การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
หรือการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เป็นการเรียนรู้มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน สนองความแตกต่างระหว่าง บุคคล
ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เรียนรู้อย่างมีความสุข
ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพรอบด้านสมดุล
หรืออีกนัยหนึ่งว่า การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
หมายถึงการสอนที่มุ่งจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เหมาะกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน
จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้เช่นกันว่า
หมายถึงผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เรียนอย่างมีความสุข
แนวคิด
ปัจจุบันมีการกล่าวขานกันมากถึงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เป็นศูนย์กลาง
หรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งนักการศึกษาเป็นผู้คิดค้นและใช้คำนี้เป็นครั้งแรก
คือ อาร์ โรเจอร์
โดยเชื่อว่าวิธีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ
โดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพสูงสุดของตนเอง
โดยมีแนวคิดดังนี้
1.
ผู้เรียนต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน
2.
เนื้อหาวิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียน
3.
การเรียนรู้จะประสบความสำเร็จ
ถ้าผู้เรียนมีส่วนร่วม
4.
สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้เรียน
การมีปฏิสัมพันธ์
5.
ครูเป็นมากไปกว่าผู้สอน
ครูเป็นทั้งทรัพยากรบุคคล เป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นผู้อำนวยความสะดวก
6.
ผู้เรียนมีโอกาสเห็นตัวเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม
7.
การศึกษาเป็นการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆด้าน
8.
ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ
9.
ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
10.
การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย
11.
การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสอนให้ผู้เรียนรู้จักวิพากษ์วิจารณ์
12.
การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทำให้เกิดการนำตนเอง
13.
การเน้นเรียนเป็นศูนย์กลาง
ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
14.
การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ก่อให้เกิดการพัฒนามโนทัศน์ของตน
15.
การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เป็นการเสาะแสวงหาความสามารถพิเศษของผู้เรียน
16.
การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นวิธีการที่ดีจะช่วยดึงศักยภาพของผู้เรียน
อ้างอิง
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น