การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ สอนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิจิตรา ธงพานิช ผู้จัดทำ นางสาวสุทธิดา เชีียรรัมย์

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561

ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้




            การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวรเนื่องจากการฝึกปฏิบัติหรือประสบการณ์การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสามประการ คือ ประการแรก ความสามารถของผู้เรียน ประการที่สอง ระดับของแรงจูงใจ และ ประการสุดท้าย ธรรมชาติของภาระงาน
            การเรียนรู้มีกระบวนการดังนี้ คือ
1.แรงจูงใจภายในทำให้ผู้เรียนรับความคิดง่าย
2.เป้าประสงค์ทำให้มีสำคัญได้ถึงความต้องการจำเป็นในสิ่งที่เรียน
3.ผู้เรียนเสาะหาวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา
4.ผลของความก้าวหน้าจากการเลือกแก้ปัญหาที่ลดความตึงเครียด
5.การขจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

ขอบเขตของการเรียนรู้สี่ประการ
           บลูมและเพื่อนๆเป็นที่รู้จักกันดีในการแบ่งการเรียนรู้ออกเป็นสามประเภท คือ ด้านปัญญาหรือพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย และด้านจิตพิสัย การเรียนรู้ทั้งสามประการนี้ควรที่จะได้รับการพิจารณาในการวางงแผนผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนการสอน ในการที่จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของการศึกษาขอบเขตการเรียนรู้ทั้งสามนี้ต้องได้รับ
การบูรณาการเข้าไว้ในทุกลักษณะของการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรซึ่งจะทำให้ผู้เรียนกลายเป็นจุดโฟกัสของกระบวนการเรียนการสอนการเรียนรู้ ดังภาพที่ 6.3

ภาพที่ 6.3 บูรณาการของพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย

อนุกรมอภิธาน เป็นระบบของการแยกแยะบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้นอนุกรมอภิธานของการศึกษาจึงแยกแยะพฤติกรรมที่นักเรียนสามารถคาดหวังที่จะทำให้ได้ภายหลังจากที่ได้เรียนรู้แล้วอนุกรมภิธานเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ อนุกรมภิธานด้านพุทธิพิสัยของบลูมและเพื่อนๆ

พุทธิพิสัย รวมถึง ความรู้ ความเข้าใจการนำไปประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า พุทธิพิสัยแต่ละประเภทในอนุกรมภิธานประกอบด้วยองค์ประกอบบางประการของประเภทความรู้ที่ต้องมาก่อนอนุกรมภิธานนี้มีประโยชน์สำหรับการออกแบบหลักสูตรและการสร้างแบบทดสอบ

จิตพิสัย การเรียนรู้ทางเจตคติพาดพึงถึงคุณลักษณะของอารมณ์ของการเรียนรู้ เกี่ยวข้องการว่านักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ รู้สึกอย่างไรกับการเรียนรู้กับตนเอง และเป็นการพิจารณาความสนใจ ความซาบซึ้ง เจคติค่านิยมและคุณลักษณะของผู้เรียน

ทักษะพิสัย เกี่ยวข้องกับทางร่างกายหรือทักษะทางประสาทและกล้ามเรื้อสัมพันธ์กันมนการเฝ้าดูการเรียนรู้ที่จะเดินก็จะเกิดความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อเด็กได้รับความคิดว่าต้องการอะไร และมีทักษะที่ต้องมีมาก่อนมีความแข็งแรง และวุฒิภาวะและอื่นๆ เด็กจะพยายามมีความหยาบๆ ซึ่งจะค่อยๆ แก้ไขผ่านข้อมูลกลับย้อนมาจากสิ่งแวดล้อม

สังคมพิสัย มีความใกล้เคียงและสัมพันธ์กับจิตพิสัย และเกี่ยวข้องกับการปรับตัวของบุคคลและทักษะการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซิงเกอร์และดิค ได้สรุปสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสังคมพิสัยไว้สี่ประการ ดังนี้คือ ประการแรก ความประพฤติ การปฏิบัติ ประการที่สอง ความมั่นคงทางอารมณ์ ประการที่สาม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และประการสุดท้าย การรู้จักเติมเต็มตนเองให้สมบูณ์ที่เรียกว่า Self-fulfilment ครูต้องมั่นใจในทักษะทางสังคมทางบวกมากว่าทางลบว่าเป็นผลที่ปรากฏภายหลังของการศึกษา



            องค์ประกอบการเรียนรู้ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 5 ประการ คือ
1.      ตัวผู้เรียน ซึ่งหมายถึงวุฒิภาวะและความพร้อม อายุ เพศ ประสบการณ์เดิม สมรรถวิสัย ความบกพร่องทางร่างกายบางประการ การจูงใจ สติปัญญาและอารมณ์
2.      บทเรียน ประกอบด้วย ความยากง่ายของบทเรียน ความมีความหมายของสิ่งที่เรียน ความยาวของบทเรียน ตัวรบกวนการเรียน
3.      วิธีการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน สิ่งจูงใจ คำแนะนำและการแนะแนว การส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ประสารทรับรู้ช่วยการเรียน การสอนรวดเดียวหรือทีละตอน การเสริมแรงทั้งทางบวกและทางลบและระดับของการเรียนรู้ การท่องจำ การรู้ผล สิ่งกระตุ้นต่างๆ
4.      การถ่ายโยงการเรียนรู้
5.      องค์ประกอบจากสิ่งต่างๆทั้งด้ายกายภาพและจิตใจ

องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเรียนรู้
            จากการศึกษาของนักจิตวิทยาและนักการศาพบว่า องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ คือ องค์ประกอบด้านเชาวน์ปัญญา และองค์ประกอบที่ไม่ใช่สติปัญญา
องค์ประกอบด้านสติปัญญา นักจิตวิทยาและนักการศึกษาได้พยายามศึกษาค้นคว้าเรื่องขององค์ประกอบด้านสติปัญญา และได้นำเสนอสมรรถภาพทางสมองของมนุษย์ไว้หลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเอกนัยของบิเนท์
องค์ประกอบด้านที่ไม่ใช้สติปัญญา เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนไม่น้อยกว่าองค์ประกอบด้านสติปัญญา ได้แก่ เจคติที่มีต่อวิชาที่เรียน ขนาดของโรงเรียยน ละศึกษาของบิดามารดา (Anastasi,1961:142) เพรสคอทท์ ได้สรุปองค์ประกอบที่มีอิทธิพลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ 5 ประการ
1.      องค์ประกอบทางกาย ได้แก่ความสัมพันธ์ระหว่าบิดากับมารดา
2.      องค์ประกอบทางด้านวัฒนธรรมและการขัดเกลาทางสังคม
3.      องค์ประกอบทางด้านความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน
4.      องค์ประกอบทางด้านการพัฒนาแห่งตน
5.      องค์ประกอบทั้งห้าตัวมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน


อ้างอิง 
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น