ในการจัดการเรียนกาสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
มีรูปแบบการเรียนรู้ วิธีการและการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายกล่าวคือ
รูปแบบการเรียนรู้หลากหลาย เช่น การเรียนรู้แบบสืบสวน
การเรียนรู้การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
การเรียนรู้แบบโครงงาน การเรียนรู้แบบกระบวนการทางปัญญา
การเรียนรู้โดยใช้แผนการออกแบบประสบการณ์วิธีการจัดการเรียนการสอน ที่หลากหลาย เช่น
เกมการศึกษาสถานการณ์จำลอง กรณีตัวอย่าง บทบาทสมมุติ การแก้ปัญหา โปรแกรมสำเร็จรูป
ศูนย์การเรียน ชุดการเรียน คอมพิวเตอร์
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ในชั้นเรียนหนึ่งๆจะมีความแตกต่างระหว่าบุคคลอยู่มาก
ไม่มีใครสองคนที่เหมือนกันทุกประการ แม้กระทั่งลูกแฝดที่เกิดจากใข่ใบเดียวกัน
และผู้เรียนแต่ละคนก็จะมีสไตล์การเรียนรู้ที่เป็นของตัวเอง
และมีความถนัดในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันทั้ง 4 แบบ (จิตนาการ วิเคราะห์
สามัญสำนึก เรียนรู้ด้วยตนเอง: พลวัต)
เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกสนาน และมีส่วนร่วมในรูปแบบการเรียนรู้ตามที่ถนัด
ทั้งยังมีการพัฒนาความสามารถในด้านอื่นๆที่ตนไม่ถนัดด้วยวิธีการเรียนรู้รูปแบบอื่นๆ
การสอนโดยใช้วิธีบทบาทสมมุติ
บทบาทสมมุติเป็นรูปแบบการสอนที่มีรากฐานมาจากแนวคิดทางการศึกษาของบุคคลและสังคมที่จะช่วยให้หาลักษณะเฉพาะของตนเองในสังคม
และรู้จักแก้ปัญหาด้วยความช่วยเหลือของกลุ่มสังคมยอมรับให้บุคคลทำงานด้วยกันเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ของสังคม
กระบวนการของบทบาทสมมุตนำพฤติกรรมง่ายๆของมนุษย์ที่ทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาส
แสดงความรู้สึก พัฒนาเจตคติ ค่านิยม และการรับรู้ พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและเจตคติในการแก้ปัญหา
และมองสิ่งต่างๆด้วยมุมมองที่หลากหลายเป้าหมายเหล่านนี้สะท้อนสมมุติฐานของบทบาทสมมุติดังนี้
1.
บทบาทสมมุติสนับสนุนการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์
2.
บทบาทสมมุติสามารถทำให้ผู้เรียนแสดงความรู้สึกที่จริงใจ
3.
อารมณ์และความคิดสามารุจะนำไปสู่ความมีสติและปฏิกิริยาของกลุ่มเพื่อจะนำไปสู่ความคิดใหม่ๆ
4.
