจัดตารางสอนของแต่ละโรงเรียน
2. ศึกษาความคิดรวบยอดทั้งหมดของแม่บทนั้นลืมเรื่องนั้นให้เข้าใจ
3. ศึกษาจุดประสงค์มาตรฐานการเรียนรู้ทั้งหลายของสาระนั้น เพื่อทำความเข้าใจว่าสอนแบบนี้แล้วผู้เรียนทำอะไรบ้าง ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นแนวทางในการทดสอบการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. ศึกษาเนื้อหาและรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง สอนความคิดรวบยอดและจุดประสงค์ที่กำหนดได้หรือไม่ เนื้อหาแต่ละเรื่องสอดคล้องกับสาระในจุดประสงค์ข้อใด และความคิดรวบยอดข้อใด

5. ศึกษากิจกรรมการเรียนทั้งหมดตรวจสอบดูว่ากิจกรรมทั้งหมดแต่ละเรื่องตรงตามเนื้อหาหรือไม่ จะต้องหามาได้โดยวิธีใด อย่างไร และถ้าทำเองจะทันเวลาหรือไม่
6. ศึกษาการวัดผลและประเมินผลแต่ละครั้งที่สอนเมื่อใช้วิธีอย่างไร วิธีเหล่านั้นเหมาะสมกับการวัดเนื้อหาและกิจกรรมที่กล่าวไว้หรือไม่

การเขียนแผนการสอน
จากองค์ประกอบของแผนการสอน รูปแบบของแผนการสอนและขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน เราสามารถนำมาเขียนเป็นแผนการสอนระดับชั้นต่างๆ หรือตามความต้องการและความละเอียดในการใช้ได้ตามหัวข้อต่างๆดังนี้
1. ชื่อกลุ่มสาระช่วงชั้นและระดับชั้น เมื่อกำหนดที่จะทำแผนการสอนของกลุ่มสาระหรือเนื้อหาใด ควรเขียนให้ละเอียดเช่น กลุ่มสาระภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่องการเขียนเรียงความ เป็นต้น
2. ชื่อหน่วย หัวเรื่อง เวลาและวันที่เมื่อกำหนดกลุ่มสาระหรือเรื่องที่จะสอนแล้ว ให้ดูในแผนการจัดการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ศึกษาหน่วยที่เท่าไร เช่นหน่วยที่ 2 ชีวิตในบ้านเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว เวลา 17 คาบ วันที่ 7 สิงหาคม 2549 เป็นต้น
3. มโนทัศน์หรือความคิดรวบยอด ซึ่งหมายถึง สาระสำคัญข้อสรุปหรือความคิดครั้งสุดท้ายที่เกิดกับผู้เรียนในลักษณะที่สั้นที่สุด ความคิดนี้จะเกิดขึ้นหลังจากผู้เรียนได้รับประสบการณ์และเกิดการเรียนรู้เรื่องนั้นแล้ว มโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดของ นี้จะเป็นทักษะที่เก่งแท้ของเนื้อหาวิชาความคิดรวบยอดของแต่ละคนที่เกี่ยวกับสิ่งเดียวกันอาจไม่เหมือนกัน เพราะประสบการณ์ต่างๆการและความคิดรวบยอดนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใหม่ที่ต่างจากเดิม แต่เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วผู้เรียนจะต้องสรุปลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นเมื่อพบสิ่งไหนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับหรือเหมือนกับสิ่งที่เคยพบมาก่อนต้องสามารถบอกได้ว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งเดียวกันหรือเป็นสิ่งใหม่ ตัวอย่างความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ เช่น เรื่องหน้าที่และคงามรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว มีความคิดรวบยอดว่า การที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดี ครอบครัวย่อมมีความสุข เป็นต้น บางแผนการสอนในระดับชั้นอุดมศึกษา หัวข้อนี้อาจใช้คำว่า สาระสำคัญหรือแนวคิดก็ได้
4. คุณสมบัติที่ต้องการเน้น โดยทั่วไป แผนการสอนเดิมจะไม่มีการเขียนไว้ อต่ดารเรียนการสอนในปัจจุบันจะเน้นให้มีการฝึกให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติที่ดีใยด้านต่างๆ โดยในการสอนแต่ละครั้ง ผู้สอนตวรพิจารณากิจกรรมดารเรียนการสอน ที่สอนในแต่ละครั้งว่าสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และคุณธรรม 30 ข้อ ในจริยศึกษาข้อใดบ้างที่มีคุณสมบัติที่ต้องการเน้นผู้เรียนทำงานร่วมกัน คุณสมบัติที่ต้องการเน้นก็อาจจะได้แก่ ความรับผิดชอบ ความสามัคคี ความมีเหตุผล เป็นต้น ในส่วนของคุณสมบัติที่ต้องการเน้นตามมาตรฐานการเรียนรู้นี้ ในแผนการสอนอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
5. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นจุดประสงค์ที่สังเกตและวัดได้เมื่อผู้เรียนศึกษาหรือเรียนเรื่องวันนั้นแล้วเกิดการเรียนรู้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในปัจจุบันตามแผนการจัดการเรียนรู้นิยมเขียนจุดประสงค์ในแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้เป็น 2 ประเภท คือ
5.1 จุดประสงค์ทั่วไป หรือในแผนการสอนใช้คำว่าจุดประสงค์ปลายทาง ซึ่งหมายถึงการกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนที่ต้องการให้เกิดขึ้น เมื่อการเรียนการสอนเรื่องนั้นๆ จบสิ้นลง เช่น ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอากาศและประโยชน์ของอากาศต่อสิ่งมีชีวิตได้เป็นต้น
5.2 จุดประสงค์เฉพาะในแผนการสอนใช้คำว่า จุดประสงค์นำทาง ซึ่งหมายถึง การกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนในรูปแบบของพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้น หลังจากผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาในบทนี้แล้ว ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สังเกตและวัดได้ เช่น เมื่อผู้เรียนศึกษาอากาศและส่วนประกอบของอากาศจบแล้ว ผู้เรียนสามารถบอกความหมายของอากาศและบรรยากาศได้อธิบายส่วนประกอบของอากาศได้ ระบุประโยชน์ของอากาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกได้ เป็นต้น
6. เนื้อหา ในปัจจุบันอาจใช้สาระการเรียนรู้เป็นเนื้อหาสาระของบทเรียนเร็วระดับชั้นต่างๆที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของระดับชั้นนั้นๆ เนื้อหาที่กำหนดไว้ในจะเป็นเพียงหัวข้อเรื่องหรือเค้าโครงเรื่องสั้นๆเท่านั้น ผู้สอนจำเป็นต้องนำหัวข้อหรือเค้าโครงเหล่านั้นมาขยาย ศึกษาและหารายละเอียด เพิ่มเติมจากเอกสารต่างๆเขียนบันทึกขยายความในแผนการสอนให้ชัดเจนว่าต้องสอนอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานั้นมีขอบเขตของเนื้อหากว้างขวางลึกซึ้งเพียงใด
7. กิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในปัจจุบันนิยมยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ฉะนั้นผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ผู้เรียนจะได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในขณะทีเรียนได้อย่างเต็มที่ มีการพัฒนาทั้งด้านร่างการ สังคม อารมณ์ และสติปัญญา กิจกรรมการเรียนการสอนโดยทั่วไปในแผนการจัดการเรียนรู้มักแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน ขั้นสรุป และขั้นวัดผล สำหรับขั้นวัดผลนี้อาจอยู่ในส่วนองการประเมินก็ได้
8. แหล่งการเรียนรู้/สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ หรือวิธีการต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นสื่อการเรียนการสอนทั้งสิ้น ซึ่งสื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากศึกษา อยากเรียน อยากรู้ และในบางครั้งช่วยเร้าความสนใจให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง ผู้สอนควรมีทักษะในการเลือกใช้ การใช้ การทำนุบำรุงรักษาตลอดจนการประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนขึ้นใช้เองหรือแสวงหาจากท้องถิ่นของตนโดยคำนึงถึงการประหยัดทั้งทุนทรัพย์และเวลาเป็นสิ่งสำคัญ
9. การประเมินผล การประเมินผลนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการวัดผลในกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนนำผลจากการวัดด้วยวิธีการต่างๆเช่นการตอบคำถาม การเข้าร่วมกิจกรรมในระหว่างเรียน การสังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้ การทำแบบฝึกหัด เป็นต้น มาประเมินผลโดยใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ผู้สอนสามารถทราบได้ว่า ผู้เรียนได้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนที่กำหนดไว้หรือไม่มากน้อยเพียงใด
10. หมายเหตุ ในแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ส่วนใหญ่จะเพิ่มส่วนของหมายเหตุไว้ในตอนท้าย องค์ประกอบของแผนการสอนในส่วนต่างๆที่ระบุไว้แล้ว เช่น อาจบันทึกว่าผู้เรียน 5 คนไม่ได้เข้าชั้นเรียนเพราะต้องไปเป็นตัวแทนแห่เทียนพรรษา หรือการสอนครั้งนี้เป็นครั้งแรกจึงเสียเวลาไป 20 นาที เพื่อทักทายและการสร้างความคุ้นเคยกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน และทำแบบทดสอบเป็นต้น

