การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ สอนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิจิตรา ธงพานิช ผู้จัดทำ นางสาวสุทธิดา เชีียรรัมย์

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน




คำว่าสื่อ (medium หรือ Media) ในที่นี้มีความหมายกว้างมาก การเรียนการสอนในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากเสียงของผู้สอน ตำราเทป วีดีทัศน์ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์ medium หรือ media มาจากภาษาละติน หมายถึง บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ตรงกลาง (intermediate หรือ middle) หรือเครื่องมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการของการสื่อสารที่ส่งไปถึงประชาชนเป็นพาหะของการโฆษณา ( Guralninkjv07,1970) ดังนั้นเมื่อพิจารณาในด้านของการสื่อสารแล้วสื่อจึงหมายถึงสิ่งที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดไปสู่ผู้รับเช่นวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ รูปภาพวัสดุฉาย สิ่งพิมพ์ และสิ่งดังกล่าวนี้เมื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนเรา เรียกว่า สื่อการเรียนการสอน

มีอยู่บ่อยครั้งที่ผู้ออกแบบจำกัดการเลือกซื้อของตนเอง เพราะว่าได้ตัดสินใจไปเรียบร้อยแล้วเช่น การพิจารณานโยบายงบประมาณสิ่งที่จะกล่าวต่อไปไม่ได้เป็นเพียงสถานการณ์ในอุดมคติเท่านั้น การเลือกสื่อ ควรจะได้มีการกระทำหลังจากได้มีการวิเคราะห์เนื้อหาวิชาแล้วในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกสื่อที่เหมาะสมเพื่อการสื่อสารเหตุการณ์ต่างๆในการเรียนการสอน

กลยุทธ์การสอนและการตัดสินใจเลือกสื่อเป็นความสัมพันธ์ระหว่างกันและควรจะทำไปพร้อมกันหลังจากที่ได้มีการพัฒนาจุดประสงค์ของการเรียนการสอนแล้วแบบจำลองในการเลือกสื่อมีทั้งแบบที่มีความเรียบง่ายและแบบที่มีความซับซ้อนโรเบิร์ต เมเจอร์ ( Robert Mager) (Knirk and Gustafson,1986 : 1969) ผู้ซึ่งเป็นนักออกแบบการสอนเพื่อการค้าที่จะประสบความสำเร็จ ได้กล่าวว่า กระดาษเป็นตัวกลางอย่างหนึ่งของการเลือก นอกจากว่าในกรณีที่ดีที่จะสามารถเลือกใช้สิ่งที่ทำมาจากอย่างอื่นวัสดุที่เป็นกระดาษมีราคาแพงในการออกแบบและผลิตง่ายที่จะผลิตเพิ่มใช้ง่ายและนักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่าง ของแบบจำลองง่ายๆสำหรับการเลือกสื่อส่วนใหญ่ ส่วนแบบจำลองที่ซับซ้อนเป็นวิธีการที่ส่วนใหญ่ควรจะหลีกเลี่ยงเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ของทหารก็คืออย่าโง่เลยทำให้ดูง่ายๆเถอะ (KISS : Keep It Simple, stupid)

การนำเสนอสื่อการเรียนการสอนความเป็นการกระตุ้นทางการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพง่ายแก่การเข้าใจ สื่อที่ซับซ้อนมีแนวโน้มของการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายสูงและบ่อยครั้งที่สุดได้ว่ามีประสิทธิภาพและเชื่อถือไม่ได้ควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่ถูกต้องที่สุดที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตามเจตนารมณ์ภายในระยะเวลาที่สมเหตุสมผลอย่างไรก็ตามข้อความจำกัดคือการสื่อราคาย่อมเยาที่ผลิตไม่ดีทำให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการใช้สื่อที่ซับซ้อนดังกล่าวแล้วเช่นกัน

            การเลือกและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ นักออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกวิธีการ/สื่อ หรือเลือกวิธีการ เลือกวัสดุอุปกรณ์ ระบุประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าริเริ่มและเฝ้าระวัง
กระบวนการผลิตสื่อ นักออกแบบอาจจะทำเพียงการวางแผนมโนทัศน์ สคริปและนานๆครั้งอาจจะผลิตวัสดุ (Solfware) สำหรับจำหน่ายความจำกัดสำหรับบทบาทของผู้ออกแบบในการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธี/สื่อ จะหลากหลายไปตามสถานการณ์ และแม้ว่าจะมีวิธีการ หลายวิธี ในการจำแนกประเภทของสื่อ ก็ตาม ก็ยังไม่มีอนุกรมถฝภิธานสื่อ (taxonomy of media) ที่พัฒนาขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ (Seels and Glasglow, 1990 : 179)ในบทนี้จึงเป็นการเสนอสื่อ 3 ประเภทคือ วิธีการ สื่อดั้งเดิม เทคโนโลยีใหม่ภายในแต่ละประเภทจะมีการเลือกและรูปแบบมากมาย เช่น กราฟฟิก และฟิล์มหรือโทรทัศน์เฉพาะกราฟิกก็มีหลายรูปแบบ ได้แก่ แผนภูมิ การ์ตูน และภาพประกอบการเลือกวิธีการ/สื่อ อยู่บนพื้นฐานของเกณฑ์จะมีความเหมาะสมสำหรับผู้เรียนสิ่งที่เรียนและข้อจำกัดคุณลักษณะของผู้เรียนจุดประสงค์ สถานการณ์การเรียนรู้ และข้อจำกัดนั้นต้องระบุขึ้นก่อนที่จะเลือกวิธีการและสื่อหลังจากนั้นที่ได้มีการระบุวิธีการ/สื่อแล้วผู้ออกแบบต้องแสวงหาสื่อจากดัชนีสื่อจากสื่อที่สร้างขึ้นเพื่อการค้าซึ่งสามารถที่จะนำมาใช้หรือนำมาปรับใช้ได้ถ้าสื่อเหล่านั้นไม่มีประโยชน์ก็ต้องผลิตสื่อขึ้นเอง

ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้ผลิตสื่อ ทีมในการผลิตควรจะประกอบด้วยใครบ้าง ผู้ออกแบบต้องริเริ่มเฝ้าระวังติดตามกระบวนการผลิต เป็นความรับผิดชอบของผู้ออกแบบที่จะต้องมีความแน่ใจในบูรณภาพของการออกแบบและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ด้วยการเฝ้าระวังติดตามการผลิต



อ้างอิง 
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น