รูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนการสอนของไทย
ผู้เขียนได้เสนอรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นในต่างประเทศซึ่งได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกันอย่างกว้างขวางพอสมควร
นักศึกษาไทยได้ติดตามศึกษาความก้าวหนาด้านวิชาการเหล่านี้ และได้นำมาเผยแพร่ในวงการศึกษาไทยซึ่งได้รับความนิยมมากบ้างน้อยบาง
แตกต่างกันไปตามความคิดเห็นและความเชื่อของผู้รับขณะเดียวกันได้มีนักคิดนักการศึกษา
และครูอาจารย์ มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาและการเรียนจำนวน หนึ่งที่ได้พยายามคิดคนหรือพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนขึ้นจากความรู้ความคิดและประสบการณ์ของตนหรือประยุกต์จากทฤษฎีหรือหลักการที่ได้รับการยอมรับอยู่แล้ว
เช่น ประยุกต์จากหลักพุทธธรรมหรือประยุกต์จากแนวคิดต่างประเทศ โดยพิจารณาให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของไทย
ปัญหาความต้องการและธรรมชาติของเด็กไทย กระบวนการเรียนการสอนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและได้รับการทดลองใช้เพื่อพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพแล้ว
ถือว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอนหรือเป็นแบบแผนของการจัดการเรียนการสอนที่ผู้อื่นสามารถนำไปใช้แล้วจะเกิดผลตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบนั้นได้นับว่าเป็นการช่วยให้แนวทางแก่ผู้ปฏิบัติ
ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก หากได้รูปแบบที่ดี ตรงกับวัตถุประสงค์ในการสอนของตน ก็สามารถสอนตามแบบแผนและได้ผลตามที่ต้องการได้
ในประเทศไทยรูปแบบในลักษณะดังกล่าวมาจากกลุ่มบุคคล 2 กลุ่ม คือนักการศึกษาที่สนใจศึกษาและทำวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนกลุ่มหนึ่งและอีกกลุ่มหนึ่งนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกที่ศึกษาวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผลงานจากกลุ่มหลังนี้มีจำนวนมากกว่ากลุ่มแรกเนื่องจากจานวนนิสิตนักศึกษามีมากแต่คุณภาพของงานย่อมหลากหลายตามความสามารถของผู้ทำด้วย
นอกจาการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนขึ้นดังได้กล่าวไว้ข้างตนแล้ว
ยังมีกลุ่มบุคคลอีก
กลุ่มหนึ่ง ทั้งที่อยู่ในวงการศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษาและกลุ่มที่อยู่ในวงการอื่นที่ไม่ใช่
การศึกษาแต่สนใจในเรื่องการจัดการศึกษาได้นาเสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนไว้อย่าง
เป็นกระบวนการ คือมีขั้นตอนที่เป็นไปอย่างมีลำดับชัดเจน
ซึ่งถึงแม้จะยังไม่ได้รับ การทดลองใช้อย่าง
เป็นระบบและพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพตามหลักการแล้วแต่ได้รับความเชื่อถือจากสังคมไม่น้อย
ผู้เขียนขอเรียกผลงานในลักษณะดังกล่าวว่าเป็น
"กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน"
ดังนั้นในบทนี้
ผู้เขียนจึงจะนำเสนอรูปแบบและกระบวนการดังกล่าวข้างต้น โดยแบ่งออกเป็น
3 หมวดใหญ่ๆ คือ
1.
รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาโดยนิสิตศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
3.
กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
อนึ่ง
ก่อนนำเสนอรูปแบบและกระบวนการดังกล่าว ผู้เขียนขอทำความเข้าใจก่อนว่ารูปแบบบางรูปแบบที่นำเสนอและผู้เขียนเรียกว่ารูปแบบการเรียนการสอนนั้น
บุคคลที่พัฒนารูปแบบ
มาอาจไม่ได้เรียกชื่อ
งานของทานว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอน บางท่านเรียกวา “การสอน”
“รูปแบบการสอน” "กระบวนการสอน “การจัดการเรียนการสอน”
“การสอนแบบ.." ซึ่งโดย
ความหมายและลักษณะของผลงานแล้ว ตรงกับความหมายของ
"รูปแบบการเรียนการสอน" ทั้งสิ้น
ดังนั้นผู้เขียนจึงขอใช้ค่าว่ารูปแบบการเรียนการสอนทั้งหมด
เพื่อความเป็นระบบระเบียบ และทำให้
ผู้อ่านไม่เกิดความสับสน
อ้างอิง
ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช.วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.นครปฐม :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น