ประโยชน์ของการเขียนแผนการสอน
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ทำให้เกิดประโยชน์แก่สอนและการจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. ทำให้การสอนของผู้สอนมีเป้าหมายที่ชัดเจน
2. ผู้สอนได้เตรียมตัวก่อนที่จะไปสอน ทำให้รู้ล่วงหน้าและเตรียมการสอนได้ถูกต้องครอบคลุมเนื้อหา ตลอดจนสามารถวางแนวทางแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในการสอนได้
3. ทำให้การจัดกิจกรรมการสอนดำเนินไปตามลำดับขั้นที่กำหนด
4. ทำให้ผู้สอนมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น และสามารถปฏิบัติการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ช่วยให้ผู้สอนสามารถดำเนินงานในการเรียนการสอนได้ตรงตามหลักสูตร

สรุป
การวางแผนการสอนเป็นการเตรียมการสอนล่วงหน้า เพื่อทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ และผู้สอนมีความมั่นใจในการสอนเป็นอย่างดี การวางแผนการสอนนี้ผู้สอนสามารถทำได้ทั้งการวางแผนการสอนระยะยาวและระยะสั้น โดยศึกษาข้อมูลหรือรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกันล่วงหน้าจากการศึกษาตัวหลักสูตร เอกสารหลักสูตรและการประเมิน หรืออื่นๆ โดยนำมาเขียนเป็นกำหนดการสอน (การวางแผนการสอนระยะยาว) ก่อนแล้วจึงขยายผลเป็นแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้(การวางแผนระยะสั้น) ในการเขียนแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้นั้นนิยมเขียนกันใน 2 รูปแบบ คือ การเขียนแผนการสอนแบบเรียงหัวข้อและการเขียนแผนการสอนแบบกึ่งหัวข้อกึ่งตาราง




อ้างอิง 
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น