กระบวนการทางจิตวิทยาที่แฝงอยู่จะสร้างความมีสติด้วยการประสานกันของการแสดงและวิเคราะห์
การสอนโดยอาศัยการเรียนรู้บนพื้นฐานของปัญหา
ปกติคนไทยโดยทั่วไปมักจะไม่ค่อยกล้าแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตนในที่สาธารณะมากนัก
แต่มักจะเก็บไปบ่นหรือปรารถนากันตามลำพัง
ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์นั่นอาจเป็นเพราะว่าในวัยเด็กไม่ได้รับการฝึกหรือกระตุ้นให้เกิดความคิด
และกล้าที่เสนอความคิดเห็นของตนต่อที่ประชุม ดังนั้น
การนำวิธีการเรียนรู้บนพื้นฐานของปัญหาหรือบางครั้งเรียกว่าการเรียนด้วยวิธีบทบาทสมสุติ
หรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
ซึ่งต่อไปจะเรียกว่าการเรียนรู้ด้วยวิธีปัญหาสมมุติมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นระบบซึ่งเรียกว่าคิดเป็น
แก้ปัญหาเป็น ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีการฝึกคนให้มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ความหมายของการเรียนด้วยวิธีปัญหาสมมติมีหลากหลาย แต่ที่เหมาะสมมากที่สุดคือ
ความหมายที่ให้โดยเบาด์และแฟลแลทที ซึ่งกล่าวว่า
การเรียนด้วยวิธีปัญหาสมมติเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการสอนที่เป็นปัญหาเป็นตัวกระตุ้นและเน้นที่กิจกรรมของผู้เรียน
ไม่ใช้วิธีการเรียนการแก้ปัญหาโดยเพิ่มเข้าไปในหลักสูตรเดิมอย่างง่ายๆแต่เป็นวิธีจัดหลักสูตรให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
การเรียนรู้แบบร่วมมือกันในชั้นเรียนบูรณาการ
เนื้อหาในสวนนี้มุ่งทบทวนวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันในชั้นเรียนปกติ
ซึ่งรวมถึงนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษด้วย
การอภิปรายมุ่งเน้นที่ข้อได้เปรียบของโครงสร้างเป้าประสงค์ในการร่วมมือกัน
รูปแบบของการเรียนรู้แบบร่วมมือกันตลอดจนตรรกะของการเรียนรู้แบบร่วมมือกันโครงสร้างของสิ่งจูงใจที่มีประสิทธิภาพละปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกันในที่นี้
จะหมายความถึงนิยาม ลักษณะและองค์ประกอบพื้นฐาน โครงสร้างทางทฤษฎีและกิจกรรมเริ่มต้น/อุ่นเครื่อง
👉นิยามการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเป็นการเรียนรู้ที่เน้นการร่วมมือกันของสมาชิกในทีมและระหว่างทีม
กล่าวคือนักเรียนในแต่ละทีมต้องให้ความร่วมมือกันและสนับสนุนกันภายในทีมของต้น
👊เป้าหมาย
เป็นเป้าหมายของการเรียนรู้ที่ปะสงค์จะให้เกิดความเชี่ยวชาญ รอบรู้ในวิชาที่เรียนสามารถทำทุกอย่างได้มากกว่าที่เขียนไว้ในหนังสือ
เน้นกระบวนการคิดและใช้เวลาในการไตร่ตรอง
👊วิธีการเรียนรู้ หมายถึงว่า จะทำอย่างไร
จึงจะนำไปสู่ความเชี่ยวชาญได้ ซึ่งมีอยู่สามรูปแบบด้วยกันคือ
1.
วิธีการทางบวก คือ
แบบพึ่งพากันหรือแบบร่วมมือกัน
2.
วิธีการทางลบในบางโอกาส คือ การแข่งขันกัน
3.
วิธีเป็นกลางหรือเรียกว่าตัวคนเดียว คือ
-วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
-การเรียนรู้แบบแข่งขันกัน
-วิธีการเรียนรู้แบบตัวคนเดียว
จอห์สันและจอห์สัน (Johnhon&Johnhon,1991) จัดให้มียุทธศาสตร์ 5 ประการที่อนุญาตเรียนรู้แบบร่วมมือกันไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพในเชิงวิชาการด้านใดๆคือ
1.
ระบุจุดประสงค์ของบทเรียนให้ชัดเจน
2.
ตัดสินใจในการกำหนดให้นักเรียนอยู่ในกลุ่มการเรียนรู้ใดก่อนที่จะสอน
3.
อธิบายภาระงาน
โครงสร้างของเป้าประสงค์และกิจกรรมการเรียนรู้อย่างชัดเจน
4.
เฝ้าระวังประสิทธิผลของกลุ่ม และคอยให้คววามช่วยเหลือ
5.
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
ลักษณะและองค์ประกอบพื้นฐาน
1.
ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
หรือการพึ่งพาในทางบวก
2.
ความสัมพันธ์แบบหันหน้าเข้ากัน
3.
มาตรฐานการตรวจสอบรายบุคคล
4.
การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
5.
