ทฤษฎีการเรียนการสอน
เป็นสิ่งจำเป็นที่จะผนวกเข้ากับทฤษฎีการเรียนรู้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง
การพัฒนาทฤษฎีการเรียนการสอนขาดความเอาใจใส่ ละเลย
และเมื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีการเรียนรู้แล้ว
ทฤษฎีการสอนเกือบจะไม่ได้รับการกล่าวถึงในผลงานการเขียนทางทฤษฎีของนักจิตวิทยา
เห็นได้จากบทคัดย่อทางจิตวิทยาจะเต็มไปด้วยปฏิบัติการทางการเรียนรู้
และการเรียนรู้ภายในโรงเรียนเป็นจำนวนมาก
และมีเพียงเล็กน้อยที่เกี่ยวข้องกับการสอน
และในส่วนที่มีนี้ยังรวมอยู่ภายในส่วนของ “บุคลากรทางการศึกษา” อีกด้วย
หรือในการทำรายงานทางจิตวิทยาประจำปีโดยปกติจะมีบทที่ว่าด้วยการเรียนรู้นานๆครั้งจึงจะพบเรื่องของการสอนเพียงเล็กน้อย
หนังสือทั้งเล่มหลายเล่มอุทิศให้กับความรู้
มีหนังสือจำนวนน้อยที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการสอนอย่างกว้างขวาง
ตำราจิตวิทยาการศึกษาจะให้เนื้อที่กับการอภิปรายเกี่ยวกับการเรียนรู้และผู้เรียนมากกว่าวิธีการสอนและครู
(Gage, 1964:269)
เหตุผลต่อการเพิกเฉยต่อทฤษฎีการสอนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
การตรวจสอบเหตุผลที่จะกล่าวต่อไปนี้อาจจะช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปได้หรือไม่ที่ทฤษฎีการสอนจะมีการก่อตัวขึ้นและเป็นไปตามต้องการ
ศิลปะกับวิทยาศาสตร์ บางครั้งความพยายามที่พัฒนาทฤษฎีการสอนดูเหมือนว่าจะเป็นนัยของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ด้วย
แต่ผู้เขียนบางคนปฏิเสธความคิดในเรื่องของวิทยาศาสตร์การสอนไฮเจท (Highet)
ได้เขียนหนังสือ”ศิลปะการสอน” และกล่าวว่า
…เพราะผมเชื่อว่า
การสอนเป็นศิลปะไม่ใช่วิทยาศาสตร์มันดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่น่าอันตรายในการมากในการที่จะประยุกต์จุดหมายละวิธีการทางวิทยาศาสตร์กับแต่ละบุคคล
แม้ว่าหลักการทางทางสถิติสามารถที่จะใช้การอธิบายพฤติกรรมในกลุ่มใหญ่และวินิจฉัยโครงสร้างทางกายภาพโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ก็ตามโดยปกติแล้วมีคุณค่ามาก....แน่นอนที่สุด
ที่เป็นความจำเป็นของครูบางคนที่จะเรียงลำดับในการวาแผนงานให้ถูกต้องแม่นยำ
โดยอาศัยข้อความจริงแต่สิ่งนั้นไม่ได้ทำให้การสอนเป็น “วิทยาศาสตร์” การสอนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ซึ่งไม่สามารถจะประเมินได้อย่างเป็นระบบและใช้งานได้เป็นค่านิยมของมนุษย์ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของวิทยาศาสตร์
การใช้วิทยาศาสตร์กาสอนหรือแม้แต่วิชาที่เป็นวิทยาศาสตร์จะไม่เป็นการเพียงพอเลย
ตราบที่ทั้งครูและนักเรียนยังคงเป็นมนุษย์อยู่
การสอนไม่เหมือนกับการพิสูจน์ปฏิกิริยาทางเคมี การสอนมากไปกว่าการวาดภาพ
หรือการทำชิ้นส่วนของเครื่องดนตรีหรือการปลูกพืชหรือการเขียนจดหมาย (Highet,1955
requoted from gage,1964:270)
โฮเจท
ได้โต้แย้ง คัดค้าน ต่อต้านพัฒนาการของวิทยาศาสตร์การเรียนรู้ โดยโต้แย้งว่าในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสอนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาวิทยาศาสตร์การสอนโดยเห็นว่าไม่สมควรจะให้ความเท่าเทียมกันในความพยายามเกี่ยวกับกิจกรรม
กับความพยายามที่จะขจัด ปรากฏการณ์เกี่ยวกับนิสัย และคุณลักษณะทางศิลปะ การวาดภาพ
การเรียบเรียง และแม้แต่การเขียนจดหมาย และการสนทนา
เป็นเรื่องที่สืบทอดกันมาและถูกกฎหมาย
และสามารถเป็นเนื้อหาวิชาที่จะวิเคราะห์ทางทฤษฎีได้
จิตกรแม้จะมีศิลปะอยู่ในงานที่ทำ
บ่อยครั้งที่แสดงให้เห็นจากการแสดงออกของผู้เรียนว่าในงานศิลปะของนักเรียนจะมีเรื่องทฤษฎีของสี
สัดส่วนที่เห็น ความสมดุลหรือนามธรรมรวมอยู่ด้วย
จิตรกรผู้เต็มไปด้วยความเป็นจิตรกรอย่างถูกต้องไม่ได้เป็นโดยอัตโนมัติ
ยังคงต้องการขอบเขตที่กว้างขวางสำหรับความฉลาด และความเป็นส่วนบุคคล
กระบวนการและผลผลิตของจิตรกรไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับผู้รู้หรือผู้คงแก่เรียน
การสอนก็เช่นเดียวกัน
แม้ว่าจะต้องการความเป็นศิลปะ แต่ก็สามารถที่จะ
ได้รับการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ได้ด้วย พลังในการอธิบาย ทำนาย และควบคุม
เป็นผลจากการพินิจวิเคราะห์ ไม่ใช่ผลจากเครื่องจักรการสอน เช่น
วิศวกรสามารถที่จะคงความเชื่ออยู่ภายในทฤษฎีที่ว่าด้วยความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับความร้อน
ครูจะมีห้องสำหรับความหลากหลายทางศิลปะในทฤษฎีที่ศึกษาทางวิทยาศาสตร์การสอนที่อาจจะจัดทำขึ้นและสำหรับงานที่ของผู้ที่ฝึกหัด
จ้าง
และนิเทศครูทฤษฎีและความรู้ที่อาศัยการสังเกตการสอนจะเป็นการจัดเตรียมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
ทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ว่าผู้เรียนทำอะไร
แต่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาต้องขึ้นอยู่กับว่าส่วนใหญ่แล้วครูทำอะไร นั่นคือ
ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงอย่างไรในธุรกิจการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
ตอบสนองต่อพฤติกรรมของครูหรืออื่นๆ ที่อยู่ในวงของการศึกษา ครูเท่านั้นที่จะเป็นผู้นำความรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติ
และวิธีการต่างๆ
ที่ครูจะทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดผลประกอบขึ้นเป็นส่วนของวิชาทฤษฎีการสอนในช่วงเวลาที่ยังไม่พัฒนาทฤษฎีการเรียนการสอน
ดังนั้น ครูจะกระทำตามในเหล่านี้เพื่อที่จะปรับปรุงการเรียนรู้
ทฤษฎีการสอนและการศึกษาเกี่ยวกับการสอนอาจจะสามรถทำให้เกิดการใช้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ดีกว่าได้
ทฤษฎีการสอนควรเกี่ยวข้องกับการอธิบาย การทำนาย
และการควบคุมทิศทางครูที่ครูปฏิบัติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
ภาพที่เป็นลักษณะนี้ทำให้มีพื้นที่ (Room) มากพอสำหรับทฤษฎีการสอน
ดังนั้นทฤษฎีการสอนก็คงเกี่ยวข้องกับขอบเขตทั้งหมดของ
ปรากฏการณ์ที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่หรอถูกละเลยจากทฤษฎีการเรียนรู้ด้วย
ความชัดเจนของทฤษฎีการเรียนการสอนควรจะเป็นประโยชน์กับการผลิตครู
ในการผลิตครู บ่อยครั้งที่ดูเหมือนว่าจะมีการอ้างทฤษฎีการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติการสอน
การที่เรารู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ไม่เป็นการเพียงพอที่จะบอกว่า
เราควรจะทำอะไรเกี่ยวกับการสอน
สิ่งที่ไม่เพียงพอเหล่านี้จะเหล่านี้จะเห็นได้ชัดในรายวิชาจิตวิทยาการศึกษา
จากตำรา จากคำถามผู้เรียนว่า “ครูจะสอนอย่างไร” ในขณะที่คำตอบบางส่วนอาจได้จากการพิจารณาว่า
ผู้เรียนเรียนรู้อย่างไร ซึ่งผู้เรียนไม่สามารถรับความรู้ทั้งหมดได้ด้วยวิธีการนี้อย่างเดียว
ครูส่วนมากต้องรู้เกี่ยวกับการสอนว่าไม่ได้เป็นไปตามความรู้ในกระบวนการเรียนรู้โดยตรง
ความรู้ของครูต้องการความชัดเจนมากไปกว่าการลงความคิดเห็น
ชาวนาจำเป็นต้องรู้มากเกินไปกว่าที่จะรู้แต่เพียงว่า ข้าวโพดโตอย่างไร
ครูเองก็ไม่จำเป็นต้องรู้ไปมากกว่าที่จะรู้แต่เพียงว่านักเรียนเรียนรู้อย่างไร
เช่นกัน
ครูต้องรู้ว่าจะจัดการกับพฤติกรรมของตนเองซึ่งมีผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไรความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ
ในการอธิบายและการควบคุมการปฏิบัติการเรียนการสอนต้องการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการสอนที่ถูกต้องของตนเอง
ผู้เรียนจิตวิทยาการศึกษาแสดงความข้องใจว่า
ได้เรียนรู้มากเกี่ยวกับการเรียนรู้และผู้เรียน แต่ไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสอนและได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของการสอนแบบสืบสวน
ซึ่งรวมอยู่ในทฤษฎีการเรียนการสอนด้วย
อ้างอิง
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น