การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ สอนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิจิตรา ธงพานิช ผู้จัดทำ นางสาวสุทธิดา เชีียรรัมย์

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561

หลักการเรียนรู้




            การเรียนการสอนเป็นการทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจต่อภาระงานเป็นการจูงใจผู้เรียนด้วยการอธิบายประโยชน์ของสัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์ และโยงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ใหม่ๆเข้ากับการเรียนรู้เดิม
            การนำเสนอนี้จะมุ่งไปที่เหตุการณ์ระหว่างที่มีการนำสารสนเทศ ข้อความจริงมโนทัศน์ หลักการ หรือวิธีการไปสู่นักเรียนข้อกำหนดของการเสนอจะมีหลากหลายขึ้นอยู่กับแบบของการเรียนรู้ที่จะประสบผลสำเร็จและระดับพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอนของผู้เรียน

การแนะนำบทเรียน
            การแนะนำบทเรียน กิจกรรมเริ่มแรกของกระบวนการเรียนการสอนการเรียนรู้ คือ ทำให้ผู้ตั้งใจเรียนและเตรียมผู้เรียนไปสู่การปฏิบัติ ในการแนะนำบทเรียนควรอธิบายจุดประสงค์ของการเรียนการสอน พรรณนาประโยชน์ของการบรรลุผลสำเร็จตามจุประสงค์และโยงความสัมพันธ์สำหรับสิ่งที่ผู้เรียนรู้ใหม่กับความรู้เดิม
            ผู้เรียนจะประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ถ้าได้รับรู้ว่าการเรียนการสอนจะเริ่มต้นเมื่อไร และคาดหวังอะไร เมื่อรู้แล้วจะสามารถพุ่งความสนใจไปที่กิจกรรมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์

การนำเสนอเนื้อหาใหม่
            การนำเสนอเนื้อหาใหม่เมื่อมีการเรียนรู้ใหม่ บทเรียนควรนำเสนอข้อความจริง มโนทัศน์และกฎหรือพรรณนาสาธิตทักษะการนำเสนอเนื้อหาใหม่ๆ ให้จดจำได้ง่ายควรนำเสนออย่างมีลำดับมีแบบโครงสร้างจะทำให้มีความหมายต่อผู้เรียนมาก การขจัดสารสนเทศแทรกซ้อนไม่เป็นที่ต้องการและขจัดเนื้อหาที่สับสนและไม่เกี่ยวข้องออกไปก่อผลดีต่อผู้เรียน
            ในการวางแผนเพื่อนำเสนอ ควรหลีกเลี่ยงสารสนเทศที่มากเกินไป การสอนที่เร่งรีบก่อให้เกิดการเพิ่มจำนวนสารสนเทศให้ดูมากเกินไป

การฝึกปฏิบัติ
            การฝึกปฏิบัติการเรียนรู้เป็นกระบวนการของการตื่นตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มีการผลิต มีการปฏิบัติ หรือมีการพยายามใช้มือกับภาระการงานที่ได้เรียนรู้การฝึกปฏิบัติเป็นส่วนผสมที่สำคัญที่สุดของการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเร่งการเรียนรู้ช่วยให้จดจำได้นาน และให้ความสะดวกในการระลึกได้
            การเรียนการสอนจะลดประสิทธิภาพลง เมื่อไม่มีโอกาสปฏิบัติภาระงานหรือเมื่อการปฏิบัติเลื่อนช้าออกไปจนกระทั่งการเรียนการสอนนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว

การปฏิบัติที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย การปฏิบัติอาจเป็นไปได้ทั้งการตอบสนองที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย การตอบสนองแบบเปิดเผย เช่น การเขียนคำตอบ การแสดงวิธีการ ส่วนการตอบสนองที่ไม่เปิดเผย เช่น การคิดคำตอบ

ตารางฝึกปฏิบัติ โดยทั่วไปแล้วยิ่งผู้เรียนมีโอกาสตอบสนองมากเท่าไหร่ การเรียนรู้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมากเท่านั้น โอกาสในการฝึกปฏิบัติไม่ควรจะมากในช่วงเวลาเดียว

การปฏิบัติเชิงการเปลี่ยนแปลง เป็นสะพานข้ามช่องว่างระหว่างพฤติกรรมระดับความพร้อมที่จะรับการสอน และการปฏิบัติตามเกณฑ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการเรียนรู้ที่จะเพิ่มจากระดับความพร้อมที่จะได้รับการสอนไปถึงเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติให้ได้เป็นความตั้งใจที่จะจัดเตรียมผู้เรียนล่วงหน้า ในการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์ที่ผู้เรียนจะสามารถรับได้



อ้างอิง 
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น