รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
ความหมายของรูปแบบ (Model)
รูปแบบเป็นรูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม
ซึ่งบุคคลแสดงออกมาในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง เช่น เป็นคําอธิบาย เป็นแผนผัง ไดอะแกรม
หรือแผนภาพ เพื่อช่วยให้ตนเองและบุคคล อื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น
รูปแบบเป็นเครื่องมือทางความคิดที่บุคคลใช้ในการสืบสอบหาความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ทั้งหลาย
ปกติการศึกษาวิจัยเรื่องใดๆก็ตาม ผู้ศึกษาจะต้องตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบ
ซึ่งในกระบวนการวิจัยจะมีการตั้งสมมุติฐานหรือชุดสมมุติฐานขึ้นมา
ซึ่งก็คือคำตอบที่ต้องคาดคะเนไว้ล่วงหน้า สมมติฐานเหล่านี้มักได้มาจากข้อมูล
ข้อความรู้ หรือข้อค้นพบที่ผ่านมา หรืออาจจะเกิดจากประสบการณ์หรือการหยั่งรู้(intuition)ของผู้ศึกษาวิจัยหรืออาจจะเกิดจากทฤษฎีหลักการต่างๆ
สมมติฐานเป็นข้อความที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบหรือตัวแปรต่างๆของเรื่อง/สถานการณ์ปัญหานั้นๆ
ซึ่งจะยังคงเป็นเพียงเครื่องมือในการแสวงหาคำตอบนั้นๆซึ่งจะยังคงเป็นเพียงเครื่องมือในการแสวงหาคำตอบเท่านั้นจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ทดสอบ
หากสมมติฐานเป็นจริงข้อความนั้นจะสามารถนำไปใช้ในการมำนาย หรืออธิบายปรากฏการณ์นั้นๆได้
รูปแบบเช่นเดียวกันกับสมมติฐานที่บุคคลอาจสร้างขึ้นจากความคิด ประสบการณ์
การใช้อุปมาอุปไมย หรือจากทฤษฎีและหลักการต่างๆได้ แต่รูปแบบไม่ใช่ ทฤษฎี ดีฟส์ (Keeves J.,1997 : 386-387)
รูปแบบโดยทั่วไปจะต้องมีองค์ประกอบที่สําคัญดังนี้
1. รูปแบบจะต้องนําไปสู่การทํานาย (prediction) ผลที่ตามมา ซึ่งสามารถพิสูจน์ ทดสอบได้
กล่าวคือ สามารถนําไปสร้างเครื่องมือเพื่อไปพิสูจน์ทดสอบได้
2. โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) ซึ่งสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์เรื่องนั้นได้
3. รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imagination) ความคิดรวบยอด (concept)
และความสัมพันธ์ (interrelations) รวมทั้งช่วยขยายขอบเขตการสืบเสาะความรู้
4. รูปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural relationships) มากกว่า ความสัมพันธ์เชิงเชื่อมโยง (associative relationships)
รูปแบบ (Model) ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป มี 4 แบบ หรือ 4 ลักษณะ
คือ (Kaplan, 1964 อ้างถึงใน Keeves, 1997
: 386 – 387)
1. รูปแบบเชิงเปรียบ (Analogue Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออก ของการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ
อย่างน้อย 2 สิ่งขึ้นไป รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทาง กายภาพ
สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
2. รูปแบบเชิงภาษา (Semantic Model) ได้แก่ ความคิดแสดงออกผ่านทางการ
(พูดและเขียน) รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทางด้านศึกษาศาสตร์
3 รูปแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ได้แก่
ความคิดที่แสดงออก สูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปเชิงภาษาแล้ว
4 รูปแบบเชิงแผนผัง (Schernatic Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางแยก
แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ เป็นต้น
5. รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) ได้แก่
ความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต่างๆ
ของสถานการณ์ปัญหาใดๆ รูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ มักจะเป็น แบบนี้เป็นส่วนใหญ่
รูปแบบกระบวนการเรียนการสอนและระบบการเรียนการสอน
ในการจัดระบบใดๆก็ตาม
ย่อมต้องมีการกำหนดองค์ประกอบและจัดองค์ประกอบของระบบให้มีความสัมพันธ์กันอย่างดี
เพื่อนำไปสู่จุดหมายที่ต้องการ ซึ่งอาจจะจัดในกรอบความคิดของตัวป้อน
กระบวนการกลไกการควบคุม ผลผลิต และข้อมูลการป้อนกลับ
หรือจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบนั้นให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่จะช่วยให้ระบบนั้นมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นระบบการจัดการเรียนการสอนก็คือ
องค์ประกอบต่างๆของการเรียนการสอนที่ได้รับการจัดไว้ให้มีความสัมพันธ์และส่งเสริมกันอย่างเป็นระเบียบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
ระบบการจัดการเรียนการสอนเป็นระบบย่อยของการจัดการศึกษา และอาจจัดได้ในลักษณะที่เป็นระบบใหญ่
คือเป็นระบบที่ครอบคลุมองค์ประกอบของการเรียนการสอนจัดเป็นระบบย่อยๆลงไปอีกก็ได้
ส่วนรูปแบบการเรียนการสอนนั้น
หมายถึง สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนนั้นอย่างเป็นระบบระเบียบตามปรัชญา
ทฤษฎี หลักการหรือความเชื่อต่างๆ โดยมีการจัดกระบวนการหรือขั้นตอนในการเรียนการสอนโดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคสอนต่างๆเข้าไปช่วยทำให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามหลักการที่ยึดถือ
และได้รับการพิสูจน์และทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแบบแผนได้
ระบบการจัดการเรียนการสอนกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนนั้นมีความหมายเหมือนกันแต่นิยมใช้ต่างกันในแง่ของระบบใหญ่และระบบย่อย
ระบบการจัดการเรียนการสอนนิยมใช้กับระบบใหญ่ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอนในภาพรวม
ส่วนรูปแบบการเรียนการสอนนิยมใช้กับระบบที่ย่อยกว่า เช่น ระบบวิธีการสอนแบบต่างๆ
ซึ่งในหัวข้อต่อไปจะนำเสนอตัวอย่างระบบวิธีสอนหรือรูปแบบการเรียนการสอนแบบต่างๆที่สำคัญ
เพื่อจะช่วยให้เกิดความเข้าใจขึ้นและช่วยในแนวทางที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ระบบการจัดการเรียนการสอนกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนนั้นมีความหมายเหมือนกันแต่นิยมใช้ต่างกันในแง่ของระบบใหญ่และระบบย่อย
ระบบการจัดการเรียนการสอนนิยมใช้กับระบบใหญ่ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอนในภาพรวม
ส่วนรูปแบบการเรียนการสอนนิยยมใช้กับระบบที่ย่อยกว่า เช่น ระบบวิธีการสอนแบบต่างๆ
ซึ่งในหัวข้อต่อไปจะนำเสนอตัวอย่างระบบวิธีสอนหรือรูปแบบการเรียนการสอนแบบต่างๆที่สำคัญ
เพื่อจะช่วยให้เกิดความเข้าใจขึ้นและช่วยในแนวทางที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี
ได้คัดเลือกมานำเสนอล้วนได้รับการพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้วและมีผู้นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป
แต่เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีจำนวนมาก
เพื่อความสะดวกในการศึกษาและการนำไปใช้
จึงได้จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ
ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้
1.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain)
2.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย(affective domain)
3.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย
(Psycho-Motor Domain)
4.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ
(Process Skill)
5.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ (Integration)
อ้างอิง
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม
: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น