การใช้กระบวนการกลุ่ม
รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
การเรียนแบบร่วมมือกันมีหลายรูปแบบ
แต่รูปแบบที่นิยมใช้กันมากในประเทศสหรัฐอเมริกามี 7 รูปแบบ คือ
แบบรวมหัวกันคิด เมื่อครูต้องการสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนในเรื่องที่ครูสอนไปแล้วตามวิธีการแบบดั้งเดิมครูจะใช้วิธีเรียกชื่อนักเรียนตอบคำถามทีละคน
หรือนักเรียนยกมือเพื่อตอบคำถามแล้วคนที่เรียกนักเรียนคนใดคนหนึ่งให้ตอบคำถาม
จุดอ่อนของวิธีดังกล่าวคือ จะมีนักเรียนฟังไม่กี่คนในห้องที่จะได้ตอบคำถาม
นักเรียนส่วนใหญ่ที่ไม่มีโอกาสตอบคำถามที่จะเกิดความรู้สึกผิดหวัง
ไม่มีส่วนร่วมเป็นสามเหตุ
แบบร่วมมือกัน การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มขนาดเล็กได้ทำงานร่วมกันมากที่สุด
โดยเอาความรึความเข้าใจสมาชิกของกลุ่มบูรณาการเป็นผลงานของกลุ่ม
และนำผลงานหรือประสบการณ์ที่ได้นำเสนอต่อสมาชิกในชั้นเรียน
เพื่อให้สมาชิกคนอื่นๆได้รับความรู้และประสบการณ์ที่กลุ่มไปศึกษานั้นด้วย
ขั้นตอนในการปฏิบัติของการเรียนแบบนี้มี 10 ขั้นตอนคือ
1.
การอภิปรายทั้งชั้นเรียนโดยให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง
2.
การคัดเลือกลุ่มนักเรียน
3.
การสร้างทีมพัฒนาทักษะ
4.
การคัดเลือกหัวเรื่อง
5.
การคัดเลือกหัวข้อย่อย
6.
การเตรียมหัวข้อย่อย
7.
การนำเสนอหัวข้อย่อย
8.
การเตรียมเสนอผลงานของทีม
9.
การนำเสนอผลงานของทีม
10.
การประเมินผลด้วยวิธีกาสามอย่างคือ
10.1
สมาชิกในทีมงานประเมินผลงานของแต่ละคนที่นำเสนอหัวข้อย่อยในทีมของตนเพื่อนร่วมชั้นประเมินผลงานของแต่ทีมที่นำเสนอต่อชั้นเรียน
10.2
ครูประเมินในส่วนที่เป็นรายงานเฉพาะบุคคล
แบบประสานความรู้ การเรียนในลักษณะประสานความรู้
เริ่มต้นโดยการแบ่งนักเรียนในชั้นเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยครูให้หัวข้อหรือปัญหาแล้วแบ่งหัวข้อให้สมาชิกและคนไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้
ทั้งนี้เมื่อแต่ละคนได้ความรู้มาแล้วก็จะนำไปร่วมศึกษากับสมาชิกกลุ่มอื่นที่ได้หัวข้อเหมือนตนเอง
จนได้ความรู้เพิ่มเติม ครบบริบูรณ์ การอภิปรายงานกลุ่ม โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.
ครูแจ้งเรื่องที่จะเรียน
จะเรียนอย่างหรือจะขยายความรู้อย่างไร ติดภาพไว้ให้เด็กได้ดูกิจกรรมที่จะจัด
2.
จัดกลุ่ม/ทีม
ถ้ากลุ่มเดิมยังไม่หมดอายุก็ให้ใช้ก่อน (ประมาณหกสัปดาห์)
หากหมดอายุแล้วก็จัดกลุ่มใหม่
3.
แบ่งงานศึกษาเรื่องที่กำหนด
4.
ศึกษากับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
5.
รายงานผลหรือให้ความรู้กับผู้ร่วมทีม
6.
ทดสอบ คำนวณคะแนน และประเมินผล
7.
การยอมรับของกลุ่ม/ทีม และให้การชมเชย
แบบประชุมโต๊ะกลม เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
ซึ่งเป็นการฝึกให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นด้วยการเขียนลงบนกระดาษจากปัญหาเดียวกัน
เหมาะกับนักเรียนที่เขียนหนังสือได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.
การเสนอปัญหา
โดยครูจะถามคำถามซึ่งมีคำตอบหลายคำตอบ
2.
คำตอบของนักเรียน ให้นักเรียนเขียนคำตอบของตนลงในกระดาษแผ่นเดียวกันเวียนทางเดียวกันจนครบทุกคน
การสอนด้วยวิธีหมวกหกใบ ในปัจจุบันจัดการเรียนการสอนให้ได้คุณภาพสูง
ต้องอาศัย การคิด การสอนให้คิด
วงการศึกษาไทยได้มีความเคลื่อนไหวในเรื่องของการคิดมาหลายปีแล้ว
ความคิดเหล่านี้ทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำมาใช้ในการสอนหลายเรื่อง เช่น
แนวการสอนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น
แนวการสอนเพื่อพัฒนาความคิดมีสามแนวทาง
1.
การสอนเพื่อพัฒนาการคิกโดยตรง
ด้วยการใช้สื่อการเรียนการสอนประเภทบทเรียนสำเร็จรูป หรือกิจกรรมสำเร็จรูป
2.
การสอนเนื้อหาสาระต่างๆโดยใช้รูปแบบหรือกระบวนการสอนที่เน้นการพัฒนาการคิดการสอนลักษณะนี้มุ่งรวมเนื้อหาสาระตามจุดประสงค์ของหลักสูตร
แตเพื่อช่วยให้การสอนเป็นการช่วยพัฒนาความสามารถในการคิดของผู้เรียนไปในตัว
ผู้สอนสามารถนำรูปแบบการสอนเป็นการช่วยพัฒนาความสามารถในการคิดของผู้เรียนไปในตัว
3.
การสอนเนื้อหาสาระต่างๆโดยพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาลักษณะการคิดแบบต่างๆรวมทั้งทักษะการคิดทักษะย่อยและทักษะผสมผสานในกิจกรรมการเรียนการสอน
หมวกหกใบ เป็นตัวแทนของการคิดหกลักษณะ
และเป็นทิศทางที่นำไปสู่การคิดมากกว่าที่จะให้ชื่อว่าเป็นความคิด นั่นคือ
เป็นหมวกที่ใช้ในเชิงรุกมากกว่าที่จะใช้ในเชิงรับ(ตอบสนอง)
จุดประสงค์สำคัญ คือว่า หมวกแต่ละใบจะเป็นทิศทางในการคิด
มากกว่าที่จะเป็นต้นความคิด เหตุผลทางทฤษฎีที่สำคัญในการใช้การคิดแบบหมวกหกใบ คือ
1.
ส่งเสริมความคิดแบบคู่ขนาน
2.
ส่งเสริมการคิดที่เต็มรูปแบบ
3.
แยกตัวเองออกจากการปฏิบัติ
"ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ
โบโน" เป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดเรื่อง Lateral Thinking (การคิดนอกกรอบ) และเป็นคนพัฒนาเทคนิคการคิดริเริ่มสร้างสรรค์
และได้พัฒนาเป็นแนวคิดที่เรียกว่า "Six Thinking Hats" ซึ่งเป็นวิธีคิดที่มีมุมมองแบบ "รอบด้าน"
ความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้บริหาร
เพราะนอกจากจะช่วยสร้างสิ่งใหม่ๆ แล้ว ยังช่วย ในการคิดค้นกลยุทธ์แก้ไขปัญหาต่างๆ
ซึ่ง "เดอ โบโน" พบว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ ทุกคนมีอยู่
หรือสร้างขึ้นมาได้ แต่จะต้องมาฝึกกระบวนการสร้างความคิดดังกล่าว
ในแต่ละวันตั้งแต่ตื่นนอน ทุกคนย่อมต้องมีการคิดในเรื่องต่างๆ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ
โบโน จึงได้ให้เทคนิค “6 หมวกการคิด”
เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมี ประสิทธิภาพมากขึ้น
วิธีการดังกล่าวได้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งบริษัทข้ามชาติอย่างเช่นบริษัท
ไอบีเอ็ม และเซลส์ เป็นต้น
หมวกแต่ละใบเป็นการนำเสนอทางเลือกที่เป็นไปได้ตามมุมมองต่างๆ ของปัญหา
โดยวิธีการสวมหมวกทีละใบในแต่ละครั้ง
เพื่อพลังของการคิดจะได้มุ่งเน้นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นการเฉพาะ
ซึ่งจะทำให้ความเห็นและความคิดสามารถแสดงออกได้อย่างอิสระ
สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่จำเป็นได้
และยังเป็นการดึงเอาศักยภาพของแต่ละคนมาใช้โดยที่ไม่รู้ตัว
Six Thinking Hats สูตรบริหารความคิดของ "เดอ
โบโน" จะประกอบด้วยหมวก 6 ใบ 6 สี
คื
White Hat หมวกสีขาว สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง
จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น
คือ ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้นๆ ไม่ต้องการความคิดเห็น
Red Hat หมวกสีแดง สีแดงเป็นสีที่แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึก
เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี
ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ
Black Hat หมวกสีดำ สีดำ
เป็นสีที่แสดงถึงความโศกเศร้า และการปฏิเสธ เมื่อสวมหมวกสีนี้ ต้องพูดถึงจุดด้อย
อุปสรรคโดยมีเหตุผลประกอบ ข้อที่ควรคำนึงถึง เช่น เราควรทำสิ่งนี้หรือไม่
ไม่ควรทำสิ่งนี้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทำให้การคิดมีความรอบคอบมากขึ้น
Yellow Hat หมวกสีเหลือง สีเหลือง
คือสีของแสงแดด และความสว่างสดใส เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายถึง การคิดถึงจุดเด่น
โอกาส สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลในเชิงบวก เป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนา
สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
Green Hat หมวกสีเขียว
สีเขียว
เป็นสีที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต เมื่อสวมหมวกสีนี้
จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
Blue Hat หมวกสีน้ำเงิน
สีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบ
จะเป็นเหมือนท้องฟ้า หมวกนี้เกี่ยวกับการควบคุม การบริหารกระบวนการคิด
หรือการจัดระเบียบการคิด
สรุป
การคิดแบบหมวกหกใบพัฒนาขึ้น
โดย เดอ โบโน ชาวอังกฤษ
การคิดในลักษณะนี้ได้รับความนิยมมากในวงการธุรกิจและการเรียนการสอน
เพราะเชื่อว่าสามารถพัฒนาความคิดของผู้เรียนได้โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ วัฒนธรรม
และระดับชั้นเรียน ง่ายแก่การนำไปใช้เพราะเป็นกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อน ประโยชน์ของการใช้หมวกคือ จะช่วยให้ผู้เรียนได้พยายามคิดอย่างรอบคอบ
สร้างสรรค์ทั้งจุดดี จุดด้อย จุดที่น่าสนใจ
ตลอดจนความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้นๆแทนที่จะยึดติดอยู่กับความคิดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
หรือยึดติดอยู่กับความคิดด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว หมวกแห่งความคิดมีทั้งหมดหกใบและหกสี
คือ สีขาว สีแดง สีดำสีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน
หมวกทั้งหกสีไม่มีลำดับขั้นตอนหรือข้อกำหนดตายตัวว่า ควรใช้สีใดก่อน
ผู้สวมหมวกจะเป็นใครก็ได้ ผู้สอนหรือผู้เรียน
หรือคนอื่นๆเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์หรือเป็นตัวแทนให้ผู้สวมได้แสดงความคิดประเด็นต่างๆตามสีของหมวกที่สวม
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ผู้สอนสามารถนำความคิดแบบหมวกหกใบมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญได้
เพราะผู้เรียนจะได้มีโอกาสพัฒนาความคิดอย่างหลากหลายเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
ได้ค้นพบสาระสำคัญของบทเรียนโดยดารฝึกคิด การวิเคราะห์ การสร้างสรรค์จิตนาการ
และการแสดงออกได้อย่างชัดเจน
ผู้เรียนจึงมีบทบาทในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเองสอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนรู้
อ้างอิง
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น